สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับ คอลัมน์ Healthy Eating กับแพรวคนเดิม ที่ผ่านมาแพรวนำเสนออาหารคาวมาก็ค่อนข้างเยอะแล้ว สำหรับวันนี้แพรวจะเลือกนำเอาหารหวานที่ทำง่าย และเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกับเมนูนี้ ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าเมนูนี้ส่วนประกอบน้อย ทำง่ายมาก และเมนูนี้จะเชื่อมโยงกับแคลเซียมของเราได้อย่างไรนั้น ตามมาดูกันเลย!!!
เมนูหวานวันนี้ แพรวเลือกหยิบเอาขนมไทย ไท้ ไทยมานำเสนอในรูปแบบประยุกต์ โดยหยิบเอาคำว่า “ขนม” และ “สุขภาพ” มารวมกันคะ เราจะเปลี่ยนส่วนประกอบในขนมบางอย่าง นั่นคือ “กะทิ” มาเป็นส่วนประกอบที่เรากิน ดื่มในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และให้ประโยชน์มากกว่าส่วนประกอบเดิม นั่นคือ “นม Low fat” หลายคนคงสงสัยว่า เอ๊ะ!!! เอานมมาใช้แทนกะทิยังไงก็ต้องดีกับสุขภาพอยู่แล้ว แล้วมันจะเกี่ยวข้องกับกระดูกของเราได้อย่างไรล่ะ?
นมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นของเหลวสีขาว ที่มีคุณค่าทางอาหารหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อมนุษย์ และแร่ธาตุสำคัญที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างกระดูกของเรา นั่นก็คือ “แคลเซียม” ในวัยเด็ก ต้องการแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน วัยผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 800–1000 มิลลิกรัมต่อวันส่วนผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการประมาณ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ในนม 1 กล่อง หรือปริมาณ 250 มิลลิลิตร จะให้แคลเซียมอยู่ที่ 250–300 มิลลิกรัม ดังนั้น นมจึงเป็นแหล่งของแคลเซียมที่สำคัญแหล่งหนึ่ง
แต่ไม่ว่านมจะเป็นแหล่งของแคลเซียมที่สำคัญเพียงใด หากแต่มีผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ เราก็จำเป็นที่ต้องหาแคลเซียมเสริมจากแหล่งอาหารอื่น สาเหตุของการที่ดื่มนมวัวไม่ได้ เช่น การแพ้นมวัว หรืออาจเกิดจากเหตุผลที่ไม่ชอบดื่ม ไม่ว่าจะด้วยรสชาติที่บางครั้งอาจจะมีกลิ่นคาวของนม ฉะนั้น แพรวจึงขอนำเหตุผลของคนที่ไม่ชอบกลิ่นนมวัว มาดัดแปลงให้เป็นขนมหวานแสนอร่อย ที่ได้รสชาติไม่แพ้รสดั้งเดิม แถมยังได้คุณค่าและประโยชน์จากนมวัว ขนมที่จะนำมาดัดแปลง ก็คือ “บัวลอยเผือกนมสด” แค่ชื่อก็น้ำลายสอแล้ว ส่วนวัตถุดิบวิธีทำจะมีอะไรบ้างนั้น เรามาเริ่มกันเลยค่ะบัวลอยเผือกนมสดเมนูสร้างกระดูก
ส่วนประกอบ | ||
เผือกนึ่ง | 1 | ถ้วยตวง |
แป้งข้าวเหนียว | 4 | ช้อนโต๊ะ |
นมสด Low fat | 1 | ถ้วยตวงน้ำ |
มะพร้าวอ่อน | 1/2 | ถ้วยตวง |
เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเป็นเส้น | 1/4 | ถ้วยตวง |
น้ำตาลปี๊บ หรือน้ำตาลมะพร้าว | 2 | ช้อนชา |
เกลือ | 1/8 | ช้อนชา |
ใบเตย | 5-6 | ใบ |
ขนมหวานไทยธรรมดา แค่ดัดแปลงนิดหน่อยก็สามารถทำเป็นอาหารที่เสริมสร้างแคลเซียมได้ นอกจากรสชาติที่หอมหวานแล้ว ยังมีประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย เมนูนี้จึงเหมาะมากกับผู้ที่ไม่ชอบทานนม ส่วนคนที่ไม่สามารถทานนมวัว เราก็สามารถหาแหล่งแคลเซียมได้จากอาหารแหล่งอื่น