คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ท่านที่ 4 ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ

คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (2529–2538)

มหาวิทยาลัยมหิดล

เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2478

สมรสกับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ มีบุตร-ธิดา 3 คน ดังนี้

าสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ

นางสาวงามพรรณ เวชชาชีวะ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2502 M.B.B.S., (London) and B.S., (London) Guy’s Hospital Medical School, London, England
พ.ศ. 2506 M.R.C.P., (London) England

ตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2504-2510 อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์
พ.ศ. 2510 โอนมารับราชการสังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

พ.ศ. 2514-2518 เลขาธิการสหพันธ์ประสาทวิทยาแห่งเอเชียและโพ้นทะเล
พ.ศ. 2516-2517 อนุกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลชุดแรก

พ.ศ. 2519 ราชบัณฑิตในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2520-2522 อนุกรรมการสวัสดิการของมหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2522 WHO Expert Committee Member onPeripheral Neuropathies

พ.ศ. 2524-2536 กรรมการสหพันธ์ประสาทวิทยาโลก
พ.ศ. 2521-2522 อ.ก.ม.วิสามัญทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ สาขาสรีรวิทยา
พ.ศ. 2523-2530 หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
พ.ศ. 2529-2538 คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

พ.ศ. 2529-2543 สมาชิกวุฒิสภา รวม 4 สมัย

พ.ศ. 2534-2535 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2535-2537 ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2541-2543 ประธานกรรมการบริหารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ
พ.ศ. 2543 ที่ปรึกษาคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
พ.ศ. 2541 ผู้อำนวยการสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ (รักษาราชการแทน)

 

ตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ นายกราชบัณฑิตยสถาน

ราชบัณฑิต สาขาการแพทยศาสตร์ประจำสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

รางวัลสำคัญ

แพทยศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์คลีนิก มหาวิทยาลัยมหิดล

แพทยศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต