รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

สรุปจาก Oral History ของ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

 

อะไรที่เป็นแรงดลบันดาลใจให้รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ มาเลือกเรียนที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพราะว่าเป็นคณะแพทย์ใหม่ มีความมั่นใจอย่างไรที่อาจารย์เข้ามาเรียนในคณะแพทย์แห่งใหม่นี้

                            จริง ๆ ช่วงที่สอบเอ็นทรานซ์ (entrance ) ในปี 2508 นั้นยังไม่ทราบว่ามีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพราะทราบว่าต้องเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2 ปีแล้วจะข้ามฟากไป 2 แห่ง คือ คณะแพทย์ศิริราชพยาบาลหรือคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนมาแล้ว เพิ่งจะมาทราบช่วงปลาย ๆ ปี 2 ว่าจะต้องเลือก 3 แห่ง คือมีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีอีก 1 แห่ง ไม่ทราบ ว่าจะมีคณะแพทย์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น ส่วนตัวมีความใฝ่ฝัน 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ จะเรียนแพทย์เพื่อทำงานกับชาวบ้าน เรื่องที่ 2 คือ เขียนหนังสือ และในที่สุดสิ่งที่ภูมิใจบรรลุความฝัน ทั้งสองด้าน ด้านทางแพทย์ ด้านเขียนหนังสือ

 

อาจารย์เข้ามาเรียนโดยมุ่งหวังว่าอาจจะข้ามไปศิริราชหรือจุฬาแต่พอขึ้นปี 2 มีทางเลือกอีกทางหนึ่งแล้วนักศึกษาสมัยนั้นยังไม่เห็นโรงพยาบาลเพราะเพิ่งตอกเสาเข็มปลายปี 2508 แล้วทำไมไปเรียนรามาธิบดี บรรยากาศเป็นอย่างไร

                            คือตอนนั้นมีกระแสว่าถ้าเรียนที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจะเป็นนักวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นให้รู้ลึกทางวิทยาศาสตร์และวิจัย จะได้เป็นอาจารย์ชั้นปรีคลินิก จะมีโค้วต้าส่วนหนึ่ง ช่วงแรกมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ได้มาช่วยสนับสนุนและส่งอาจารย์จากอเมริกาหลายท่านมาสอนปรีคลินิก ดังนั้นในปี 3 และปี 4 นักศึกษาต้องฟังบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ แนวทางการผลิตแพทย์ของทั้ง 3 คณะมุ่งเน้นต่างกันนิดหนึ่ง ถ้าไปเรียนที่ศิริราช และจุฬาก็ไปเป็นแพทย์เต็มตัวไปเป็นแพทย์รักษาตัวผู้ป่วย และก็มารามาฯ มีส่วนอื่นอาจจะไปเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ลึกขึ้นเพื่อที่จะทำงานวิจัยทางการแพทย์ ส่วนตัวอาจารย์ก็ยังลังเลระหว่างรามาฯ หรือศิริราช อาจารย์ได้เขียนจดหมายถามนายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี ซึ่งออกอากาศทางสื่อมวลชลและออกรายการศึกษาทางโทรทัศน์เป็นประจำ แต่ไม่ได้รับคำตอบจึงตัดสินใจลองดูพร้อมกับเพื่อนๆซึ่งส่วนใหญ่เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเพื่อเป็นผู้บุกเบิก ดังนั้นแรงจูงใจที่สำคัญคือมาเป็นรุ่นแรก เป็นผู้บุกเบิกคณะฯ ที่สำคัญคือสร้างประวัติศาสตร์ คือรุ่นแรกเป็นรุ่นประวัติศาสตร์และเมื่อฟังอาจารย์หลายๆท่านได้พูดถึงแนวทางคราวๆว่าน่าจะลองดู คนที่เลือกเรียนที่รามาฯมีระดับที่คะแนนเรียนสูงและรามาฯ ประกาศรับนักศึกษาเป็นการภายในโดยรุ่นแรกรับ 64 คน มีเกินจำนวน 1 คน เพื่อนบางคนสอบไม่ได้ก็เสียใจ การประกาศผลเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมีล่วงหน้าก่อนที่จะไปสอบข้ามฟาก แต่มีบางคนเปลี่ยนใจไม่ไปเรียนที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีก็มี

 

ตามที่ในระดับชั้นปรีคลินิก ได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคกี้เพลเลอร์ ได้ส่งอาจารย์หลายคนมาเป็นหัวหน้าภาควิชา เช่น เภสัชศาสตร์ สรีระวิทยา และร่วมกับอาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่ง เรียนร่วมกับของนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก อาจารย์เห็นความแตกต่างอะไรกับจุฬาหรือที่ศิริราช ในการที่คณะฯมีการเรียนชั้นปรีคลินิกที่คณะวิทยาศาสตร์

                            ต่างกัน 2 เรื่อง คือ 1 ในแง่อาจารย์ผู้สอน ทางศิริราชและจุฬาเป็นอาจารย์แพทย์ มีพื้นฐานเป็นแพทย์ ซึ่งก็เชื่อว่ามีพื้นฐานการ แพทย์แล้วมาสอนตรงนี้อาจจะสอดคล้องกับการเป็นแพทย์มากกว่า แต่ของรามานั้นสอนทางวิทยาศาสตร์โดยรวม ผู้สอนไม่ได้เป็นแพทย์ 2. บรรยากาศการเรียนเป็น 2 ภาษาต้องฟังบรรยายภาษาอังกฤษ เล็คเชอร์เป็นภาษาอังกฏษ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในช่วงแรกเพราะว่าเราจดไม่ทันฟังไม่ทันกันทุกคยเลยต้องซื้อเทปประจำตัวโดยอัดเทปคำบรรยายของอาจารย์ ทำอย่างนี้อยู่พักหนึ่งประมาณสักเดือนสองเดือนตอนหลังไม่ได้ทำแล้วชินแล้ว มีเล่าเรื่องน่าขำว่า นักศึกษาส่วนใหญ่จดบันทึกโดยเฉพาะนักศึกษาผู้หญิงนะ จดบันทึกทุกคำพูดของอาจารย์ และอาจารย์ ดร. ฮอร์แลน หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์เห็นเลยพูดประชดว่าที่จดทุกคำพูดแบบนี้เหมือนเลขานุการทางการแพทย์เลย ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องจดให้จดเนื้อหาสำคัญและได้สอนวิธี lecture ที่สำคัญอาจารย์จะเน้นว่าต้องเป็น active learning ต้อง self learning การฟัง lecture จะได้ความรู้แค่ 40% ที่เหลือต้องเรียนเอง ที่สำคัญคืออนาคตจบการศึกษาแล้วไม่มีใครมาสอนเราจึงต้องค้นคว้าอ่านเอง ให้งานที่ active learning หรือ self learning ในสมัยนั้น ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ตอนนั้น ผ่านการการเรียนการสอนตอนนี้ พอให้ Self Learning หรือ Active Learning 18.19มันก็ต้องไปค้นคว้าแล้ว Learning resource ต่าง ๆ เนี้ยมันไม่มี Google มันอินเทอร์เน็ตอาจารย์ทำยังไงครับ โดยทางคณะฯ ให้ทุกคนยืมตำราหลัก ๆ 10 กว่าเล่ม ใช้ทั้ง 3 ปี แล้วค่อยคืนเมื่อเรียนจบปี 4 เพราะต้องส่งให้รุ่นน้องใช้ตำราหลักเหล่านั้น เช่น ตำรากายวิภาคศาสตร์ของเกรย์ ฟาร์มาโคโลยี ฟิสิโอโลจี เคมิสตรี ไบโอเคมิสตรี การให้ส่งต่อนี้มีมาถึงรุ่น 6 นอกจากนั้นอาจารย์จะไม่สนใจกริยามารยาท คือให้เราอิสระ ใช้ชีวิตอิสระเสรี จนอาจารย์ที่ทราบว่านักเรียนจะข้ามมาเรียนรามาก็เป็นห่วงตรงนี้มาก เตือนว่าเกิดบรรยากาศที่เสรีแล้วจะทำอะไรก็ได้แต่ขอให้เรียนและมีการสอบตามมาตรฐานด้วย ในการเรียนนั้น ส่วนใหญ่ฟัง lecture เฉพาะครึ่งวันเช้า ภาคบ่ายจะมีการทดลองในห้องแลปเอนกประสงค์ MDL (multi disciplinary lab ) โดยจัดเป็นล็อก ๆ เข้าใจว่ามี 16 ล็อก ๆ ละ 4 คนก็ เป็น 64 คน มีนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก มาเรียนรวมด้วย 1 ปี โดยแทรกเป็นคนที่ 5 ข้อดีที่เรียนเป็นกลุ่มหมุนเวียนคือ พวกเราอยู่ด้วยกันแล้วก็เปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ จะได้รู้จักเพื่อนครบโดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ มีการนัดกันมาทำงานกันในล็อกไม่มีโต๊ะแยกต่างหาก สรุปว่าทำ lab ด้วยกันเป็นกลุ่ม 4 คน 5 คน ที่สำคัญสอบบ่อยมากจนเกินไป ทำให้รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ตามไม่ทันเพราะทำกิจกรรมมากต่อ่านหนังสือไม่มาก อาจารย์กล่าวว่าเรื่องคะแนนถือว่าเอาแค่ผ่านได้แล้วกัน สรุปแล้วสิ่งที่ได้รับคือ 1 ทำกิจกรรมเยอะ 2 เรียนหนักแต่บรรยากาศเสรีไม่มีใครมาจู้จี้อาจารย์สั่งให้ค้นคว้าหัวข้อที่กำหนดและมาพูด(presentation) เป็นเวลา 5 นาที เป็นภาษาอังกฤษ เท่ากับเป็นการฝึกภาษาไปในตัวและฝึกการที่จะอ่านเองแล้วก็มาถ่ายทอดให้เพื่อน

 

รามาธิบดีมุ่งเน้นไปในทางวิทยาศาสตร์เลย เมื่อจบการศึกษาปี 4 ได้ วทบ. หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วไปขึ้นชั้นคลินิกต่อ จะงงไหม ว่าอยู่ดี ๆก็ขึ้นมามีคนไข้ เพราะฉะนั้นเรียนคลินิกปีที่ 5 และปีที่ 6 ในทุกสาขาวิชาจะเป็นช่วงที่ค่อนข้างสั้นมีปัญหาไหม ในการที่จะเรียน มีความรู้พอเพียงไหมที่จะจบออกไป เพราะพอจบไปแล้วจะต้องไปทำงานเหมือนกับคณะแพทย์ที่อื่น

                           ตรงนี้ตรงนี้ดูแล้วไม่น่ามีปัญหาเพราะว่าเราจะเอาความรู้มาประยุกต์ใช้ ปี 5 ปี 6 ในภาคปฏิบัติเพื่อดูคนไข้ เพราะการเรียนการสอนก็เหมือนกับคณะแพทย์ทั่วไปที่มีอาจารย์แพทย์มาช่วยสอนภาคปฏิบัติทั้งที่ OPD และทั้งในวอร์ด อาจารย์ให้ข้อมูลว่าทักษะสำคัญที่สุด คือเราต้องค้นคว้าเองได้ จนสามารถที่จะค้นคว้าเพิ่มเติมถึงแม้อาจจะลืมความรู้ที่เรียนบ้าง เป็นตามที่อาจารย์ที่ไปสอนว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วไม่มีใครสอนเราและเราต้องสามารถที่จะไปแก้ปัญหาใหม่ ๆ ครับเพราะว่าความรู้สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา อันนั้นเราสามารถเรียนได้ตัวเองได้สามารถค้นคว้าที่จะไปแก้ปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญปัญหาใหม่ เพราะฉะนั้นมูลค่าทางตัวคนไข้ ในชั้นปี 5 ปี 6 ก็ตรงที่อาจารย์สอนเราว่า ครับเราต้องเจอสถานการณ์ใหม่แต่ทักษะที่ปลูกฝังเรื่อง active learning ได้นำมาใช้ตรงนี้ได้จึงไม่เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นจุดเน้นก็คือ active learning และ self-directed learning สามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองแล้วก็บ่มเพาะนิสัยที่จะให้เรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นระยะตลอดไป ซึ่งเป็น concept ที่ใช้ได้ถึงปัจจุบันถือว่าเป็นแนวคิดที่ทันสมัยมากเลย หลาย ๆ อย่างนะ ถึงว่าในจะไม่ติด ทะเวนตีtwenty first century เอสดูเคชั่น education เนี่ย ก็ใช้ concept นี้เช่นเดียวกัน อันนี้อาจารย์พอเรียนชั้นปรีคลินิกแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะครับจบไปเนี่ยมันต้องไปสอบอะไรไม่ใช่ๆว่าสอบทั้งประเทศไหมหรือว่ามีอะไรเหมือนปัจจุบันไหมอะไรอย่างนี้หรือว่าเป็นแต่ละโรงเรียนแพทย์ไป สมัยนั้นไม่มีสอบรวมทั้งประเทศแต่มีสอบบอร์ด ยังไม่ออกเกณฑ์ให้สอบทั้งประเทศดังนั้นแต่ละคณะแพทย์ต้องดำเนินการเอง แต่มีการสอบที่คัดกรองการไปศึกษาต่อต่างประเทศคือ ECfMG - Educational Commission for Foreign Medical Graduates เรียนมาถึงปี 6 ทั้งชั้นปีไม่มีใครสอบตก คัดเข้ามาเรียนจำนวน 64 คน ก็สำเร็จการศึกษาหมด แต่จบแล้ว 0.25.25 รุ่นผมจบหมด แต่นี้ผมจะมาถึงที่อาจารย์ เกรินเมื่อกี้นี้ เราก็เรียนเป็นฝรั่งกันนะ ภาษาอังกฤษเยอะในชั้นปรีคลินิกภาพแล้วก็ในยุคนั้นมันเป็นยุคที่มันเกี่ยวพันภายนอกเยอะเช่น สงครามเวียดนามหรือความต้องการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาในมีสุงมาก ๆ นะครับเพราะฉะนั้นก็เปิดโอกาสให้นักเรียนแพทย์จากที่ต่าง ๆ ที่จบไปเนี่ยได้สมัครไปเรียนต่อหรือไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่นี่ก็มีข่าวว่านักเรียนแพทย์รุ่นนักแรกของรามาธิบดีเนี่ยก็มุ่งสอบเลยอันนี้ที่เขาเรียก แล้วไม่ทราบผลการเรียนการสอบเป็นยังไง ผลสอบ ECFMG พบว่าสอบผ่านในอัตราที่สูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต๋ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ สอบครั้งเดียวก็สอบผ่านได้ อาจารย์เล่าว่าไม่ยาก เพราะได้พื้นฐานภาษาอังกฤษ คุ้นชินจากการเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์พื้นฐานอาจารย์สอนเจาะลึกพอสมควรเพราะข้อสอบพวกนี้จะมีทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานด้วย หลายคนที่สอบได้นั้นไม่ได้สนใจจะไปต่างประเทศแต่สอบเพื่อทดสอบความรู้ คืออยากรู้อยากลองดังนั้นนักศึกษารุ่นไปสอบทั้งหมด

 

การเป็นแพทย์ฝึกหัดหรืออินเทิร์นในปีที่ 7 ต้องไปอยู่โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งอาจจะร่วมกับคนที่จบมาจากศิริราชจุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ มีปัญหาในการทำงานร่วมกันหรือไม่ มีปัญหาเรื่องทำไม่ทัน จบรามาอาจจะ discussions คุยเก่งแต่หัตถการยังไม่ได้เรื่องเลย มีภาพอันนี้ไหม

                            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ กล่าวว่าเข้าใจว่าไม่แตกต่าง เพราะว่าขณะที่เป็นแพทย์ฝึกหัด ก็ทำงานภายใต้การดูแลของแพทย์พี่เลี้ยงคืออาจารย์ ข้อสำคัญคือบรรยากาศที่จบไปแล้วทุกคนมองเห็นความแตกต่างและบุคลิกภาพ โดยเฉลี่ยนักศึกษาแพทย์ของรามาฯ ถูกมองว่า 1.เป็นคนที่รับผิดชอบสูง 2 มีความคิดอิสระ กล้าคิดกล้าแสดงออก กล้าทดลอง แต่ข้อเสียคือไม่มีอาวุโส อาจจะพูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม จึงเป็นข้อเสียที่ถูกมองว่า ไม่เกรงกลัวผู้ใหญ่ กล้าพูดตรง ๆ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ บอกว่าเพราะในหลักสูตรฝึกมาว่าต้องกล้า feedback เช่น ในชั้นปี 5 ปี 6 ทุกครั้งที่จบลงกองกับภาควิชานักศึกษาจะต้อง feedback เพื่อไปพัฒนาหลักสูตรและอาจารย์เปิดอิสระและนักศึกษาก็กล้าแสดงออก จนเป็นความเคยชินเมื่อเห็นอะไรไม่ดี กล้าที่จะพูดความจริง เวลาทำงานจะมีปัญหาและสังคมไทยในสมัยนั้นยังไม่ยอมรับด้วย ขอโยงมาช่วงที่มาเรียนปีที่ 5 ที่ที่โรงพยาบาลรามาฯ วันแรก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัยะเสวี คณบดี คนแรกของรามาฯ มากล่าวต้อนรับ ให้ข้อคิดวันเปิดเรียน ซึ่งรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ได้จดบันทึกในสมุด ไดอารี่ เรื่องการเป็นแพทย์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ ข้อแรกมีความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยต่อประชาชน ข้อ 2 รับผิดชอบต่อสังคมต้องช่วยเหลือสังคม จะต้องมีความคิดและท่าทีที่เหมาะสมที่ดี หมายถึงว่าต้องเคารพคนอื่น อ่อนน้อมถ่อมตน และท่านพูดอีกคำว่า จะต้องสืบทอดวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม นอกจากนั้นอาจารย์พูดว่าเพราะว่าช่วงที่อยู่ปี 3 และ ปี 4 อยู่กับฝรั่งนิสัยเลยเป็นฝรั่ง จึงขอให้เอามาปรับใช้เพราะว่าเราต้องมีวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามของเรา และข้อที่ 3 คือ เรียนดีเพราะเราเตรียมการมาดี ในที่สุดก็มีปัญหาจนได้เพราะช่วงที่ขึ้นปฏิบัติในหอผู้ป่วย มีแพทย์รุ่นพี่ที่เป็นแพทย์ประจำบ้านไม่ถึงเดือนได้มากระซิบเตือนผ่านรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ในฐานะเป็นหัวหน้าชั้น ได้ว่าสังเกตุพฤติกรรมพวกเราพบว่า กิริยามารยาทก็ไม่ดี แต่งตัวไม่เหมาะสมที่ขึ้นวอร์ด ที่สำคัญไม่มีคำว่าอาวุโส ไม่รู้จักที่จะพูดคุยกับผู้ใหญ่ ไม่รู้จักเรียกสรรพนามว่าพี่หรือเรียกอาจารย์แต่เรียกทุกคนที่กล่าวมาว่า “หมอ” 2 อาทิตย์ต่อมา พี่ๆก็มาจัดประชุมอบรมพวกเราเรื่องต่างๆ ได้แก่ มารยาท การอยู่ร่วมกันกับผู้อาวุโสกว่าดังนั้นจะต้องปรับเปลี่ยน ศาสตราจารย์ นายแพทย์รจิต บุรี เป็นรองคณบดีขณะนั้นได้มานั่งฟังด้วย ท่านบอกว่าไม่เป็นไร แม้แต่เรื่องรับประทานอาหารที่คาเฟทีเรีย เพราะในยุคนั้นทั้งอาจารย์แพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์ทุกคนเข้าคิวซื้ออาหารและนั่งโต๊ะคละกันได้ไม่ต้องแยกแต่ทางรุ่นพี่ไม่คุ้นชินจึงว่าไม่มีอาวุโส หลังจากพี่ๆ เตือนแล้วเราก็ปรับตัว

 

จำได้ว่าตอนที่ช่วงที่ขึ้นชั้นคลินิก โรงพยาบาลรามาธิบดีเพิ่งเปิด ทุกอย่างโล่งหมดเลย คนไข้ก็ไม่ค่อยมี จริง ๆแล้วทำให้สะท้อนไปเหมือนสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ตอนที่เปิดใหม่ ๆ คนไข้ก็ไม่ค่อยมี แล้วนักเรียนแพทย์จะเรียนอะไรกัน ในเมื่อมันไม่มีเคสให้เรียนหรือเคสน้อย

                            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เล่าว่านับว่าเป็นปัญหาเพราะว่า เทอมหลังปลายปี 4 ของชั้นปรีคลินิก เรียนบทนำทางคลินิก (introduction mediine) ซึ่งเป็นการให้นักศึกษาฝึกซักประวัติตรวจคนไข้ เป็นวิชาพื้นฐานช่วงปลายปี ก็มีปัญหาว่ายังสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดีไม่เสร็จ (เปิดช่วงเวลาที่รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เรียนอยู่ปีที่ 5 คือ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2512) จึงใช้โรงพยาบาลที่ตั้งอยฝุ่ใกล้เคียงทั้งหมด 5 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลราชวิถี (สมัยก่อนเรียกโรงพยาบาลหญิง) โรงพยาบาลพระมงกฎ โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลประสาท ที่อยู่รอบ ๆ ในเครือพญาไท และสมเด็จเจ้าพระยาด้วย โดยหมุนเวียงไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยอาจารย์เราตามไปช่วยสอนและใช้อาจารย์ของที่พื้นที่ด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เล่าว่าเกิดปัญหาในช่วงประมาณเกือบ ๆ ปลายปี 4 เป็นชั่วโมงสอนของพันโท นายแพทย์สมพนธ์ บุณยคุปต์ แต่ นักศึกษาไม่เข้าเรียนมากถึง 10 กว่าคน และไม่ยอมฝึกปฏิบัติ เพราะไปอ่านหนังสือเตรียมสอบวิชาอื่น พันโท นายแพทย์สมพนธ์ บุณยคุปต์ไม่พูดอะไรแต่ขียนคำที่เป็นภาษาอังกฤษคำเดียวว่า “responsibility” แปลกมากแต่แค่คำนี้คำเดียวเกิดการตื่นตัวเลยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่หมดเลยนับเป็นตำนานที่พวกเราเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องนี้คำว่า “responsibility” และฝังอยู่ในหัวใจเราเป็นสิ่งที่อาจารย์ผู้บุกเบิกรามาฯได้ตั้งเป้าและเป็นตำนานของรามาธิบดีรุ่น 1 กลายมาเป็น DNA ของเราและส่งต่อกันมาเป็นรุ่น ๆ และข้อดีคือ ได้รู้จักคน รู้จักปรับตัวเข้าหาคน อาจารย์ได้ elective ช่วงปี 5 ตอนปี 6 ให้เลือกวิชาเลือก 2 สัปดาห์ครับผมสนใจ จิตเวช ผมก็เลือกอยู่พระมงกฏ กับอาจารย์อรุณ เชาวนันศัย หรือเปล่าเป็นบอร์ดคนแรกของทางด้านนี้ ผมไปอยู่กับท่าน 2 อาทิตย์ ก็รู้จักกับอาจารย์ มีข้อดี สังคมเรากว้างขึ้น และสำคัญการปรับตัวแต่ละหน่วยงานไม่เหมือนกันไปอยู่ข้างนอก มิฉะนั้นเนี่ย โรงพยาบาลเปิดใหม่ทรัพยากรยังไม่มากพอ ก็อาจจะไม่ใช่ประเด็นปัญหามากนักถ้ามีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดีนะครับเพราะยิ่งในสมัยนี้มันกลับกันละในสมัยนี้กลับกันถึงแม้ว่าจะมีทรัพยากรในระดับหนึ่งแต่กลับให้ความสำคัญกับเครือข่ายมากขึ้นเพราะเครือข่ายเนี่ย มันทำให้เกิดความหลากหลายนะครับแล้วก็เกิดเหตุผลประโยชน์หลายอย่างที่อาจารย์ว่าเนี่ยทำให้เราต้องไปฝึกการปรับตัวต้องเอาไปเข้าหาอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นยังไงไอ้เรื่องเครือข่ายก็ไม่ใช่ของใหม่ก็ตัวเองแต่ว่าเครือข่ายในสมัยก่อนนะจะเพราะความจำเป็นว่าเราไม่มีทรัพยากรพอเพียงอันนี้ทางด้านแสดงว่าทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานนี่ก็ก็ดีแล้วก็ขึ้นครั้งที่นี่ก็เรียนรู้ได้อาจารย์ต่างๆทุ่มเทให้ความสนใจบรรยากาศการเรียนการสอนความเป็นกันเองอาจารย์ต่างๆ

 

มีอาจารย์ส่วนหนึ่งเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศนะครับพวกพี่ ๆที่เป็นอาจารย์รุ่นหลัง ๆ ก็เริ่มมาฝึกนี้จะเรียกว่าเป็นแพทย์ประจำบ้านหรืออะไรต่าง ๆ ก็ได้พวกความสัมพันธ์ต่าง ๆ เป็นอย่างไร

                            ความใกล้ชิดมากเหมือนพี่สอนน้อง เหมือนพ่อสอนลูก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เล่าว่าบรรยากาศช่วงนั้นว่า ช่วงรับประทานอาการที่โรงอาหารอาจารย์ที่สอนก็นั่งคุยกับนักศึกษาแพทย์ แล้วก็เวลาตอนเย็น ๆอาจารย์ก็แวะมาคุยมาสอน ตอนภาคค่ำก็มีบ้าง อาจารย์จะขยันตามนักศึกษาไปเรียน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ บันทึกว่าช่วงก่อนจบการศึกษาปีที่ 6 คณะฯ ได้จัดประชุมฟังเสียงประเมินผลหลักสูตรโดยรวมว่า 2 ปีที่ผ่านมาเป็นไงบ้าง นักศึกษาแพทย์ทุกคนกล้าแสดงออกตรงไปตรงมาหลายอย่าง เช่นยกตัวอย่างว่า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พันเอกพิเศษ แพทย์หญิงถนอมศรี ศรีชัยกุลสอนมากเกินไป เพราะอาจารย์ขยัน ตามนักศึกษาไปดู แลปฮีมาโตโลยีอยู่เรื่อย ๆ เป็นต้น อาจารย์ทุกท่านทุ่มเทเวลาให้นักศึกษา และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ยังเล่าว่า ช่วงขึ้นวอร์ดศัลยกรรม อาจารย์ นายแพทย์จินดา สุวรรณรักษ์ ยังเพจตามนักศึกษาให้ไปดูตัวอย่างผู้ป่วย เป็นเรื่องของ GI suction ลำไส้อุดตัน และให้ฟังเสียงเรียกว่า สตักชิ่งซาวน์ โดยใช้สเต็ดโตสโคปฟังเสียงน้ำกระฉอก นักศึกษาต้องรีบไปฟังเพราะจะผ่าตัดแล้ว สรปแล้วอาจารย์ที่สอนได้ทุ่มเท ใส่ใจ ให้แก่นักศึกษามากและมีความใกล้ชิดใกล้ชิดกัน สิ่งนี้ซึมซับเข้าไปในตัวนักศึกษาแพทย์ทุกคนและนำไปปฏิบัติต่อกับนักศึกษาของตน

 

สภาพแวดล้อมของบ้านเมืองไทยสังคมโดยรวม อยู่ในยุคที่เรียกว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบหรืออยู่ในยุคที่หลังจาก คณะปฏิวัติรัฐประหารในช่วงนั้นก็มีเดี๋ยวก็ปฏิวัติเดี๋ยวก็อย่างนู้นอย่างนี้ อันนี้มันก็ส่งผลกระทบมาสู่นักศึกษาโดยมีนักศึกษากลุ่มหนึ่ง อันนี้ก็เลยจะมาเชื่อมโยงถึงเรื่องของนักศึกษาทำกิจกรรมกิจกรรมอาจจะมีดนตรี กีฬาเป็นกิจกรรมภายใน แต่กิจกรรมทางด้านสังคมถ้าสมัยนี้อาจจะเรียกว่าด้านประชาธิปไตยในสมัยนั้นเขาตื่นตัวกันไหมหรือว่าอย่างไร และทำไม

                            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพให้ความเห็นว่า สมัยนั้นยังไม่ตื่นตัวด้านประชาธิปไตยมากนัก ประมาณปี 2508 ถึงปี 2513 ซึ่งเป็นยุคที่บ้านรัฐบาลทหาร มีการปฏิวัติ และมีบรรยากาศระหว่างประเทศคือสงครามเวียดนามด้วย นักศึกษาในรุ่นรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ สนใจด้านประชาธิปไตยบ้างแต่ไม่มาก แต่สำหรับตัวอาจารย์เองให้ความสำคัญตรงนี้เพราะว่าเป็นการตั้งเป้าว่าอยากจะทำกิจกรรมเพื่อสังคมและใช้เวลากับเรื่องนี้พอสมควร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัยะเสวี กำหนดให้ครึ่งวันของวันเสาร์ประมาณปลายเดือนมีการจัดสัมมนาเดือนละครั้งเป็นวิชาเลือกช่วงเรียนชั้นปีที่ 3 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัยะเสวี สนใจที่จะให้พวกเราถูกเปิดตามีความรู้รอบตัว ครั้งแรกที่คุยคือ บทบาทของความเป็นแพทย์กับสังคม ได้เชิญอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านที่มีบทบาทด้านนี้มาร่วมเสวนากับศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว อาจารย์เป็นจิตแพทย์ที่โด่งดังมากแล้วต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2506 เคยเชิญอาจารย์ท่านอื่น ๆ ด้วย เช่น เรื่องโรคต่าง ๆ และการป้องกัน เรื่องประชากร เรื่องการวางแผนครอบครัว เพื่อให้นักศึกษาได้มองปัญหาภายนอกมองสังคมให้มองสังคมแล้วก็ให้เข้าใจปัญหาสาธารณสุข ก็ ไม่มีคะแนนไม่มีสอบ เป็นกิจกรรมพิเศษ จัดตั้งแต่เปิดเรียนได้เดือนสองเดือน

 

ระหว่างที่เรียนเ ทราบว่ามีอยู่อีกวิชาหนึ่งที่ค่อนข้างที่จะแปลกใหม่ที่เราเรียกว่าวิชาเวชศาสตร์ชุมชนไม่ทราบว่าช่วงที่ที่เรียนปี 5 ปี 6 มีหรือยัง อย่างไรถึงได้มีวิชานี้ถ้าเป็นในบางแห่งก็อาจจะมีเวชกรรมป้องกันและเวชศาสตร์สังคม

                            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เล่าว่าช่วงนั้นนักศึกษาแพทย์ยังไม่ทราบชัดเรื่องที่มาของวิชานี้เพราะวิชานี้ถูกจัดสอนตอนปี 4 มีแต่ช่วงปี 3 ใกล้ปิดเทอมอาจารย์มาถามนักศึกษาว่าขออาสาสมัครผู้ที่สนใจไปสำรวจชุมชน แต่ไม่มีเงินเดือนให้ ( นักศึกษาส่วนหนึ่งปิดเทอมทำงานเรื่องวิจัยในห้องแลป) ก็มีสมัครประมาณ 30 -40 คน เดือนกุมภาพันธ์ อาจารย์ได้พาไปสำรวจชุมชนใกล้ๆ มินบุรี คือ บางชัน คันนายาว โดยต้องใช้เรือเดินทางไปชุมชนเพื่อไปสำรวจ ทำแผนที่ mapping ทำความรู้จักพื้นที่ก่อน ในวันแรกเป็นช่วงประมาณสักปลายเดือนเมษายน ใช้เวลาประมาณสัก 10 วัน ไปสำรวจทุกวันสำรวจชุมชนทุกวัน ไปโดยที่เราไม่รู้ทฤษฎีในเรื่องของเวชศาสตร์ชุมชน อาจารย์ให้ช่วยกันออกแบบสอบถามให้เราคิดเองเป็นลักษณะของการเรียนแบบ active learning, learning by doing แล้วให้อาจารย์ช่วยตรวจสอบดูให้ นำผลจากแบบสอบถามที่ไปสำรวจเยี่ยมบ้านมาวิเคราะห์ข้อมูล เป็นข้อมูลที่นำเสนอในชั้น ขึ้นปี 4 ดังนั้นจึงเพิ่งรู้จักวิชานี้ช่วงเรียน ปี 4 นักศึกษาก็มีกิจกรรมตรงนี้เสริมในลักษณะของเป็นอาสาสมัคร

 

การไปทำงานต่างจังหวัด ในสมัยนั้นต้องไปใช้ทุนกี่ปี เราจะต้องทำอย่างไร เราสามารถเลือกได้ไหม

                            ก็เป็นเรื่องใหญ่เลยนะเพราะเราก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ออกกฎหมายให้แพทย์ใช้ทุนเพื่อเป็นมาตรการป้องกันแพทย์ไปต่างประเทศ เพราะสงครามเวียดนามประเทศสหรัฐอเมริกาขาดแคลนแพทย์ เวลาส่งแพทย์มากองทัพที่ประเทศเวียดนามต้องดึงแพทย์แถวเอเชียไปทำงาน ถึงขนาดเหมาเครื่องบินไปทั้งลำมารับ เมื่อจบแพทย์ฝึกหัดแล้วเกิดปัญหาว่าประเทศไทยขาดแคลนแพทย์มากหลายปี แพทย์สมัยนั้นอยู่แค่จังหวัดอำเภอไม่มีนะครับเขาเรียกว่าขาดแคลนแล้วกันนะครับพอเกิดสงครามเวียดนาม นักศึกษาแพทย์ทราบกันช่วงที่เรียนประมาณต้นปี 3 ได้ข่าวแวว ๆ แพทย์สามารถเลือกได้ถ้าไม่รับทุนให้ จ่ายเงินปีละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเมื่อจบแล้วสามารถที่จะเดินทางไปไหนก็ได้โดยไม่ต้องใช้ทุน แต่ช่วงนั้นได้ข่าวแว่ว ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้จากทางสื่อมวลชนแล้ว ในที่สุดก็ให้ใช้ระเบียบนี้กับคณะแพทย์ทั้ง 4 แห่ง ในรุ่นของรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ โดยก่อนจะจบประมาณต้นปี 2511 ต้องเซ็นสัญญาใช้ทุน 3 ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ซึ่งสร้างความโกลาหลตกใจกลัว รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เป็นหัวหน้าชั้นเป็นตัวแทนเจรจาอยู่ประมาณเกือบ 2 เดือน ซึ่งทางนักศึกษาแพทย์มี 2 แนวคิด แนวคิดแรกปฏิเสธไม่เซ็นสัญญา อีกแนวคิดคือ ยอมรับเซ็นสัญญา แต่ก่อนเซ็นต้องพิจารณาให้ชัดเจนเรื่อง เงื่อนไขระเบียบการใช้ทุนครอบคลุมอย่างไร แต่ยังหาข้อตกลงไม่ได้ได้มีการปรึกษาอาจารย์แพทย์หลายท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ภูเก็ต วาจานนท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพราะอาจารย์สนใจเรื่องนี้ ในที่สุดนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลยอมเซ็นสัญญาเป็นแห่งแรก ประมาณ วันที่ 24 และ 26 กุมภาพันธ์ แต่ทางรามาและจุฬา จะไม่ยอมเซ็น จนในที่คณบดีวิทยาศาสตร์คือ อาจารย์หมอศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข และศาสตราจารย์เกียรติคุณ นาวาตรีกำจร มนุญปิจุ รองคณบดี ได้ช่วยพูดเกลี้ยกล่อม ในที่สุดทุกคนก็ยอมเซ็นสัญญา เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2511 โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ บันทึกไว้ในไดอารี่ส่วนตัว ต่อมานักศึกษาทั้ง 4 สถาบันดังกล่าวได้รวมตัว มีการต่อรองเงื่อนไขต่าง ๆ และกลายเป็นตัวแทนแต่ละคณะในกรณีที่เกิดปัญหาโดยเริ่มแรกการจะแข่งกีฬาฟุตบอลกันที่จุฬาเพื่อสร้างความสัมพันธ์กัน ต่อมาเกิดสิ่งสำคัญหลายเรื่องคือ 1. จัดทำวารสาร ชื่อ “นักศึกษาแพทย์สัมพันธ์” ในปีที่ 4 โดย 4 ฉบับในปีแรกมีการให้แสดงข้อคิดเห็นต่าง ๆ ในมุมมองนักศึกษาและมีแพทย์ต่างจังหวัดมาช่วยเขียนบทความให้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เป็นผู้รับผิดชอบประสานงานเรื่องนี้ วารสารนี้เป็นที่เลื่องลือที่นักศึกษาแพทย์มีความเอาใจใส่ระบบสาธารณสุขของประเทศ 2. เกิดการรวมตัวกันเพื่อร่างระเบียบจัดตั้งศูนย์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย ชื่อย่อว่า สนพท. โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เป็นผู้นำนักศึกษา สรุปปลายปี 3 ทุกคนได้เซ็นสัญญาใช้ทุน ใช้หนี้ตั้งแต่ต้นปี 3 แต่สัญญาใช้ทุนก็มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีข้อเสนอแนะจากนักศึกษาจากอาจารย์ และรัฐบาลก็ตอบรับคือ ไม่คิดย้อนหลัง 6 รุ่นแรก ให้กับรุ่นที่ 7 โดยกำหนดเป็นบทเฉพาะกาล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ได้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์และศึกษาดูงานตามภาคต่าง ๆ แต่ทุกคนที่ไปใช้ทุนในรุ่นแรกรู้สึกเงื่อนไขการทำงานระดังอำเภอ ลำบากมาก มีปัญหาเรื่องการสนับสนุนการบริหาร จึงรวมตัวกันที่จะเสนอเรื่องการพัฒนาให้มันเหมาะสมให้เราทำงานดี ปี 2519 ได้ตั้ง “สหพันแพทย์ชนบท” ช่วงก่อนเดือนตุลาคม 2519 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เป็นประธานจัดทำวารสารชื่อแพทย์ชนบท แต่หลังเดือนตุลาคมมีปฏิวัติรัฐประหารจึงยึดและยุบทุกอย่างหมด ดังนั้นวารสารแพทย์ชนบทที่จัดทำโดยสหพันธ์แพทย์ชนบทจึงมีเล่มเดียวเท่านั้นนับเป็นประวัติศาสตร์ ประมาณ 1 - 2 ปี เกิดการรวมตัวแพทย์รุ่นน้องได้จัดตั้ง “ชมรมแพทย์ชนบท” มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาจนกระทั่งปัจจุบัน

 

อยากให้อาจารย์เล่าให้ฟังว่านักศึกษาในสมัยนั้นเขาทำกิจกรรมอะไรกัน มีผลต่อเนื่องจนกระทั่งจบการศึกษามาแล้วจนต่อเนื่องถึงทำงาน

                            การศึกษาของรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เป็นยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516 พอศึกษาจบแพทย์ปี 25 14 เป็นช่วงที่อาจารย์วิทยากร เชียงกูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนบทกลอนชื่อ “ฉันจึงมาหาความหมาย” ส่วนรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ชอบเขียนหนังสือโดยงานชิ้นแรกคือ เป็นบรรณาธิการจากการรวบรวมข้อเขียนของเพื่อนในห้อง ใช้เวลาประมาณอาทิตย์กว่าๆที่ทำหนังสือเล่มนี้ ต่อมาได้ตั้งชมรมฝึกพูดโดยมี อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เป็นโค้ชช่วยสอนให้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ถูกเพื่อนเสนอให้เป็นหัวหน้าชั้น 3 ปีแรก ประมาณมีนาคม 2512 ศาสตราจารย์นายแพทย์รจิต บุรี ได้เชิญเหล่านักศึกษาแพทย์รุ่นแรกมาทานน้ำชาที่คาเฟทีเรียของคณะฯ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำลังจะเปิดโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อได้พบกับศาสตรารจารย์นายแพทย์รจิต บุรี ท่านได้เล่าถึงเบื้องหลังการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 7 ท่าน ทุกคนมีความคิดที่อยากจะปฏิรูปหลักสูตรแพทย์แต่อยู่ที่เก่าทำไม่สำเร็จครับ เรียกว่า กลุ่มยังเติร์ก มีอายุประมาณ 40 ปีเศษ ๆ การมาร่วมก่อตั้งนี้มีแนวคิดชัดเจนคือ ต้องการสร้างแพทย์แนวใหม่ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ active learning สร้างความคิดให้เด็กรับผิดชอบสังคมมากขึ้น

 

หลังจากจบการศึกษาแพทย์มาและได้ทำงานแล้ว มีความประทับใจอะไรในภาพรวมของอาจารย์ในยุคนั้นตั้งแต่ยุคบุกเบิก 7 ท่านพร้อมด้วยอาจารย์ท่านอื่น

                            แนวคิดและบุคลิกภาพของอาจารย์ผู้ก่อตั้งคณะฯ นอกจาก 7 ท่านแล้วทุกท่านจะพูดตรงกัน ว่าต้องการสร้างแพทย์ให้เป็นคนตาม พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งไม่ใช่เป็นแพทย์เท่านั้น เวลาขึ้นวอร์ดอายุรกรรมครั้งแรก ศาสตราจารย์นายแพทย์รจิต บุรี พูดบ่อยว่า อย่าดูแต่คน อย่าดูแต่ไข้ อย่าดูแต่โรค ขอให้สนใจชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวเขาด้วย ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีคำว่าองค์รวม เนื้อแท้ของการมองคนไข้แบบองค์รวมก็คือเรารักษาไข้และรักษาคน อาจารย์ย้ำต้องสนใจรับผิดชอบสังคม อาจารย์ทุกท่านสอนให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้ด้วยตัวเอง อาจารย์มีความสุข มีความใกล้ชิด มีการรับฟังและให้เกียรตินักศึกษา ศาสตราจารย์นายแพทย์รจิต บุรี พูดคำเดียวว่า ที่รามาไม่มีครูกับศิษย์เราต่างเรียนรู้ซึ่งกัน อันนี้จะซึมซับในสมองของรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ และทุกวันนี้ตัวอาจารย์เองก็ใช้คำว่าไม่มีเส้นแบ่งระหว่างครูกับศิษย์ แล้วก็เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งตรงกับศาสตราจาย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี พูดบ่อยว่า learning by doing พันโท นายแพทย์สมพนธ์ บุณยคุปต์ ได้กล่าวถึงคำนี้บ่อยมาก จนรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ นำมาใช้บ่อยในปัจจุบัน โดยอ้างว่าอาจารย์สอนมาอย่างนี้ ส่วนการเรียนเวชศาสตร์ชุมชนนั้นศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เล่าว่าไม่รู้ทฤษฎีเลยแต่ให้ลงมือไปสำรวจก่อนแล้วค่อยมาวิเคราะห์ข้อมูล ให้มาเรียนรู้ทฤษฎีภายหลัง คล้าย ๆ เรียนกลับทางจากปกติ นอกจากนั้นประทับใจถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนเรื่องการความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดแบบพ่อลูกแบบพี่น้องอาจารย์ทุกท่านจะทุ่มเทในการสอนมาก

 

อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชุมชน อาจจะเริ่มตั้งแต่ที่อาจารย์ย้ายมาใช้ทุนที่บางปะอิน แล้วก็ต่อเนื่องมาเป็นอาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนอยากให้อาจารย์เล่าว่า มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมหลักสูตรนี้ต่างจากที่อื่น แต่ในปัจจุบันก็อาจจะเป็นต้นแบบกับเวชศาสตร์ชุมชนของหลายสถาบัน

                            มองย้อนหลังไปจะเห็นชัด ๆ ว่าเรื่องนี้เป็นนวัตกรรมของรามาธิบดีโดยนับเป็นคณะแพทย์แห่งแรกที่ทำเรื่องเวชศาสตร์ชุมชนนี้ แนวคิดคือ จะต้องให้นักศึกษาเข้าใจสังคม เข้าใจชุมชน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เปรม บุรี มีประสบการณ์ เรื่องของเสรีไทย สงครามโลกครั้งที่ 2 และมีประสบการณ์การเป็นผู้อำนวยการโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปอุดรธานี 2509 ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เปรม บุรี เล่าให้ฟังว่าพอเปิดคณะฯ ท่านได้ไปดูงานด้านนี้หลายประเทศในสามทวีป คือ อเมริกา เอเชีย และแอฟริกา ช่วงแรกตั้งโครงการเวชศาสตร์ชุมชนแบบภาควิชาใดๆ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาจากคณบดี อาจารย์ทุกภาควิชามีส่วนร่วม มุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจชุมชน เข้าใจชนบท ให้เข้าใจปัญหา solving รวมทั้ง learning by doing หลักสูตรนี้สอนวิชานี้ช่วง ปี 4 เทอมหนึ่ง และปี 6 นาน 6 สับดาห์ โดยให้ไปอยู่ที่ อ.บางปะอินเพราะว่าคณะฯตั้งเป้าหมายว่า อำเภอบางปะอินจะเป็นพื้นที่นำร่องโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง มีการส่งนักศึกษาภาคปฏิบัติกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มละ 10 คน 11 กลุ่ม รุ่นแรกมี 6 กลุ่ม ให้หมุนเวียนไปอยู่ที่อำเภอบางปะอินซึ่งเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ไม่มีแพทย์มีแต่เจ้าหน้าที่ เริ่มมีหมอทำงานบุกเบิก คนแรกคือ อาจารย์นายแพทย์ประสบ พานภาค ต่อมาประมาณกลางปีประมาณเมษายน มูลนิธิล็อคกี้เฟลเลอร์ได้สร้างหอพักแพทย์ให้ คณะฯเกิดแนวคิดที่จะทำเป็นคณะกรรมการพัฒนาสาธารณสุขอำเภอบางปะอิน ประกอบด้วย 3 ภาคส่วนคือ 1 โรงพยาบาล 2. สาธารณสุขอำเภอและนายอำเภอ 3. รามาธิบดี โดยนายอำเภอเป็นประธาน อาจจะเป็นต้นแบบของกระทรวงในอนาคต มีโครงการอยู่สัก 3-4 โครงการ คือ 1 โครงการสร้างส้วมสมัยนั้นไม่มีส้วม ประมาณ 20% ใช้คลองและแม่น้ำเป็นส้วม จึงมีปัญหาเรื่องโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคไทฟอยด์ และโรคอหิวาตกโรค โครงการนี้ให้ยืมเงินสร้างส้วม 500 บาทแล้วผ่อนส่งไม่มีดอกเบี้ย 2 โครงการฉีดวัคซีน ครอบคลุมการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนให้ครบสิทธิพื้นฐานคือ คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ 3 เกี่ยวข้องกับตำราคือ โครงการฟื้นฟูความรู้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่อนามัยที่ไม่ใช่แพทย์ เอกสารชุดนี้ เป็นที่ฮือฮามากมีการเขออกสารนี้มาจากทั่วประเทศ ต้นปี 2519 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ จึงจัดทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ชื่อหนังสือคือ คู่มือการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นและการส่งต่อผู้ป่วย

                            ช่วงที่เป็นอาจารย์ช่วงนั้น เรียกว่าศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คงแนวคิดเดิมและพานักศึกษาไปเยี่ยมบ้าน อาจารย์ชอบการเยี่ยมบ้านและชุมชนได้พานักศึกษาสัมผัสความจริงในชุมชนโดยจะเลือกผู้ป่วยที่มีปัญหาpsychosocial เน้นว่าเดินทางไปดูความยากลำบากของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย จึงมีหน้าที่สอนเวชศาสตร์ชุมชนกึ่ง ๆ ครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวในชนบท มีการปรับเปลี่ยนและฟังความเป็นของอาจารย์ช่วงที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้า โดยผู้อำนวยการศูนย์จะปรับเปลี่ยนหลักสูตรต่อเนื่อง มีการรับอาจารย์เพิ่มขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์จากชุมชน อาจารย์ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงค์ลี อดีตรัฐมนตรี เคยทำงานพื้นที่มาแล้วมาเป็นอาจารย์ด้วย มีการส่งอาจารย์ไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ในด้านการเรียนการสอนมีการปรับหลักสูตรให้มี 3 ชั้นปี คือ ปี 3 ให้เป็นการสำรวจเป็นแบบโฮมสเตย์ไม่ต้องมีแบบสอบถามให้ไปใช้ชีวิตจนเข้าใจ เป็นการสำรวจวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปฏิบัติ เปิดมุมมองกว้างขึ้นเพื่อสร้างทัศนคติกันแรงจูงใจครับว่าวงการแพทย์เป็นอย่างไร ก็ปรับเปลี่ยน พอปี 4 ก็ไปฝึกที่โรงพยาบาลชุมชน 4 สัปดาห์ และก็ปี 6 ไปฝึกที่โคราช เป็นการพัฒนาต่อเนื่องอีกอย่างหนึ่ง อาจารย์ผู้ก่อตั้ง คื ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรีเปรม เคยบอกว่า ดีใจมากที่ตั้งตัวติด

 

กล่าวถึงเรื่องของ ตำรารักษาโรคทั่วไปและตำราคู่มือการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นและการส่งต่อผู้ป่วย ของรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ตำรานี้มีลักษณะพิเศษคือ เรียบง่าย มีแผนภูมิว่าเป็นโรคนั้นเป็นโรคนี้ สามารถเปิดแล้วอ้างอิงได้เร็ว ก็เลยอยากให้อาจารย์เล่าเรื่องที่ไปที่มาของตำราทั้งสองเล่มนี้

                            ตำรารักษาโรคทั่วไปนี้ไม่ได้คิดว่าจะเป็นตำรา ในช่วงนั้นรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพเป็นหมอประจำที่อำเภอบางปะอินยังไม่ได้เป็นอาจารย์ที่คณะฯ แต่คณะฯได้เป็นคณะกรรมการร่วมของโครงการพัฒนาสาธารณสุขที่อำเภอบางปะอิน และมีการทำเอกสารในรูปแบบชีสมากมายเพื่ออบรมแต่มีความต้องการสูงจึงนำชีสมารวมกันเป็นที่นิยมพอสมควร ช่วงที่รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ สอนเวชศาสตร์ชุมชนได้พัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติม โดยอาจารย์ได้ศึกษาต่อด้านสาธารณสุขมหาบัณฑิต MDS เรียนเรื่องเกี่ยวกับการ (primary care) การบริการปฐมภูมิ มีการเขียนแผนภูมิแบบ problem-based อาจารย์ได้ปรับปรุงแก้ไขได้เพิ่มเติมเนื้อหาเรื่องโรค ได้ทราบว่าเจ้าหน้าที่อนามัยอาวุโสสามารถรักษาคนไข้งูกัดรอดชีวิตได้เพราะว่าเปิดตำราอ่านเล่มนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพมีความภูมิใจอย่างน้อยได้บรรลุเป้าหมายที่ไฝ่ฝัน เล่มล่าสุดคือปี 2553 เล่มสุดท้าย ขณะนี้(2565)มีเพื่อนชวนทำเป็น application โดยอัพเดท content ให้ชาวบ้านเปิดได้เลย กำลังจะเปิดตัวปลายเดือนกันยายน 2565 ชื่อว่า doctorathome application

 

หนังสือหมอชาวบ้านก็เป็นหนังสือที่แพร่หลายมาก เราก็จะเห็นในต่างจังหวัดในสถานที่ต่าง ๆ เยอะมากแ คิดว่าเป็นหนังสือที่ให้ความรู้กับประชาชนได้ดีเรียกว่าอาจจะดีที่สุดเล่มหนึ่งเลยของประเทศไทย ก็เลยอยากจะเรียนถามอาจารย์ถึงความเป็นไปเป็นมา และการพัฒนาต่อเนื่องของหนังสือหมอชาวบ้าน

                            หลังจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เป็นอาจารย์ที่คณะฯ ปี 2521 มีผู้จัดทำนิตยสารบางฉบับ เช่น ลูกรัก ขอให้เขียนบทความและชวนจัดทำนิตยสารสุขภาพ ซึ่งมีหนังสือด้านสุขภาพที่ให้ความรู้แก่ชาวบ้านหลายชื่อและเป็นช่วงที่ทั่วประเทศสนใจพัฒนาเรียนกว่าสาธารณสุขมูลฐานคือส่งเสริมให้ชาวบ้านช่วยตนเอง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสีแนะนำว่า น่าจะจัดทำหนังสือที่มุ่งให้ชาวบ้านเป็นหมอชาวบ้านจริง ๆ ไม่ใช่ให้ความรู้เฉย ๆ มีการสำรวจชื่อจนได้คำว่า “หมอชาวบ้าน” โดยให้ความหมายว่า 1. ทำชาวบ้านให้เป็นหมอให้รู้จักดูแลตัวเอง ดูแลตัวเองและครอบครัว 2. ทำให้หมอเป็นหมอของชาวบ้าน คือให้หมอเข้าใจสองด้านที่สำคัญคือความถูกต้องถูกหลักวิชาที่ทันสมัย ไม่เอาข่าวลือเอาแต่เรื่องที่ทันสมัยครอบคลุมทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ แพทย์แผนจีนและแผนไทยทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องของเรื่องสุขภาพล้วน ๆ รวมเเรื่องของจิตใจ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย ต้นไม้ สมุนไพรไทย แต่ก็กลั่นกรองวิชาการให้ถูกต้องมีการเสนอรูปแบบที่กระชับง่าย เข้าใจง่าย และนำไปสู่การปฏิบัติดูแลตนเองโดยใช้คำขวัญว่า หันมาหาการรักษาตนเอง ฉบับแรกออก พฤษภาคม 2522 ปลายปี 2521 อาจารย์ชวนอาจารย์ในแต่ละสาขามาร่วมทีมบรรณาธิการ เช่น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี รวมทั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศรีธรรม ธนะภูมิ จิตแพทย์ จากคณะฯ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สำลี ใจดี จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งแรกที่นิตยสารออกจำหน่ายเป็นที่ฮือฮาจนกระทรวงสาธารณสุขติดต่อองค์กรต่างๆ เพื่อขอสปอนเซอร์เพื่อให้มีทุน อยู่มาได้ 43 ปี ปีนี้(2565)ย่างเข้าปี 44 แต่ยอดขายตก และในปี 2528 ได้จะทำวารสารคลินิก ระดับแพทย์อีกฉบับกำหนดออกป็นรายเดือน เพื่อสร้างแพทย์ให้เป็นหมอชาวบ้าน แต่ยกเลิกในปี 2560 เพราะขาดทุ

 

อาจารย์จะมีเรื่องราวอะไรที่อาจารย์อยากจะเล่าให้พวกเราฟังอีก ตั้งแต่เรียนถึงทำงานจนกระทั่งปัจจุบันอาจารย์คิดว่ารามาธิบดีได้มีส่วนผลักดันอะไรให้มาถึงจุดนี้

                            ทางศูนย์เวชศาสตร์ชุมชนได้มีบทบาทร่วมกับการพัฒนาและนโยบายแผนงานบางอย่างของกระทรวงสาธารณสุขในการผลักดันเชิงนโยบาย เช่น เรื่องของระบบบริการปฐมภูมิเพื่อที่จะใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้นในการที่จะส่งเสริมให้ประชาชนดูแลตนเอง ซึ่งระบบสุขภาพมี 3 ระบบคือ 1 ระบบที่ทางบ้านดูแลตนเอง (self care) 2 ระบบที่มีฐานในชุมชน (primary care) 3 ระบบของโรงพยาบาลใช้ฐานโรงพยาบาล โดยทั้ง 3 ระบบ ต้องเชื่อมโยงกันอย่างไร้ลอยต่อ สามารถส่งต่อ ช่วยเหลือคนไข้ ให้คนไข้มารับบริการใกล้บ้านให้ดีที่สุด ทำแบบเครือข่ายชุมชนเครือข่ายสังคมร่วมคิดร่วม ซึ่งตรงแนวคิดของเวชศาสตร์ชุมชนแบบ partnership แนวคิดนี้ได้จากการที่รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพไปเรียนที่เบลเยี่ยมในปี 2524 -2525 เป็นการเปิดมุมมองโดยยสอนทักษะการอยู่ร่วมกันกับทำงานร่วมกันเป็นทีม เรียกว่า soft skill ที่สำคัญคือการมีสติการรู้ตนการคิดบวก อาจารย์ทำเรื่องนี้เกือบ 10 ปี จึงได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มี soft skills vs hard skills อย่างลงตัว

 

ถ้ามองดูหลักสูตรของคณะแพทย์ในปัจจุบันใช้คำว่า competency-based เราเอาเป้าประสงค์ของแพทยสภาแล้วก็บวกไปอีก 2-3 ด้าน คือ ด้านทีมเวิร์ค การพัฒนาตนงานเป็นทีม ด้านของ leadership และด้านนวัตกรรม ถือว่าเป็นเป้าประสงค์ที่ที่จะก้าวเดินไปไหม

                            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ให้ความเห็นว่า แนวคิดดีแต่ห่วงในแง่ปฏิบัติคือไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูก จากที่เห็นว่า problem-based learning ที่นำมาจากต่างประเทศและประยุกต์ใช้แต่ไม่สำเร็จ เพราะว่าต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอน ต้องปรับ mindset ทั้งผู้เรียนและผู้สอน เช่นเดียวกับที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์รจิต บุรี เคยพูดว่า “ไม่มีครูและศิษย์ ต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” คือเปลี่ยนความสัมพันธ์จากแนวดิ่งให้เป็นแนวราบ เมื่อหลังศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี เกษียณแล้วท่านอ่านหนังสือมาก ได้สรุปเนื้อหาสั้นๆมาให้ให้ลูกศิษย์อ่านหลาย 10 ตอน จนลูกศิษย์รวบรวมทำเป็นหนังสือเล่มเนื่องในวาระที่อาจารย์อายุครบ 90 ปี โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เป็น บรรณาธิการ มีอยู่บทหนึ่งสำคัญมาก เรื่องพุทธธรรม ท่านได้เปรียบขันธ์ 5 กับสมองและหน้าที่ของสมอง ได้เปรียบเทียบว่าโรคก็คืนร่างกายและสมองเวทนาคือ feeling สังขารคือ thinking วิญญาณคือ memory เป็นต้น ต้องเอามาเปลี่ยนนักศึกษาแพทย์ด้วย คือแทนที่จะทำเอาพระมาเทศน์ หรือนั่งสมาธิ

 

รามาธิบดีได้สร้างสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เมื่ออาจารย์ได้ยินโครงการนี้อาจารย์มีภาพฝันว่าในฐานะที่อาจจะเป็นฝ่ายเฝ้ามอง สถาบันฯ น่าจะเป็นอย่างไร อยากให้อาจารย์ให้ข้อคิดเห็น

                            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ตอบว่าไม่ได้ทราบรายละเอียดของสถาบันฯ แต่ก็ทำให้คิดถึงบรรยากาศสมัยก่อตั้งคณะฯ ในส่วนตัวคิดว่าที่สำคัญสุดมี 2 เรื่องแรกคือ mindset เรื่องที่ 2 ความสัมพันธ์

                            ดังที่ศาสตาจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี กล่าวตั้งแต่วันเปิดเรียนวันแรกเมื่อเริ่มเรียนชั้นปีที่ 5 ว่า “ต้องเคารพ ให้เกียรติฟังคน อ่อนน้อมถ่อมตน”