ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี

สรุปจาก Oral History ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี

 

การทำงานในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์นาน 2 วาระ คือ พ.ศ. 2512 – 2522 โดย อาจารย์ได้วางรากฐานไว้มากมาย การทำงานในภาคฯ ราบรื่นดีเพราะทีมงานรู้จักกันดีตั้งแต่ทำงานอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

เครื่องมือผ่าตัดในอดีตกับปัจจุบัน

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี มีความเห็นว่าเทคโนโลยีในทางการแพทย์มีประโยชน์ แต่ต้องเลือกใช้ให้ถูก

 

แพทย์ไทยในอนาคต

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี มีความคิดเห็นว่า Health Care Reform สำหรับประเทศไทย คงทำยาก แม้ว่าอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องเคยจัดทำด้าน Primary Health และกระทรวงสาธารณสุขทำเรื่อง Health Care ไว้มากมาย รวมทั้งองค์การอนามัยโลกเคยประกาศว่า Health For All By The Year 2000 ก็ตาม

 

เทคโนโลยีกับการแพทย์

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี มีความเห็นว่า Technology Advance ทางการแพทย์ มีประโยชน์ดี เช่น MRI PET Scan Ultrasound STEM Cell และ Nano Technology ดังนั้นผู้ใช้ต้องตามให้ทัน เลือกให้ถูกใช้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลในประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีข้อจำกัดในเรื่องนี้มาก

 

ภาควิชาที่แยกตัวออกจากภาควิชาศัลยศาสตร์

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี เล่าว่าขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ มีภาควิชาออร์โธปิดิกส์ และภาควิชาวิสัญญีวิทยา เคยอยู่ภายใต้ภาควิชาฯ ภายหลังแยกไปเพราะปริมาณงานมีมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพรรณ มัธยมจันทร์ เป็นหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา และศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ดิเรก อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์

 

การผ่าตัดในภาควิชาศัลยศาสตร์

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี เล่าถึงปัญหาความขัดแย้งกันในเรื่องการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ระหว่างภาควิชาศัลยศาสตร์และภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีว่ามีผลต่อคนไข้แต่ขัดแย้งอยู่ไม่นาน

                            อาจารย์ให้คำแนะนำกับบุคลากรคณะฯ รุ่นใหม่ ๆ ในด้านบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัยว่า ต้องดูสถานการณ์ต่าง ๆ ต้องมองเห็นปัญหาว่ามีอุปสรรคอะไรขวางกั้นอยู่ พบว่ามีการฟ้องร้องกันมากจากการที่จะตัดสินใช้เทคนิคอะไรรักษา ดังนั้นต้องพิจารณาเลือกและศึกษาให้ดีควรพิจารณาค่าใช้จ่ายด้วย อย่าเป็นทาสเทคโนโลยีขอให้ทำให้อย่างพอเหมาะตามเทคโนโลยีให้ทันเลือกให้ถูกและหลีกเลี่ยงเป็นแพทย์พาณิชย์

                            อาจารย์เห็นว่านักศึกษาแพทย์ที่จบใหม่ ๆ ต้องอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ดังนั้นแพทย์สภาควรจะมีบทบาทช่วยเหลือในเรื่องการออกกฎระเบียบต่าง ๆ

 

นักศึกษาแพทย์ในยุคปัจจุบัน

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี มีความเห็นว่านักศึกษาแพทย์ที่จบใหม่ ๆ ต้องอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น แพทยสภาควรจะมีบทบาทช่วยเหลือในเรื่องการออกกฎระเบียบต่าง ๆ

 

แพทยศาสตรศึกษา

                            ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เปรม บุรี เล่าว่าในเรื่องเกี่ยวกับแพทยศาสตรศึกษาของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในระยะแรกนั้น อาจารย์ก็มีบทบาทแพทยศาสตรศึกษาด้วยเช่นกัน โดยอาจารย์เล่าว่า สมัยนั้นศาสตราจารย์นายแพทย์ประพนธ์ ปิยะรัตน์ และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำ Workshop ด้านแพทยศาสตรศึกษาให้คณะฯ อาจารย์รู้สึกชอบและสนุกจึงเข้าร่วมงานด้านแพทยศาสตรศึกษาของคณะฯ มาตลอด ต่อมาศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี เห็นชอบให้ส่ง รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ เอี้ยวสกุล ซึ่งเป็นเลขานุการคณะฯ และเลขานุการของศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกด้านแพทยศาสตรศึกษาโดยได้รับทุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ กลับมาเป็นหัวหน้าหน่วยงานด้านนี้ รวมถึงศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์วราวุธ สุมาวงศ์ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง ม.ร.ว.จันทรนิวัทธ์ เกษมสันต์