ผลงาน The Clinical Spectrum and a New Theory of Pathogenesis of True Exfoliation Syndrome
ความสำคัญของผลงานวิจัยทางคลินิกเรื่อง “The clinical spectrum and a new theory of pathogenesis of true exfoliation syndrome (TEX) ” ตีพิมพ์ในวารสาร Ophthalmology
- นับตั้งแต่มีการค้นพบโรคในปีค.ศ.1922 มาเกือบศตวรรษ (95 ปี) ได้มีรายงานผู้ป่วย TEX ทั้งสิ้นเพียง 121 ราย ใน 37 articles (เฉลี่ย 3.3 รายต่อ article) ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้จึงบกพร่องไม่มีข้อสรุปชัดเจน เราได้ศึกษารวบรวมผู้ป่วยไทยในรพ.รามาธิบดี ใช้เวลา 4 ปี (2012 - 2016) ได้ 259 ราย นับเป็น world largest series และได้วิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (prospective study) นอกจากการตรวจด้วยเครื่องมือมาตรฐาน เราได้นำการถ่ายรูปคุณภาพสูง และ การสร้างภาพแบบต่อเนื่อง (serial phtography & imaging) มาใช้ติดตามผู้ป่วย พร้อมกับศึกษา histopathology โดยทำการตรวจวิเคราะห์ ultrastructure ด้วย light microscopy (211 ตา) scanning electron microscopy (19 ตา) และ transmission electron microscopy (20 ตา) นับเป็นจำนวนมากกว่าที่เคยมีรายงานมาก่อนของทุก articles ในอดีตทั้งหมดรวมกัน แล้วนำผลการศึกษามาสร้างสรรองค์ความรู้ใหม่ (body of knowledge) ได้อย่างลงตัว
- เป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในวรรณกรรม (literature) คือ ค้นพบระยะแรกเริ่มของโรคเป็นครั้งแรก เพิ่มเติมไปจากระยะที่เคยรายงานในอดีต ครั้นนำรวบรวมเข้าด้วยกันก็สามารถ สร้าง clinical spectrum ของโรคได้สมบูรณ์ และเสนอวิธีการแบ่งโรคแบบใหม่ (new clinical classification) ตามความรุนแรงออกเป็น 4 ระยะ
- ค้นพบลักษณะใหม่ของโรคคือ double delamination และpigment deposition
- ค้นพบว่าการขาดของ anterior lens zonules เป็นปฐมเหตุแล้วมี iris movement และ aqueous flow มาเสริมการพัฒนาการของโรค การค้นพบนี้ได้ปฎิวัติความเข้าใจของโรคแต่ดั้งเดิมและนำมาถึง
ทฤษฎีใหม่ อธิบายพยาธิสภาพและพยาธิกำเนิดโรค การตั้งทฤษฎีขึ้นใหม่เป็นความท้าทายอย่างยิ่งในวงการแพทย์เพราะจะมีผลกระทบกับการรักษาผู้ป่วยแพร่หลายทั่วโลก จำเป็น ต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มั่นคง (solid eveidence) เราได้นำผลการวิจัยทั้งทาง clinical และ basic science มาพิสูจน์ปรากฎการณ์ของโรคได้ครบถ้วน จนเป็นที่ยอมรับไร้ข้อโต้แย้งของวารสาร OPHTHALMOLOGY อันเป็นวารสารของสมาคมจักษุแพทย์อเมริกัน (the offiial journal of American Academy of Ophthalmology) และอนุญาตให้ตั้งชื่อเรื่อง (title) ประกาศเป็น “New Theory” ซึ่งเป็นโอกาสน้อยมากที่วารสารชั้นหนึ่งของโลกจะมอบให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการศึกษาที่ไม่ได้ทำในประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจสูงสุดของงานวิจัยในรามาธิบดี
การประยุกต์เชื่อมโยง และอธิบายภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกของ TEX ซึ่งไม่เคยมีการกล่าวถึงมาก่อน ได้แก่
anterior lens dislocation
angle closure glaucoma
double ring sign ระหว่างการผ่าตัดต้อกระจก
cataract
- แสดงวิธีการสร้างภาพ (imaging) ของ TEX ด้วย Scheimpflug photography, static and dynamic ultrasound biomicroscopy และ optical coherence tomography ยังประโยชน์ต่อการวินิจฉัย และเฝ้าติดตามการดำเนินโรค TEX แบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน