วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการปฏิบัติตัว- ควรงดอาหารและน้ำก่อนการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ เพื่อป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียน - หากท่านเป็นเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถรับประทานอาหารอะไรได้บ้างก่อนการตรวจ - ให้พาญาติมากับผู้ป่วยด้วย หลังการทดสอบผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการข้างเคียงจากการทดสอบได้ ขณะตรวจ- เมื่อมาถึงห้องตรวจเจ้าหน้าที่จะซักถามเกี่ยวกับระยะเวลาการงดอาหารและน้ำ และการงดยาบางตัวตามที่แพทย์สั่ง - เจ้าหน้าที่จะเปิดเส้นเลือดไว้ที่แขนข้างใดข้างหนึ่งสำหรับไว้ให้ยาในกรณีฉุกเฉิน (จะนำออกให้เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจ) - ผู้ป่วยต้องถอดฟันปลอมออก จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเริ่มวัดสัญญาณชีพจากท่ายืน ท่านั่ง และท่านอนตามลำดับ แล้วลงบันทึกในแบบฟอร์ม - หลังจากนอนบนเตียง เจ้าหน้าที่จะติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วใช้อุปกรณ์เป็นสายรัดบริเวณใต้หน้าอกโดยสอดไว้ใต้รักแร้แต่ละข้างและบริเวณเหนือเข่า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเป็นลม - เจ้าหน้าที่จะปรับระดับเตียงให้สูง 70 องศา พร้อมทั้งปิดไฟและจัดบรรยากาศให้เงียบสงบ - วัดสัญญาณชีพทุกๆ 5 นาที จนครบ 25 นาที - หากครบ 25 นาทีแล้ว ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ พยาบาลจะพ่นยา Nitroglycerin ใต้ลิ้น 1-2 puff ตามคำสั่งแพทย์ - หลังพ่นยาแพทย์สังเกตอาการและบันทึกสัญญาณชีพทุก 5 นาทีต่อ ถ้ามีอาการหน้ามืดเป็นลม แพทย์จะให้หยุดการทดสอบพร้อมทั้งปรับระดับเตียงนอนราบและบันทึกสัญญาณชีพขณะมีอาการ ถ้าไม่มีอาการหน้ามืดหรือเป็นลมแพทย์จะจัดสัญญาณชีพทุก 5 นาที จนครบ 15 นาทีจึงหยุดการทดสอบ - หลังทดสอบเสร็จรอให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีแล้วแพทย์จะอธิบายผลการตรวจพร้อมอธิบายวิธีการปฏิบัติตัว ขั้นตอนการรับบริการ1. ยื่นใบนัดตรวจที่ห้องตรวจ หลอดเลือดหัวใจ และเมแทบอลิซึม ที่อาคารสิริกิติ์ชั้น 1 ก่อนเวลานัด 15 นาทีรับใบชำระค่าตรวจ พร้อมชำระเงินที่การเงิน 2. นั่งรอเรียกชื่อตามเวลาในบัตรนัด 3. การตรวจใช้เวลาทดสอบประมาณ 1 -1.30 ชั่วโมง |
หมายเหตุหากต้องการเลื่อนนัดหรือมีข้อสงสัยติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-201-2211 ต่อ 151 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. ในเวลาราชการ (ห้องตรวจ หลอดเลือดหัวใจ และเมแทบอลิซึม อาคารสิริกิติ์ชั้น 1) |