งานประชุมวิชาการ ประจำปี 2556

Differential Diagnosis in word-finding Assessment” โดย Professor Diane J. German

จาก National –Louis University Chicago IL USA


1. จำนวนแพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ทั้งภายในและภายนอกประเทศขอเข้าดูงานด้านการแก้ไขการพูดและแก้ไขการได้ยิน จำนวน 61 คน (เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวน 5 คน) โดยแบ่งเป็น

  • ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน
  • กอง โสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 4 คน
  • ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จำนวน 3 คน
  • ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน
  • ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล จำนวน 1 คน
  • ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 8 คน
  • ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 10 คน
  • งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 12 คน
  • นักศึกษาพยาบาลโครงการแลกเปลี่ยน จากเดนมาร์ก จำนวน 8 คน
  • ภาควิชาโสต ศอ นาสิกลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 3 คนกองโสต ศอ นาสิกกรรม วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า จำนวน 1 คน

2. จัดบรรยายหัวข้อ Differential Diagnosis in word-finding Assessment” โดย Professor Diane J. German จาก National –Louis University Chicago IL USA เพื่อเพิ่มพูนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยให้กับนักแก้ไขการพูดทั่วประเทศ ให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2554  ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

3. อาจารย์ประจำภาควิชา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรภายในประเทศ จำนวน 8 คน (42 ครั้ง) และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ณ ประเทศมาเลเซีย จำนวน 1 คน

4. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย จัดกิจกรรม Meet the expert โดยเชิญ Associate Professor. Sumalai Maroonroge, Division of Communication Science and Disorders Texas A&M International University, Laredo, Texas, USA มาให้คำแนะนำในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษาของหลักสูตร ในวันที่ 15 สิงหาคม 2556 ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

5. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย จัดโครงการศึกษาดูงาน ณ โรงงานทิปโก้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีความรอบรู้และได้รับประสบการณ์ในการดูแลป้องกัน ความผิดปกติของการสื่อความหมายในขณะปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ณ โรงงานทิปโก้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

6. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย จัดโครงการศึกษาดูงานและร่วมปฏิบัติงานค่ายฝึกพูดเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ จังหวัดเชียงราย ตามรูปแบบชุมชนขอนแก่น เพื่อเพิ่มความรู้ และประสบการณ์ทางด้านการแก้ไขการพูดแบบภาคสนามให้กับนักศึกษาของหลักสูตร ในระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2556 ณ วาย เอ็ม ซี เอ จังหวัดเชียงราย

7. ภาควิชาจัดประชุมวิชาการ หัวข้อ เรื่อง “การส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกแบบองค์รวมผ่านกระบวนการเล่นตามหลักการ DIR/ฟลอร์ไทม์ สำหรับนักบำบัดใหม่” ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2556 และเรื่อง “การส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกแบบองค์รวมผ่านกระบวนการเล่นตามหลักการ DIR/ฟลอร์ไทม์” ครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 – 1 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องต้นฟ้า โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพฯ เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็กที่ใช้การได้สามารถประเมินระดับพัฒนาการของเด็กตาม Functional Emotional Development ได้ และสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการเล่น (ตามแนวคิด DIR/Floortime) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ ซึ่งภาควิชาได้รับเกียรติจาก รศ.พญ.กิ่งแก้ว ปาจรีย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และอาจารย์เกียรติยง ประวีณวรกุล นักจิตวิทยาคลินิก โรงพยาบาลธนบุรี 2 มาเป็นวิทยากรในการประชุม