หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่เปิดรับนักศึกษามาแล้วกว่า  ๓๐ ปีและในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของสังคม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ให้มีความก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น  เพื่อรองรับผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย  เพื่อพัฒนานักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี  มีความสามารถในระดับสูง มีความชำนาญในการให้บริการวินิจฉัย แก้ไข ฟื้นฟู และฝึกอบรม ด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย

                     ทางคณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย โดยมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มรายวิชาใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านนี้ ให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อให้บัณฑิตที่จบไป มีความสามารถนำความรู้เชิงบูรณาการดังกล่าว ไปประยุกต์ในการพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น

ความมุ่งมั่นของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนานักเวชศาสตร์การสื่อความหมายให้มีความรู้ ความสามารถระดับ สูงขึ้น ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย มีความชำนาญในการให้บริการตรวจประเมิน วินิจฉัย บำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และทำการวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันความผิดปกติของการสื่อความหมาย บูรณาการการศาสตร์ด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายกับศาสตร์อื่นได้ โดยเน้นความมีคุณธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ สิทธิผู้รับบริการ และการให้บริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับสากล

จำนวนนักศึกษาที่เปิดรับ
การรับนักศึกษาหลักสูตร แผน ก แบบ ก ๒ และ แผน ข

 

ปีการศึกษา

๒๕๕๕

๒๕๕๖

๒๕๕๗

๒๕๕๘

๒๕๕๙

 

จำนวนที่คาดว่าจะรับ

-

-

-

-

-

จำนวนสะสม

-

-

-

๑๒

-

จำนวนที่คาดว่าจะจบ

-

-

-

-

-

-

-

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร แผน ก แบบ ก ๒

มื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้

           (๑) ใช้ดุลยพินิจในการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูด ตามมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้รับบริการ

           (๒) สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือใหม่ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม แบบทดสอบ หรือเครื่องมือ นำมาประยุกต์ทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และการฟื้นฟูความผิดปกติของการสื่อความหมาย

           (๓) วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ เสนอแนวความคิด และนำมาประยุกต์ในการบริการทางคลินิกรวมทั้งการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

           (๔) มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

           (๕) ถ่ายทอด หรือนำเสนอผลงานและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้แก่นักวิชาชีพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

           (๖) มีความคิดริเริ่มในการทำวิจัย สามารถดำเนินกระบวนการวิจัยได้อย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์งานวิจัยด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  แผน ข

                            เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้

            (๑) ใช้ดุลยพินิจในการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูด ตามมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้รับบริการ

             (๒) สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือใหม่ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม แบบทดสอบ หรือเครื่องมือ นำมาประยุกต์ทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และการฟื้นฟูความผิดปกติของการสื่อความหมาย

              (๓) วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ เสนอแนวความคิด และนำมาประยุกต์ในการบริการทางคลินิกรวมทั้งการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

              (๔) มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

              (๕) ถ่ายทอด หรือนำเสนอผลงานและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้แก่นักวิชาชีพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                (๖) มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้น การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์แนวคิด การวิจารณ์ การสรุป การเรียบเรียงบทความ การนำเสนอรายงาน

สถานที่ศึกษาและแหล่งฝึกปฏิบัติ

ใช้อาคารสถานที่ที่มีอยู่แล้วใน ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย และอาคารอื่น ๆ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

คณะฯ สนับสนุนกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ของนักศึกษา  โดยมีสโมสรนักศึกษารามาธิบดี (สนร.) เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรม เช่น

  • กิจกรรมไหว้ครู

  • โครงการสืบสานอนุรักษ์มรดกไทย

ค่าใช้จ่ายและสวัสดิการนักศึกษา

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี ประมาณ 60,000 บาท

  • มีทุนสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย และ ทุนอื่นๆ

  • คณะฯ จัดให้มีศูนย์กีฬา อาคารสวัสดิการ ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรสามารถใช้บริการได้

ลักษณะงานที่ทำและความก้าวหน้า

เมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเป็นนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (แก้ไขการพูด และแก้ไขการได้ยิน) โดยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านความก้าวหน้าของวิชาชีพสามารถศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอก เพื่อ เป็นอาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาการสื่อความหมาย หรือศึกษาต่อต่างประเทศในระดับสูง