ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย ที่เปิดรับนักศึกษามาแล้วกว่า ๓๐ ปีและในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของสังคม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ให้มีความก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น เพื่อรองรับผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เพื่อพัฒนานักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี มีความสามารถในระดับสูง มีความชำนาญในการให้บริการวินิจฉัย แก้ไข ฟื้นฟู และฝึกอบรม ด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย
ทางคณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย โดยมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มรายวิชาใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านนี้ ให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้บัณฑิตที่จบไป มีความสามารถนำความรู้เชิงบูรณาการดังกล่าว ไปประยุกต์ในการพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น
ทางคณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย โดยมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มรายวิชาใหม่ ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านนี้ ให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้บัณฑิตที่จบไป มีความสามารถนำความรู้เชิงบูรณาการดังกล่าว ไปประยุกต์ในการพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย |
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ความผิดปกติของการสื่อความหมาย)
|
|
ชื่อย่อ : วท.ม. (ความผิดปกติของการสื่อความหมาย) |
ภาษาอังกฤษ | ชื่อเต็ม : Master of Science (Communication Disorders) |
|
ชื่อย่อ : M.Sc. (Communication Disorders) |
ความมุ่งมั่นของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนานักเวชศาสตร์การสื่อความหมายให้มีความรู้ ความสามารถระดับ สูงขึ้น ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย มีความชำนาญในการให้บริการตรวจประเมิน วินิจฉัย บำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และทำการวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันความผิดปกติของการสื่อความหมาย บูรณาการการศาสตร์ด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายกับศาสตร์อื่นได้ โดยเน้นความมีคุณธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ สิทธิผู้รับบริการ และการให้บริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับสากล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อสำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิตสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย มหาบัณฑิตสามารถ
- บูรณาการความรู้ด้านการพูดและการได้ยินในการปฏิบัติงานทางคลินิกในการแก้ไข ความผิดปกติของการสื่อความหมายทุกประเภทอย่างมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบ วิชาชีพ
- บูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ประเมินและแก้ไขด้านการพูด และการได้ยิน
- พัฒนาการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหาด้านความผิดปกติของการ สื่อความหมาย ได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ทางานเป็นผู้น าหรือเป็นผู้ร่วมทีมที่ดีเพื่อส่งเสริมและป้องกันความผิดปกติของการพูด หรือการได้ยินในชุมชน
- ศึกษาค้นคว้างานวิจัยและสามารถออกแบบและท างานวิจัยได้
- ปฏิบัติงานแก้ไขการพูดและ/หรือการได้ยินในระดับมาตรฐานสากลด้วยตนเอง
จำนวนนักศึกษาที่เปิดรับ
-
วิชาเอกแก้ไขการพูด
ปีการศึกษา
|
๒๕๖๑
|
๒๕๖๒
|
๒๕๖๓
|
๒๕๖๔
|
๒๕๖๕
|
จำนวนที่คาดว่าจะรับ
|
๕
|
-
|
๕
|
-
|
๕
|
จำนวนสะสม
|
-
|
๕
|
-
|
๕
|
-
|
จำนวนที่คาดว่าจะจบ
|
-
|
๕
|
-
|
๕
|
-
|
-
วิชาเอกแก้ไขการได้ยิน
ปีการศึกษา
|
๒๕๖๑
|
๒๕๖๒
|
๒๕๖๓
|
๒๕๖๔
|
๒๕๖๕
|
จำนวนที่คาดว่าจะรับ
|
๕
|
-
|
๕
|
-
|
๕
|
จำนวนสะสม
|
-
|
๕
|
-
|
๕
|
-
|
จำนวนที่คาดว่าจะจบ
|
-
|
๕
|
-
|
๕
|
-
|
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร แผน ก แบบ ก ๒
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้
- ใช้ดุลยพินิจในการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูด ตามมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้รับบริการ
- สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือใหม่ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม แบบทดสอบ หรือเครื่องมือ นำมาประยุกต์ทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และการฟื้นฟูความผิดปกติของการสื่อความหมาย
- วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ เสนอแนวความคิด และนำมาประยุกต์ในการบริการทางคลินิกรวมทั้งการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ถ่ายทอด หรือนำเสนอผลงานและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้แก่นักวิชาชีพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความคิดริเริ่มในการทำวิจัย สามารถดำเนินกระบวนการวิจัยได้อย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์งานวิจัยด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร แผน ข
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม
- ใช้ดุลยพินิจในการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูด ตามมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้รับบริการ
- สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือใหม่ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม แบบทดสอบ หรือเครื่องมือ นำมาประยุกต์ทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และการฟื้นฟูความผิดปกติของการสื่อความหมาย
- วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ เสนอแนวความคิด และนำมาประยุกต์ในการบริการทางคลินิกรวมทั้งการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ถ่ายทอด หรือนำเสนอผลงานและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้แก่นักวิชาชีพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้น การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์แนวคิด การวิจารณ์ การสรุป การเรียบเรียงบทความ การนำเสนอรายงาน
สถานที่ศึกษาและแหล่งฝึกปฏิบัติ
ใช้อาคารสถานที่ที่มีอยู่แล้วใน ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย และอาคารอื่น ๆ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
คณะฯ สนับสนุนกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ของนักศึกษา โดยมีสโมสรนักศึกษารามาธิบดี (สนร.) เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรม เช่น
- กิจกรรมไหว้ครู
- โครงการสืบสานอนุรักษ์มรดกไทย
ค่าใช้จ่ายและสวัสดิการนักศึกษา
- ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี ประมาณ 80,000 บาท
- มีทุนสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย และทุนสนับสนุนงานวิจัย
- คณะฯ จัดให้มีศูนย์กีฬา อาคารสวัสดิการ ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรสามารถใช้บริการได้
ลักษณะงานที่ทำและความก้าวหน้า
- เมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเป็นนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (แก้ไขการพูด และแก้ไขการได้ยิน) โดยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านความก้าวหน้าของวิชาชีพสามารถศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอก เพื่อ เป็นอาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาการสื่อความหมาย หรือศึกษาต่อต่างประเทศในระดับสูง