รับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ความผิดปกติของการสื่อความหมาย)

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ความผิดปกติของการสื่อความหมาย)

 วิชาเอก

  • วิชาเอกแก้ไขการพูด
  • วิชาเอกแก้ไขการได้ยิน

 วัตถุประสงค์

แผน ก แบบ ก ๒
      เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม
จริยธรรม ดังนี้ 
      ๑. ใช้ดุลยพินิจในการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูด ตาม
มาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้รับบริการ
      ๒. สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือ
ใหม่ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม แบบทดสอบ หรือเครื่องมือ นำมาประยุกต์ทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย
แก้ไข และการฟื้นฟูความผิดปกติของการสื่อความหมาย
      ๓. วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ เสนอแนวความคิด และนำมาประยุกต์ในการ
บริการทางคลินิกรวมทั้งการศึกษาได้อย่างเหมาะสม 
      ๔. มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิด
ชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
      ๕. ถ่ายทอด หรือนำเสนอผลงานและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้แก่นัก
วิชาชีพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
      ๖. มีความคิดริเริ่มในการทำวิจัย สามารถดำเนินกระบวนการวิจัยได้อย่างถูกต้อง และสร้าง
สรรค์งานวิจัยด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย 

แผน ข
      เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม
จริยธรรม ดังนี้ 
      ๑. ใช้ดุลยพินิจในการตรวจวินิจฉัย แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูด ตาม
มาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้รับบริการ
      ๒. สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือ
ใหม่ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม แบบทดสอบ หรือเครื่องมือ นำมาประยุกต์ทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย
แก้ไข และการฟื้นฟูความผิดปกติของการสื่อความหมาย
      ๓. วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ เสนอแนวความคิด และนำมาประยุกต์ในการ
บริการทางคลินิกรวมทั้งการศึกษาได้อย่างเหมาะสม 
      ๔. มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถจัดการความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิด
ชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
      ๕. ถ่ายทอด หรือนำเสนอผลงานและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้แก่นัก
วิชาชีพ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
      ๖. มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้น การทบทวนวรรณกรรม 
การสังเคราะห์แนวคิด การวิจารณ์ การสรุป การเรียบเรียงบทความ การนำเสนอรายงาน

 

 คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก ๒
      ๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
      ๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
      ๓. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

กำหนดการรับสมัคร --> Link

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณอภิสรา 02-201-2425 ในวันและเวลาทำการ