โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน
Volume: 
ฉบับที่ 14 เดือน พฤษภาคม 2557
Column: 
Health Station
Writer Name: 
รศ.นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคกระดูกพรุน

โรคนี้คือภาวะที่มีมวลกระดูกลดน้อยลงเนื่องจากมีการสลายกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูก มวลกระดูกที่ลดน้อยลงทําให้ความแข็งแรงกระดูกลดลง จนกระทั่งในที่สุดไม่สามารถจะรับน้ำ หนักหรือแรงกระทําต่างๆ ในชีวิตประจําวันได้ กระดูกมักจะแตกหรือหักได้โดยง่าย

โรคกระดูกพรุน

ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

ในอดีตเชื่อว่าโรคกระดูกพรุนเกิดในวัยชรา ร่างกายสร้างกระดูกมาทดแทนส่วนที่สึกหรอได้น้อยลง แต่ในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า พันธุกรรมมีส่วนในการกําหนดให้แต่ละคนมีมวลกระดูกมากน้อยต่างกัน ดังเช่นมักจะพบโรคนี้ในครอบครัวเดียวกัน แต่เนื่องจากเกี่ยวข้องกับยีนหลายตัว การแสดงออกจึงมักเกิดในผู้ที่เข้าสู่วัยชรา หรือในสตรีวัยหลังหมดประจําเดือนบางราย ที่ระดับฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็ว ทําให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงแรกๆ หลังหมดประจําเดือน

ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนคือ กลุ่มที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราจัด และใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น

โรคกระดูกพรุนมีอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างไร

เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน มวลกระดูกลดน้อยลง ความแข็งแรงกระดูกลดลง กระดูกในผู้ป่วยเหล่านี้จึงมักจะหักง่ายแม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ตําแหน่งที่พบกระดูกหักบ่อยคือ กระดูกปลายแขน ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง ซึ่งผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่เกิดกระดูกสันหลังหัก และข้อสะโพกหักมักจะมีภาวะแทรกซ้อนตามมามาก และมีอัตราตายสูง ถือเป็นภาวะอันตรายมาก และที่สําคัญคือผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ดังนั้นผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวมาก่อน

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่มีอาการแสดงให้สังเกตเห็นได้ เช่น กระดูกสันหลังหัก จะทําให้หลังโก่ง ตัวเตี้ยลง ดังนั้นถ้าหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง คือ เข้าสู่วัยชราอายุมากกว่า 60-65 ปี หรือสตรีวัยหมดประจําเดือน จะต้องหมั่นสังเกตตนเอง และวัดส่วนสูงเป็นประจํา หากส่วนสูงเตี้ยลงมากกว่า 4 ชั่วโมงหรือเกิดหลังโก่ง ควรไปพบแพทย์ หรือเคยมีกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรงมาก่อน หรือมีญาติใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ควรไปปรึกษาแพทย์

สําหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนในปัจจุบัน ใช้วิธีวัดมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA ซึ่งมีในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั่วไป และจะต้องเจาะเลือดตรวจปัสสาวะด้วย เพื่อแยกโรคร้ายแรงอื่นๆ ก่อนจะให้การรักษา

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน โดยใช้เครื่องตรวจวัดค่ามวลกระดูกเป็นมาตรฐาน แบ่งกระดูกออกเป็น 3 ชนิดดังนี้

  1. กระดูกปกติ  คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ในช่วง 1 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด (ค่ามวลกระดูก มากกว่า -1)
  2. กระดูกโปร่งบาง  คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ระหว่างช่วง 1-2.5 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด (ค่ามวลกระดูก มีค่าระหว่าง -1 ถึง -2.5)
  3. กระดูกพรุน คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด 2.5 หรือต่ำกว่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ค่ามวลกระดูก น้อยกว่า -2.5)

โรคกระดูกพรุน

สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกพรุนได้ก้าวหน้าไปไกล และมียาใหม่ๆ ที่สามารถป้องกันกระดูกหักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ คือ ยากระตุ้นการสร้างกระดูก และยาต้านการสลายกระดูก ปัจจุบันยาต้านการสลายกระดูกมีหลากหลายรูปแบบทั้งชนิดเม็ดรับประทาน ฉีดเข้าเส้น และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งการเลือกใช้ชนิดใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยและวิจารณญาณของแพทย์

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังการรับประทานยาในวันนี้เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การหักของกระดูกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจึงควรได้รับการรักษาและดูแลอย่างภาพผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้โรคพัฒนามากขึ้น การรับประทานยาสม่ำเสมอและปฏิบัติตนตามแพทย์แนะนําจึงเป็นสิ่งสําคัญ  แต่จากการศึกษาในคนไข้พบว่าผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนร้อยละ 50 มักหยุดยาเองหลังจากเวลาผ่านไป 6 เดือน จึงมีผลทําาให้การรักษาไม่ได้ผล ทําให้ผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการหักของกระดูก ดังนั้น การเลือกยารักษาโรคกระดูกจึงควรคําานึงทั้งประสิทธิภาพและการบริหารยาที่เหมาะกับผู้ป่วย การเลือกชนิดที่ทําให้ผู้ป่วยยึดติดอยู่กับยาจึงเป็นเรื่องสําคัญ ปัจจุบันมียารักษากระดูกพรุนชนิดใหม่ ให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุก 6 เดือน ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยและยายังมีประสิทธิภาพที่ดี  มีการศึกษาในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนยาวนานถึง 8 ปี (ข้อมูลถึง  2556) ที่แสดงให้เห็นว่ายาลดการหักของกระดูกได้ดีทั้ง กระดูกสันหลัง กระดูกที่ไม่ใช่กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก ยาชนิดนี้ขึ้นทะเบียนและมีใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชียแล้ว

การรักษาโรคกระดูกพรุน นอกจากการได้รับยาแล้ว ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม และผลิตภัณฑ์จากนม และออกกําาลังกายกลางแจ้งสม่ำเสมอด้วย

โรคกระดูกพรุน

การป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเป็นน่าจะดีกว่า ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่ ยาสเตียรอยด์ รวมทั้งยาลูกกลอน ยาหม้อ ยาชุด ไม่ควรซื้อยากินเอง  รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่  ถ้าหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกําลังกายกลางแจ้งสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับวิตามินดีที่เพียงพอ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดูดซึมแคลเซียม และทําให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การเดิน การทรงตัวดีขึ้น การเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและกระดูกหักก็จะลดลง

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 14