การช่วยเหลือเบื้องต้น สำหรับ 'คนจมน้ำ'
Varieties Corner ฉบับนี้เราพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านทําความรู้จักการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น สําาหรับ ‘คนจมน้ำ’ (Drowning)
ข่าวผู้ประสบอุบัติเหตุ ‘จมน้ำ’ สามารถพบได้บ่อยตามหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก และเกิดเหตุได้ตลอดเวลา ฉบับนี้เราได้รับเกียรติจากคุณอมรรัตน์ ศุภมาศ พยาบาลประจําโครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาแนะนําวิธีป้องกันและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกต้องกันค่ะ
การจมน้ำสามารถป้องกันได้และการป้องกันเป็นสิ่งที่สําาคัญมากที่สุด เพราะเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว พบว่า ผู้ประสบเหตุจมน้ำส่วนใหญ่จะมีโอกาสรอดน้อย และเสียชีวิตเกือบทั้งหมด ถึงแม้บางรายจะได้รับการช่วยเหลือแล้วก็ตาม เนื่องจากการช่วยเหลือที่ไม่ทันท่วงทีและไม่ถูกต้องก็เสมือนไม่ได้ให้การช่วยเหลือนั่นเอง
สําหรับการป้องกันการจมนําาสามารถทําได้ง่ายๆ เช่น การไม่ว่ายน้ำคนเดียว การสวมชูชีพทุกครั้งระหว่างที่อยู่ในน้ำ การทํารั้วกั้นสระน้ำ เป็นต้น การช่วยชีวิตผู้ที่จมน้ำจะช่วยสําเร็จได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จมน้ำว่านานเพียงใด อุณหภูมิของน้ำ และความรวดเร็วในการเริ่มให้การช่วยชีวิต ซึ่งเคยมีรายงานว่าการช่วยเด็กเล็กที่จมน้ำเย็นจัดสามารถรอดชีวิตได้ เนื่องจากความเย็นจะทําให้การทํางานของระบบประสาทยังสมบูรณ์อยู่
วิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำ
1. รีบนําผู้ที่จมน้ำออกจากที่เกิดเหตุและให้อยู่ในที่ปลอดภัย โดยจัดท่าให้นอนหงายราบบนพื้นที่มีความแข็ง เช่น บนพื้น บนโต๊ะ หากเคยได้รับการฝึกช่วยชีวิตผู้จมน้ำมาแล้วและผู้ให้การช่วยเหลือมีความแข็งแรง การช่วยหายใจเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในน้ำและให้รีบตัวผู้ป่วยขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว และให้ผู้อื่นรีบโทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือและขอรถพยาบาลที่หมายเลข 1669โดยแจ้งสถานการณ์ สถานที่เกิดเหตุและหมายเลขติดต่อกลับ
2. การช่วยชีวิตสามารถทําาได้โดยการกดหน้าอก 30 ครั้ง (กดที่กึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ลึกมากกว่า 2 นิ้ว อัตราเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที)
3. สลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้ง (โดยใช้มือหนึ่งกดหน้าผาก อีกมือหนึ่งยกคาง มือที่กดหน้าผากบีบจมูกผู้จมน้ำ ประกบปากเป่าลม จนหน้าอกผู้จมน้ำพองขึ้นเล็กน้อย)
ทําการกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้งไปเรื่อยๆ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง หรือหากสามารถนําผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้เร็วกว่าก็ให้ทําการช่วยชีวิตตลอดการเดินทางนําส่ง โดยห้ามหยุดเป็นอันขาด
หมายเหตุ:การแบกหรือยกตัวเพื่อเขย่าเอานําออกไม่ใช่สิ่งจําเป็น เพราะจะทําให้การเริ่มช่วยชีวิตล่าช้า
เอกสารอ้างอิง American Heart Association. Circulation 2005; Vol 112 Issue 24; Suppl 1; December 13, 2005: P 196-203.