คัมภีร์แม่มือใหม่สร้างได้อัจฉริยะบุคคล
ในยุคปัจจุบันเมื่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป ทําให้ชายหญิงมีแนวโน้มในการใช้ชีวิตคู่ช้าลง นั่นคงเป็นสิ่งที่ดีขึ้นเมื่อความพร้อมของครอบครัวอาจสูงขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามผู้หญิงมีบทบาทในการเป็นผู้หารายได้และเป็นผู้นําครอบครัวมากขึ้น จนอาจลืมตระหนักในความสําาคัญของการอยู่ใกล้ชิดกับลูก เมื่อคุณแม่คลอดลูกแล้วไม่นานก็ต้องกลับไปทํางาน ฝากลูกไว้กับญาติ พี่เลี้ยง หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก คุณแม่หลายคนไม่ทราบว่า การดูแลลูกน้อยวัย 0-3 ปี มีความสําคัญมากแค่ไหน จะสร้างเด็กให้เป็นอย่างไร เป็นผู้ยิ่งใหญ่หรืออัจฉริยะบุคคลสร้างได้ในวัยนี้
หากมองย้อนกลับไปสมัยยังเป็นเด็กคุณจําได้บ้างไหม มักมีผู้ใหญ่ตั้งคําาถามกับเราเสมอว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร” ถ้าเราเจอคําถามนี้ตั้งแต่เรายังเล็กๆ ตอนนั้นเรามักจะไม่เข้าใจว่าเราต้องเป็นอะไรและหันมองหน้าคุณแม่เพื่อหาคําตอบว่าแม่อยากให้หนูเป็นอะไร ในงานวันเด็กที่ผ่านมาศูนย์สุขภาพเด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดกิจกรรมวันเด็กและทําฉลากให้เด็กเลือกอาชีพในฝันของตนเอง 120 อาชีพ ผลปรากฏว่าเด็กจํานวนกว่า 300 คน อยากเป็นคุณหมอมากที่สุด นั่นยังคงเป็นข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดเด็กจึงอยากเป็นคุณหมอ เพราะเด็กประทับใจในตัวคุณหมอหรือผู้ปกครองปลูกฝังความคิดนั้นไว้ เนื่องจากอาชีพแพทย์ในประเทศไทยนั้นสร้างรายได้สูง ในทางเดียวกันมีผลสํารวจพบว่า อาชีพในฝันของเด็กไทยอาชีพแพทย์ยังคงติดอันดับอาชีพในฝันของเด็กๆ เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งต่างจากเด็กๆ ในสิงคโปร์ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักฟุตบอลมากที่สุด
มาซารุ อิบุกะ อดีตประธานกิตติมศักดิ์ผู้ก่อตั้งบริษัทโซนี่ ที่ผันตัวเองมาศึกษาเรื่องของเด็กเล็กอย่างจริงจัง และเขียนหนังสือสร้างอัจฉริยะบุคคล “รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” หนังสือขายดีอันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีคนฉลาดมากที่สุดในโลก ใจความในหนังสือเล่มนี้มีความสําคัญแทบจะทุกบรรทัด แต่เราคัดเลือกบางส่วนที่สําคัญและอยากให้คุณแม่หลายๆ ท่านได้ทราบว่า “ลูกจะเป็นอะไรนั้นเราสร้างได้”
รู้ได้อย่างไร..โตขึ้นมาลูกจะเป็นอะไร
เคยสังเกตเรื่องอัศจรรย์ในเด็กเล็กๆ บ้างไหมคะ เด็กบางคนมีสิ่งพิเศษเฉพาะตัวบางอย่างพิเศษกว่าเด็กคนอื่นๆ สิ่งนั้นมักเกิดจากสิ่งที่เด็กสนใจและชอบทําเป็นประจํา โดยชนวนเหตุแห่งความสนใจนั้นมักจะมาจากสิ่งใกล้ตัว ครอบครัว สิ่งที่ผู้เลี้ยงดูทําอยู่เป็นประจํา มีตัวอย่างของหนูน้อย William เจ้าของฉายา “Mr.Pocket Billiards” ที่ถูกจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 อันดับอัจฉริยะของโลก หนูน้อย Willie เป็นนักบิลเลียดอาชีพตอนอายุเพียง 6 ขวบ บิดาของเขาเป็นเจ้าของโต๊ะพูลแต่กลับไม่ยอมให้เขาเล่นพูล แต่เจ้าหนู Willie ก็ไม่ยอมแพ้โดยแอบไปฝึกฝนด้วยหัวมันฝรั่งกับด้ามไม้กวาดเก่าๆ ในครัวของแม่ ไม่นานนักพ่อของเขาก็ได้เห็นความเป็นอัจฉริยะในตัวเขา จึงได้จัดให้มีการแข่งขันท้าประลองขึ้น และ Willie ก็สามารถเอาชนะคู่แข่งที่มีอายุและประสบการณ์เหนือกว่าตนเองมากมายได้ ทั้งๆ ที่เขายังต้องยืนบนกล่องต่อขาเพื่อให้สูงถึงโต๊ะจนเล่นได้ก็ตาม
คุณมาซารุ อิบุกะ อธิบายความลับของความสามารถพิเศษนี้ไว้ให้เข้าใจกันโดยง่ายว่า “สมองของเด็กเล็กวัยก่อน 3 ขวบนั้น เราจะยัดเยียดอะไรให้มากแค่ไหนก็รับได้” สมองของเด็กเล็กสามารถดูดซับทุกสิ่งได้เหมือนฟองน้ำและเมื่ออิ่มตัวก็จะหยุดดูดเข้าไปเอง พ่อแม่มีบทบาทสําคัญในการสังเกตว่าลูกสนใจอะไรเป็นพิเศษและตอบสนองทันที ซึ่งจะมีผลให้ความสนใจของเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่องความสนใจเป็นยากระตุ้นที่ดีที่สุดสําหรับเด็ก แต่มีปัญหาอยู่ประการหนึ่งคือ เด็กนั้นมีความอยากรู้อยากเห็นมากเสียจนกระทั่งเป็นการยากที่จะทําให้แกสนใจอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างต่อเนื่อง พ่อแม่จึงควรเฝ้าสังเกตและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความใส่ใจอย่างใกล้ชิด
การศึกษาในช่วงอายุ 0-3 ขวบ สามารถทําให้คนเป็นอัจฉริยะได้ถ้าอยากจะทํา
“ปัจจุบันการศึกษาชีวะวิทยาเกี่ยวกับสมองและกรรมพันธุ์ก้าวหน้าขึ้นจนกระทั่งพบว่า ความสามารถและอุปนิสัยของคนนั้น ส่วนใหญ่จะก่อรูปเรียบร้อยระหว่างอายุ 0-3 ขวบ กล่าวคือ คนเรานั้นตอนแรกเกิดมาเหมือนกันหมด ไม่มีคนที่เกิดมาเป็น “อัจฉริยะบุคคล” หรือเกิดมาเป็น “ไอ้งั่ง” แต่การศึกษาตั้งแต่แรกเกิดนั้นแหละสามารถทําให้คนเป็นอัจฉริยะบุคคลได้ถ้าจะทํา”
มาซารุ อิบุกะ
สมมุติให้สมองคือคอมพิวเตอร์เส้นสายของเซลล์สมองก็เปรียบเสมือนทรานซิสเตอร์
มาซารุ อิบุกะ เขียนข้อความตอนหนึ่งไว้ว่า “ลองจินตนาการสมัยที่คุณยังเป็นเด็กนักเรียน ชั้นเรียนของคุณคงมีคนหัวดีมาก และคนที่หัวทื่อไม่เอาไหนใช่ไหมครับ คนที่หัวดีนั้นทั้งๆ ที่ไม่ได้คร่ำเคร่งเรียนเท่าไร แต่ได้คะแนนเยี่ยมทุกที ส่วนคนที่ไม่เอาไหนนั้นต่อให้ขยันดูหนังสืออย่างไร ผลลัพธ์ก็คงเหมือนเดิม ทุกคนคงเคยมีเพื่อนแบบนี้มาแล้ว ทางฝ่าย คุณครูมักจะปลอบใจว่า “คนเราไม่ได้เกิดมาเป็นคนโง่หรือฉลาด มันขึ้นอยู่กับความพยายามนะนักเรียน” แต่ความรู้สึกของพวกเรา เรามักคิดว่าความโง่หรือฉลาดคงถูกกําาหนดมาตั้งแต่กําาเนิดแล้ว ที่จริงมันเป็นเรื่องอย่างไรกันนะ?
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่พ่อและแม่คนไทยทุกคนควรให้ความสําคัญ เด็กๆ หลายครอบครัวในเมืองไทยก็เช่นกันคงเคยเจอกับสถานการณ์แบบนี้และมักน้อยใจผู้ปกครองอยู่เป็นประจํา เมื่อพ่อกับแม่นําเราไปเปรียบเทียบกับลูกข้างบ้านหรือลูกของเพื่อนที่ทํางาน “ดูบ้านนู้นสิเขาตั้งใจเรียนได้เกรด 4.00 ทุกวิชา แล้วนี่มัวทําอะไร หนังสือไม่อ่านเอาแต่นั่งอ่านการ์ตูน” หลายคนคงเคยได้ยินเสียงนี้จากที่บ้านและแอบคิดในใจว่า เพื่อนที่โรงเรียนก็ได้เกรด 4 ทุกวิชาเหมือนกัน แต่เขาก็นั่งอ่านการ์ตูนเหมือนกับตัวเรานี่นา แล้วทําไมเขาได้เกรด 4 ทุกวิชา แล้วเราได้เกรดเฉลี่ย 2 กว่าๆ เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก หากเราเปรียบเทียบสมองของเรากับคอมพิวเตอร์ และมองย้อนกลับไปเมื่อวัยก่อน 3 ขวบ
คุณอิบุกะ อธิบายว่า “เส้นสายของเซลล์สมองจะก่อรูปภายใน 3 ขวบ ถ้าเราดูภาพของสมองที่ขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่าหลังจากที่เด็กเกิดมาแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปเด็กจะเรียนรู้มากขึ้นจะมีสายโยงเชื่อมระหว่างเซลล์สมองมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อเซลล์สมองจํานวนมากต่างก็ยื่นมือมาจับกัน สัมพันธ์กัน จึงจะสามารถทําการย่อยสลายข่าวสารภายนอกได้ หากเปรียบเทียบสมองกับคอมพิวเตอร์ การทํางานลักษณะนี้เปรียบเทียบได้กับทรานซิสเตอร์ในคอมพิวเตอร์ ทรานซิสเตอร์เดี่ยวๆแต่ละตัวทําอะไรไม่ได้จนกว่าจะต่อสายเชื่อมเข้าด้วยกัน จึงจะทํางานได้ในฐานะคอมพิวเตอร์ เส้นสายสัมพันธ์ในสมองก็เปรียบเสมือนสายเชื่อมระหว่างทรานซิสเตอร์ จะเพิ่มตัวรวดเร็วมากระหว่างอายุ 0-3 ขวบ จนกระทั่ง 70-80% ของสายโยงทั้งหมดจะก่อรูปภายในอายุ 3 ขวบ แน่นอนไม่ได้หมายความว่าเด็กอายุ 3 ขวบ สมองจะไม่เติบโตอีกเลย แต่หลังจาก 4 ขวบขึ้นไปเส้นสายสมองในส่วนอื่นจะเติบโตขึ้นแทน เปรียบเทียบคือ เส้นสมองที่สร้างก่อน 3 ขวบ เปรียบได้กับ “ฮาร์ดแวร์” นั่นก็คือตัวเครื่อง ส่วนเส้นสมองหลังจาก 3 ขวบคือ “ซอฟต์แวร์” คือส่วนที่เป็นการใช้งานเครื่องนั่นเอง ดังนั้นแล้วหากฮาร์ดแวร์ที่ถูกสร้างขึ้นภายในช่วงอายุ 3 ขวบไม่ดีแล้ว ต่อให้เราสร้างซอฟต์แวร์ให้ดีอย่างไรก็ไม่มีความหมาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ทีคุณภาพไม่ดีต่อให้คุณพยายามใช้อย่างดีแค่ไหนมันก็ให้ผลลัพธ์ออกมาดีไม่ได้แน่”
นั่นหมายความว่า แท้จริงแล้วพ่อและแม่ควรให้ความสําคัญในการพัฒนาการสมองของเด็กโดยเริ่มตั้งแต่วัยก่อน 3 ขวบ เพราะการสร้างสมองของเด็กในวัยนี้จะเป็นฐานรากสําคัญในการรองรับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดจากการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวัย เปรียบเสมือนการสร้างบ้านหลังใหญ่ที่ต้องลงเสาเข็ม ซึ่งเป็นฐานรากของบ้านให้มั่นคง ผู้อยู่อาศัยจะได้อุ่นใจว่าบ้านนั้นจะไม่ทรุดหรือเอียงถล่มลงมา สมองเด็กเล็กก็เช่นกัน แม้เราจะรู้สึกว่าเด็กเล็กช่างไร้เดียงสาแต่แท้จริงแล้วมีศักยภาพมากกว่าที่คิด เปรียบเทียบง่ายๆ เมื่อเด็กอายุ 3 ขวบ เด็กสามารถพูด เดิน ร้องเพลง และเข้าใจภาษาได้ แต่ถ้าลองให้ผู้ใหญ่อย่างเราไปนั่งเรียนภาษาต่างชาติที่ไม่คุ้นเคยเป็นระยะเวลา 3 ปี บางคนอาจจะทําได้เพียงแค่กล่าวทักทายสวัสดีหรือพูดประโยคสั้นๆ ที่ต้องใช้สนทนาอยู่เป็นประจําเท่านั้น
แม้ในความเป็นจริงพ่อแม่นั้นมักเริ่มสังเกตเห็นความสามารถและพัฒนาการในเด็กได้ชัดเจนก็เมื่อเด็กโตขึ้น เมื่อรู้สึกว่าลูกของเรามีพัฒนาการช้าหรือไม่มีความสามารถพิเศษเหมือนเด็กคนอื่นๆ ก็จะนิยมให้ลูกเข้าเรียนพิเศษ เพื่อพัฒนาความสามารถ เป็นผลให้เด็กเกิดความเครียดเมื่อทําไม่ได้อย่างที่พ่อและแม่หวัง สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กทําให้เด็กกลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่น รู้สึกว่าตนทําอะไรก็ไม่ดีสักอย่างและเกิดความท้อแท้ในการศึกษาสิ่งต่างๆ นั่นคือสิ่งสําคัญที่ผู้ปกครองหลายท่านในเมืองไทยยังคงมองข้ามไปนั่นเอง