วิสัญญีวิทยาประยุกต์ ๓
๑. ชื่อหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
๒. รหัสรายวิชา รมวส ๕๓๓ (RAAS 533)
ชื่อรายวิชา วิสัญญีวิทยาประยุกต์ ๓ (การดูแลผู้ป่วยหนัก)
Applied Anesthesiology 3 (Intensive Care)
๓. จำนวนหน่วยกิต ภาคปฏิบัติ ๒ หน่วยกิต
๔. เงื่อนไขของรายวิชา
รายวิชาที่ต้องผ่านก่อน รมวส ๕๐๕ วิสัญญีวิทยาพื้นฐาน
จำนวนนักศึกษาที่เปิดสอน ครั้งละไม่เกิน ๘ คน
๕. ประเภทวิชา วิชาเลือกทางคลินิก
๖. ภาคการศึกษาที่เปิดสอน และปีการศึกษาที่เริ่มเปิดสอน
เริ่มสอนในปีการศึกษา ๒๕๔๗ โดย
เปิดสอนสำหรับนักศึกษาปี ๕ ภาคปลาย ครั้งละ ๒ สัปดาห์ จำนวน ๓ ครั้ง (สัปดาห์ที่ ๔๓-๔๘)
เปิดสอนสำหรับนักศึกษาปี ๖ ครั้งละ ๒ สัปดาห์ จำนวน ๒๑ ครั้ง (สัปดาห์ที่ ๑-๔๒)
๗. คำอธิบายรายวิชา
หลักการดูแลผู้ป่วยในหออภิบาล ภาวะหายใจวาย ภาวะวิกฤตทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะวิกฤตทางระบบประสาท ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการเฝ้าระวัง การสอดสายสวนหลอดเลือดแดง การสอดสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง เครื่องช่วยหายใจและเทคนิควิธีการช่วยหายใจ ปัญหาเวชจริยศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
๘. วัตถุประสงค์ของวิชา
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษาแพทย์สามารถ
๘.๑ บอกความหมายของ intensive care และ critical care ได้ถูกต้อง
๘.๒ บอกหลักการวินิจฉัย พร้อมหลักการและวิธีการรักษาภาวะวิกฤตต่อไปนี้ได้ถูกต้อง: respiratory failure, shock, heart failure, cardiac arrhythmias, acute renal failure, head injury, increased intracranial pressure, convulsion
๘.๓ บอกข้อผิดพลาดของการเฝ้าระวังที่ใช้บ่อยทางคลินิกได้ถูกต้อง
๘.๔ สอดสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางได้ด้วยตนเอง
๘.๕ บอกข้อบ่งชี้ การป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน และอธิบายวิธีการสอดสายสวนหลอดเลือดแดงและวัดความดันหลอดเลือดแดงโดยตรงได้ถูกต้อง
๘.๖ อธิบายการทำงานของเครื่องช่วยหายใจและเทคนิควิธีการช่วยหายใจชนิดต่างๆ และสามารถตั้งเครื่องช่วยหายใจให้ผู้ป่วยได้
๘.๗ ตระหนัก และประยุกต์หลักการทางเวชจริยศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้เหมาะสม