ยาที่ใช้ฉีดร่วมกับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ

                                                           ยาที่ใช้ฉีดร่วมกับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ (Gadolinium based contrast agents)

                                                 
                                               

                                                                                           

 

                                                          

          ยาที่ใช้ฉีดร่วมกับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ หรือเรียกว่า Gadolinium based contrast agents  สามารถฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือรับประทานและมักจะถูกนำมาใช้สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของ หลอดเลือดหรือพยาธิวิทยา (. เช่นเนื้องอกในสมอง) โดยหลังจากฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดดำ ตัวยาจะกระจายไปอยู่ในหลอดเลือดและซึมเข้าช่องว่างระหว่างเซลล์ หากบริเวณใดมีพยาธิสภาพจะทำให้เกิดความแตกต่างของภาพได้ชัดเจนขึ้น.

 

ยาที่ใช้ฉีดร่วมกับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ สามารถแบ่งออกได้หลายลักษณะ ดังนี้.

 

1.องค์ประกอบทางเคมี (chemical composition)

2.อวัยวะที่ต้องการตรวจ (administration route)

3.คุณสมบัติเมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก (magnetic properties)

4.ผลของภาพที่แสดง (effect on the image)

5.การกระจายตัวของยาและการประยุคใช้ (biodistribution and applications)

6.หลังฉีดซึมอยู่ระหว่างเซลล์ (Extracellular fluid agents)

7.ยาสำหรับตรวจหลอดเลือด (Blood pool agents)

8.ยาที่ใช้กับอวัยวะเฉพาะ เช่น ตับ (Organ specific agents)

 

วิธีการใช้

     1. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยา 0.2-0.4 ซี ซี ต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม

     2. ให้ผู้ป่วยดื่ม โดยผสมยากับนํ้าดื่ม

อาการข้างเคียงขั้นต้นที่พบได้บ่อยหลังฉีดยา

อาการข้างเคียงที่พบมากที่สุด หรือจะเรียกว่าปกติ ที่เกิดจากาการฉีดยา ที่ไม่รุนแรงและเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ คือเจ็บในบริเวณที่ฉีด ความดันโลหิตต่ำ ผื่นผิวหนังเล็กน้อย อาการปวดหัวที่ไม่รุนแรง วิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้ โดยปกติผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาใด ๆ อาการเหล่านี้มีรายงานว่าร้อยละ 0.04 ของผู้ป่วย 450, 000 ราย ที่ได้รับรับการฉีดยาในขณะที่รับการตรวจด้วยเครื่อง เอ็มอาร์ไอ อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการข้างเคียงที่เป็น ลมพิษและมีอาการคลื่นไส้.

อาการ Nephrogenic Systemic Fibrosis

เป็นผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดจากการใช้ยา มีการบันทึกโดย องค์การอาหารและยารายงานว่าผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตล้มเหลวและโรคไตไม่สามารถกรองสารเคมี ได้อย่างรวดเร็วพอ และก็ยังคงอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า nephrogenic systemic fibrosis หรือ NSF  อาการ NSF จะมีอาการแข็งที่ผิว ผิวสีแดง ส่วนใหญ่ พบได้ที่ แขนขา ดังนั้นผู้ป่วยบางกรณีที่จำเป็นต้องฉีดยา ต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูผลการทำงานของไต ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงคือผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันหรือเรื้อรังไตอย่างรุนแรง อัตราการกรองไต <30 มิลลิลิตร / นาที / 1.73m2); หรือในระยะเวลาที่ผ่าตัดปลูกถ่ายตับ.

 

 

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ข่าวทั้งหมด