1 |
|
2 |
Spike Mac (Needle Free Multi-dose Vial Adaptor) เป็นอุปกรณ์สำหรับเจาะจุกยา, ขวดน้ำเกลือ เพื่อดูดสารน้ำได้หลายครั้ง ลักษณะพิเศษ คือ 1) อุปกรณ์ประกอบด้วยยฝาสำหรับปิดปิด แบบ Snap Cap ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค วิธีการใช้ 9) ใช้มือจับที่ขอบล่างของอุปกรณ์และขวดน้ำเกลือ
|
3 |
ผลิตภัณฑ์อาหารไอแมคสำหรับผู้เตรียมรับการตรวจลำไส้โดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท President Rice Products Public Company Limited ได้ร่วมมือกับรศ.พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ประธานโครงการ AIMC (ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้าร่วมรักษา) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาอาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ในรูปแบบของโจ๊ก ซุปข้น และซุปใส สำหรับจำหน่ายแก่ผู้เตรียมเข้ารับการตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่หรือตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ อ่านรายละเอียด |
4 |
ACCU View Accuview เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยศูนย์ AIMC เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์หาพื้นที่ไขมันในช่องท้องจากภาพ CT แล้วทำการแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ
|
5 |
Pneumocolon pump Pneumocolon pump เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเป่าลมให้ลำไส้พองตัว เพื่อให้สามารถทำการตรวจลำไส้ด้วยวิธีการส่องกล้อง หรือทำ CT scan ได้ง่ายขึ้น โดยทางศูนย์ AIMC ได้คิดค้น Pneumocolon pump ที่สะดวกใน และง่ายต่อการใช้งานขึ้นมาใช้เองได้สำเร็จ |
6 |
CTC Tagging agent CTC tagging agent เป็นสารทึบรังสีที่ให้ผู้มารับการตรวจรับประทานเพื่อให้สารชนิดนี้จับตัวกับ อุจจาระในลำไส้ใหญ่ ทำให้รังสีแพทย์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างอุจจาระ และ เนื้อเยื่อลำไส้ได้ชัดเจนขึ้น |
7 |
AIMC Esophapaste สารทึบรังสีชนิดกินในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูหลอดอาหาร (AIMC esoph paste) |
8 |
![]() ![]() ขดลวดชี้ตำแหน่งรอยโรคเต้านม (AIMC breast hook wire) โดย : ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และคณะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับอนุสิทธิบัตรเลขที่ ๓๓๔๔ จากการตรวจเต้านมของผู้หญิงด้วยเครื่องแมมโมแกรม ร่วมกับอัลตร้าซาวน์ โดยวิธีแทงเข็มบอกตำแหน่ง ในผู้ป่วยรายที่มีก้อนในเต้านมขนาดเล็กมาก ก่อนส่งผู้ป่วยให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกมา เพื่อรักษาและวินิจฉัยต่อไป มักพบปัญหาคือเข็มบอกตำแหน่งที่ใช้มักหลุดจากตำแหน่ง และเข็มมีความทึบรังสีน้อยเกินไป ทำให้ตำแหน่งก้อนที่ผิดปกติมีความคลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อผู้ป่วย และส่งผลต่อระบบการตรวจผู้ป่วยรายอื่น เกิดการติดขัดล่าช้าอีกทั้งเจ้าหน้าที่และแพทย์ต้องทำงานซ้ำซ้อน ด้วยหลักการของผู้ป่วยในการเข้าถึงการรักษาอย่างเร่งด่วนในระยะเริ่มต้น และผู้ป่วยรายต่อไปที่รอการนัดหมายได้รับการตรวจที่เร็วขึ้นอีกทั้งยังเป็นการใช้บุคลากรทางการแพทย์อย่างคุ้มค่าเหมาะสมทำให้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ จึงคิดค้นศึกษาด้วยการวิจัยทดลองและ พัฒนาความรู้ศิลปวิทยา เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมาทดแทน สิ่งประดิษฐ์นี้ สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี มีความปลอดภัยสูง และสามารถยึดตำแหน่งก้อนเนื้อที่มีปัญหาได้ โดยไม่หลุดก่อนส่งให้ศัลยแพทย์ สิ่งประดิษฐ์นี้ได้ทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน ๖๐๐ ราย และพบว่าสามารถใช้ได้ดีร้อยละ ๙๙.๙๙ ที่สำคัญ มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ที่สั่งจากต่างประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยประเทศชาติประหยัดได้อย่างมากถึง ๑๒ เท่า เนื่องจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศราคา ๖๐๐ บาท ต่อชิ้น ส่วนสิ่งประดิษฐ์นี้ราคา ๕๐ บาท ต่อชิ้น |
9 |
สายสวนสารทึบรังสี (AIMC Contrast Enema Tube) โดย : กลุ่มรวมใจไอแมค เมื่อปี ๒๕๕๕ อนุสิทธิบัตรเลขที่ ๗๖๕๒ จดทะเบียนวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ใช้เพื่อสวนน้ำหรือน้ำผสมสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักสำหรับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนล่างและช่องท้องทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้รับคือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยเฉพาะราย ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค สำหรับเจ้าหน้าที่คือใช้งานได้สะดวก ไม่เกิดการหลุดของข้อต่อระหว่างการใช้งานได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ ๑ งานมหกรรมคุณภาพรามาธิบดี ในปี ๒๕๕๕ รางวัลนวัตกรรมบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น ของสำนักงานพัฒนาระบราชการ(ก.พ.ร.)ประจำปี 2557 |
แบริแมค (Barimac)
Barimac คือ สารทึบรังสีเพื่อถ่ายภาพทางการแพทย์ โดยนำสูตร AIMC CTC Tagging Agent อนุสิทธิบัตร เลขที่ 15267 จดทะเบียน วันที่ 19 มิถุนายน 2562 จาก Hospital preparation เป็นการผลิตทางอุตสาหกรรมซึ่งเกิดจากความ ร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์ไอแมคกับบริษัท เบอร์ลินฟาร์มาซูติคอล อินตัสตรี้ จำกัด ได้ อ.ย.เลขที่ 1A15024/62 ช่วยให้ผู้ป่วยตรวจทางรังสีวิทยาและโรงพยาบาลที่ต้องการใช้ยาตัวนี้เข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น
วิธีการรับประทานยาแบริแมค
รับประทานครั้งละ 1 ขวด หลังอาหาร 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น