ประวัติศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (AIMC) | ||
เมื่อปีพุธศักราช ๒๕๓๕ ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะดำรงตำแหน่งคณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เห็น ความสำคัญเรื่องการวินิจฉัยโรคชั้นสูง (Advanced Imaging) โดยใช้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัย ได้แก่เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MAGNETIC RESONANCE IMAGING : MRI) ซึ่งขณะนั้นจำกัดเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลภาครัฐยังไม่มีการให้ บริการ จึงทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากขาดโอกาส ในการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่องรวดเร็ว เพราะค่าตรวจมีราคาแพง และเครื่องมือมีจำนวนจำกัด ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในสิทธิของประชาชนในฐานะผู้ป่วย จึงได้มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ (ประธานศูนย์ไอแมคในปัจจุบัน) ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ราเมศร์ วัชรสินธุ์ (ประธานศูนย์ไอแมคในปี ๒๕๓๖ และลาออกจากราชการเมื่อปี ๒๕๔๗) เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ไอแมค ในชื่อเดิมว่า โครงการบริหารจัดการเครื่อง เอ็ม อาร์ ไอ เพื่อบริหารจัดการเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ที่นำมาใช้ตรวจวินิจฉัยโรค ในผู้ป่วยทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยที่มีกำลังทรัพย์ โดยให้เป็นองค์กรภายใต้การกำกับของรัฐ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีอิสระในการบริหารจัดการ ศูนย์ไอแมคจึงมีภารกิจให้บริการตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) แก่ผู้ป่วยทั่วประเทศทั้งในและนอกโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด เพื่อบริการให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) ได้อย่างรวดเร็ว และภายหลังได้มีการให้บริการตรวจ ซี ที (CT) ทั้งผู้ป่วยฉุกเฉิน เร่งด่วน ผู้ป่วยพบอุบัติการณ์โรคใหม่ หรือผู้ป่วยเรื้อรัง ให้ได้รับการตรวจและรักษาทันต่อการลุกลามของโรค และลดอัตราการครองเตียงในโรงพยาบาล ศูนย์ไอแมคเป็นหน่วยงานนำร่อง ของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี ด้านรังสีวินิจฉัย และการบริหารจัดการองค์กรเชิงรุกโดยเน้นเรื่องความคุ้มค่าของการใช้ ทรัพยากร
|
||
|
|
|
ศาสตราจารย์นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ท่านผู้หญิงวิริยา ชวกุล |
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ |