ขอบเขตการดำเนินงาน

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

    มุ่งมั่นพัฒนาด้านการสอนและการฝึกอบรมสาขาวิชาประสาทวิทยา การบริการด้านการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท โดยใช้ทักษะทางคลินิกร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนการวิจัยศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและการป้องกันโรคทางระบบประสาท เสริมสร้างสุขภาพประชาชนไทยให้ดียิ่งขึ้น

ขอบเขตการดำเนินงานของสาขาวิชา·      

  • งานการเรียนการสอน
  1. สอนนักศึกษาแพทย์รามาธิบดี
  2. ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อสอบวุฒิบัตรเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา
  3. ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ จิตเวชศาสตร์และเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่เลือกมาผ่านสาขาวิชา
  4. ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน จิตเวชศาสตร์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและอื่นที่เลือกมาอบรมเพิ่มเติม (วิชาเลือก)
  5. งานสอนอื่นๆที่ได้รับมอบหมายจากคณะฯหรือมหาวิทยาลัยมหิดล
  • งานวิจัย

​     งานวิจัยของสาขาวิชาในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการวิจัยทางคลินิก ในระยะหลังมีการศึกษาผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งการศึกษาโมเลกุลทางพันธุรรม (molecular genetics) สำหรับโรคที่ศึกษามีหลากหลายตามความสนใจและความเชี่ยวชาญของอาจารย์แพทย์ โดยโรคและหัตถการที่อาจารย์มีความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษได้แก่

  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อรรถสิทธิ์  เวชชาชีวะ
    • Demyelinating diseases โดยเฉพาะ multiple sclerosis
    • Myasthenia  gravis
    • Periodic paralysis 
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ  บุญเกิด
    • Peripheral neuropathy
    • Parastic diseases of the central nervous system โดยเฉพาะ gnathostomiasis และ angiostrongyliasis
    • Parkinson’s disease
    • Dementia
    • Clinical neurophysiology (EMG)
  • ศาสตราจารย์นายแพทย์ปรีดา  พัวประดิษฐ์
    • Tuberculous meningitis
    • Bacterial meningitis โดยเฉพาะจากเชื้อ streptococcus suis
  • ศาสตราจารย์แพทย์หญิงรวิพรรณ   วิทูรพณิชย์
    • Neuromuscular disorders  (peripheral neuropathy, myasthenia gravis, muscle disease)
    • Clinical neurophysiology (EMG)
  • ศาสตราจารย์แพทย์หญิงดิษยา  รัตนากร
    • Cerebrovascular disease
    • Neurosonology (carotid and vertebral duplex ultrasonography and transcranial Doppler ultrasonology)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุพจน์  ตุลยาเดชานนท์
    • Infection of the central nervous system โดยเฉพาะ cryptococcal meningitis และ HIV infection
    • Magnetic resonance spectroscopy
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์จรุงไทย  เดชเทวพร
    • Clinical neurophysiology (EMG)
    • Autoimmune neuromuscular disorders: Polymyositis and dermatomyositis, myasthenia gravis (MG), Lambert Eaton myasthenic syndrome (LEMS), chronic inflammatory demyelinating polyneuropathy (CIDP), multifocal motor neuropathy (MMN), Guillain Barre’s syndrome (GBS), neuromyotonia
    • Multiple sclerosis and neuromyelitis optica spectrum disorder
    • Neurology of autoimmune rheumatic disease
    • Paraneoplastic neurologic Syndrome
    • Motor neuron disease and Kennedy’s disease                                
  • ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ธีรธร  พูลเกษ
    • Neurogenetic diseases esp. spinocerebellar ataxias
    • Genetic study of Parkinsons disease
  • อาจารย์ นายแพทย์พิเชฐ เติมสารทรัพย์ 
    • Movement disorders
    • Parkinson disease and atypical parkinsonism
    • hyperkinetic movement disorders (dystonia, chorea, myoclonus, tics/Tourette syndrome)
    • phenomenology of movement disorders, botulinum toxin injection
    • deep brain stimulation
    • general neurology
  • งานบริการทางการแพทย์
  1. ให้บริการด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคทางระบบประสาทในหอผู้ป่วยอายุรกรรม
  2. ให้บริการด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยทางระบบประสาทหรือให้คำปรึกษาแก่แพทย์ในหอผู้ป่วยของภาควิชาอื่นๆ
  3. ให้บริการด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท ที่แผนกผู้ป่วยนอก
  4. ให้บริการการตรวจคลื่นสมอง (electroencephalography, EEG) สำหรับใช้ประกอบการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชัก
  5. ให้บริการการตรวจคลื่นสมองร่วมกับการถ่ายวีดีโอผู้ป่วยในเวลาเดียวกัน เพื่อดูอาการชักและคลื่นสมองพร้อมกัน (video-EEG monitoring) ในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีปัญหาด้านการรักษาและเตรียมผู้ป่วยเพื่อการรักษาด้วยการผ่าตัด (epilepsy surgery)
  6. ให้บริการการตรวจ polysomnogram ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนนอนกรน หรือสงสัยภาวะหยุดหายใจระหว่างนอน (sleep apnea)
  7. ให้บริการตรวจการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ (nerve conduction study (NCS) and electromyography (EMG)) แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบประสาทส่วนปลายและโรคกล้ามเนื้อ
  8. ให้บริการตรวจการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาทขนาดเล็กที่ผิวหนัง (quantitative sensory test, QST)
  9. ให้บริการตรวจการนำกระแสไฟฟ้าระหว่างรอยต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (repetitive nerve stimulation (RNS) and single fiber electromyography (SFEMG))
  10. ห้บริการตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาทตา (visual evoked potential, VEP) คลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาทการได้ยินและก้านสมอง (ฺbrainstem auditory evoked potential, BAEP) คลื่นไฟฟ้าของระบบประสาทรับความรู้สึก (sensory evoked potential, SEP) และคลื่นไฟฟ้าของระบบประสาทสั่งการ (motor evoked potential, MEP)
  11. ให้บริการการตรวจหลอดเลือดบริเวณคอและในสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  (carotid and vertebral duplex ultrasonography and trancranial Doppler ultrasonography)
  12. ให้บริการการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใน stroke unit

 

                                                                                                                                                                       กลับสู่หน้าหลัก