นิตยสารทุกฉบับ
รวมนิตยสาร
บทความประจำ
เลือกดูบทความจากทุกเล่ม
ค้นหาบทความ
ค้นหาจากหัวข้อ

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

Volume
ฉบับที่ 16 เดือน กันยายน 2557
Column
Varieties Corner
Writer Name
อมรรัตน์ ศุภมาศ พยาบาลประจำโครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต โครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

(ผู้ที่มีภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินลมหายใจ)

สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นทางเดินลมหายใจเกิดขึ้นบ่อย ส่วนมากเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วทําให้ผู้ประสบเหตุต้องถึงแก่ชีวิต อย่างที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ เช่น กระดุม เหรียญ น็อต ลูกอม  ติดคอ หรือในผู้ใหญ่ เช่น อาหารชิ้นใหญ่ๆ ติดคอ

เมื่อท่านพบผู้มีอาการของติดคอ ก่อนอื่นต้องแยกผู้ที่มีอาการของติดคอออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

ชนิด อาการการ ช่วยเหลือ

1. ของติดคอชนิดไม่รุนแรง

 

 

• หายใจได้อยู่

• ไอได้อยู่

• พูด หรือออกเสียงได้อยู่

•  ถ้ายังหายใจเองได้อยู่ ให้ผู้ที่มีของติดคอพยายามไอออกด้วยตัวเอง โดยผู้ช่วยเหลือยืนอยู่ใกล้ๆ

•   โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่หมายเลขฉุกเฉิน 1669 หรือนําผู้ประสบเหตุส่งโรงพยาบาล

2. ของติดคอชนิดรุนแรง

 

 

 

 

 

• หายใจไม่ได้ หายใจลําบาก

• ไอไม่ได้

• พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้

• หน้าเริ่มซีด เขียว

•  ใช้มือกุมลําคอตัวเอง (เป็นลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันทั่วโลกของผู้มีของติดคอ)

•  ถามผู้ประสบเหตุว่า ของติดคอใช่หรือไม่ หากผู้ประสบเหตุพยักหน้า เนื่องจากพูดไม่ได้  
พูดไม่ออก นั่นแสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลือ

 

 

 

วิธีการช่วยเหลือแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอายุ คือ

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”          วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือเมื่อมีของติดคอชนิดรุนแรงในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี 

  1. หาที่นั่ง หรือนั่งคุกเข่า จับเด็กวางนอนคว่ำไว้บนขา (จับเด็กให้มั่นคงระวังเด็กหล่น) จัดให้ศีรษะเด็กให้ต่ำกว่าลําตัว มือที่จับเด็กให้จับที่บริเวณขากรรไกรของเด็ก และประคองคอเด็กไปด้วย (ระวังการจับเด็ก จะต้องไม่เป็นการบีบคอเด็ก)
  2. ใช้มือข้างที่ถนัดตบหลังเด็ก บริเวณกึ่งกลางสะบักด้วยส้นมืออย่างแรง 5 ครั้ง
วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

       3.  กลับตัวเด็กมานอนหงายโดยเจ็บเด็กให้มั่นคงที่บริเวณท้ายทอยโดยการประคองคอให้ดี

       4.  ใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้าง กดลงบนกึ่งกลางหน้าอกของเด็ก โดยต่ำกว่าระดับหัวนมเด็กเล็กน้อย กดกระแทกอย่างแรง 5 ครั้ง

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

ทําสลับไปมาระหว่างการตบหลัง 5 ครั้ง และการกด กระแทกหน้าอก 5 ครั้งไปเรื่อยๆ จนเด็กร้องออกมาได้เอง หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา

ห้ามทําการล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมที่ติดออกมาหากยังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมนั้น เพราะจะทําให้สิ่งแปลกปลอมหลุดลงลึกไปอีกหรือทําให้เด็กได้รับบาดเจ็บมากขึ้น

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือเมื่อมีของติดคอชนิดรุนแรงในคนที่อายุมากกว่า 1 ปี

ภาพการใช้มือกุมลําคอตัวเอง (เป็นลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันทั่วโลกของผู้มีของติดคอ) เมื่อผู้ช่วยเหลือถามผู้ประสบเหตุว่าของติดคอใช่หรือไม่ หากผู้ประสบเหตุเพียงพยักหน้า เนื่องจากพูดไม่ได้ พูดไม่ออก นั่นแสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลื

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

โดยการเข้าไปด้านหลังผู้ประสบเหตุ อาจจะใช้วิธีคุกเข่าในการช่วยเหลือเด็ก หรือการยืนสําหรับการช่วยเหลือผู้ใหญ่ โอบรอบใต้รักแร้แล้วรัดกระตุกที่หน้าท้อง โดยมือข้างหนึ่งกําแล้ววางไว้เหนือบริเวณสะดือแต่ใต้ลิ้นปี่ มืออีกข้างโอบกําาปั้นไว้ วางกําปั้นด้านนิ้วหัวแม่มือเข้าไปด้านในหน้าท้องผู้ประสบเหตุ แล้วให้รัดกระตุกขึ้นและเข้าพร้อมๆ กันแรงๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือจนกว่าผู้ประสบเหตุจะพูดหรือร้องออกมาได้

หลังการช่วยเหลือสําเร็จทุกครั้ง ควรจะนําผู้ประสบเหตุไปตรวจเช็คร่างกายว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการช่วยเหลือหรือไม่

หากขณะที่ทําการช่วยเหลืออยู่ ผู้ที่ของติดคอหมดสติแน่นิ่งไป ให้รีบทําการช่วยฟื้นชีวิตทันทีตลอดเวลาให้รีบนําส่งโรงพยาบาล  หรือให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจาก 1669 แล้วทําการช่วยฟื้นชีวิตระหว่างรอความช่วยเหลือ

เอกสารอ้างอิง  BLS for Healthcare Providers: Student Manual.
American Heart Association, 2011.อายุมากกว่า1 ปี

ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรูปแบบ PDF
เนื้อหาภายในฉบับที่ 16