การรักษาปัญหาของสีผิวผิดปกติบนใบหน้า

Treatment of facial pigmentary disorder
นพ.สมศักดิ์ ตันรัตนากร
 
          ปัญหาของสีผิวที่ผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนใบหน้า เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ผิวหนังบ่อย ๆ แม้ว่าความผิดปกติของสีผิวบนใบหน้าจะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ มีรอยโรคขาวกว่าผิวปกติ เช่น ด่างขาว (vitiligo) กลากน้ำนม (Pityriasis alba) เป็นต้น มีรอยโรคที่แดงผิดปกติ เช่น ปานแดง (port wine stain) หรือเนื้องอกของเส้นเลือด (Hemangioma) เป็นต้น สำหรับปัญหาของรอยโรคที่มีสีดำหรือคล้ำกว่าผิวปกติ เป็นปัญหาของสีผิวผิดปกติที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยที่สุดในบ้านเรา รอยโรคที่มีสีดำผิดปกติอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด (congenital) หรือเป็นภายหลัง (acquired) ก็ได้
          เราสามารถแบ่งรอยโรคที่มีสีดำผิดปกติตามความลึกและเม็ดสีได้ดังนี้
 
ตาราง 1

Level of pigmentation

Clinical features/Histogenesis

Circumscribed/limited 

Diffuse/widespread

Dermal

 

Melanocytosis

(melanocyte เพิ่ม)

-Nevus of Ota

-Blue nevus

-Aberrant Mongolian spot

 

 

Melanotic

(melanin เพิ่ม)

 

-Periorbital hyperpigmentation

-fixed drug eruption

-erythema dyschromium perstans

-chronic nutritional deficiency

 

 

Nonmelanotic/

nonmelanocytotic

 

-Tattoos

-ochronosis

-exogenous; drugs (eg. mercury-containing cosmetics)

 

-Drugs (eg., amiodarone, antimalarials)

-heavy metals (eg. bismuth, chrysiasis, argyria)

-hemosiderin

-alkaptonuria

Epidermal

Melanocytosis

(melanocyte เพิ่ม)

-Lentigines / lentigo-based syndromes (eg., centrofacial, Peutz–Jeghers)

-lentigo senilis

-lentigo maligna

-Lentigines / lentigo-based syndromes [LEOPARD syndrome, Carney’s complex (NAME/LAMB syndrome)]

-dysplastic nevus syndrome

 

Melanosis

(melanin เพิ่ม)

 

-Melasma (epidermal type)

-Riehl’s melanosis;

-erythromelanosis

-follicularis faciei et colli

-postinflammatory

hyperpigmentation; drugs (e.g., phenytoin, oral contraceptives, estrogens)

-freckles (ephelides)

-Becker’s nevus

-Porphyria cutanea tarda

-Addison’s disease

-systemic diseases (hyperthyroidism, renal insufficiency, biliary cirrhosis);

-hemochromatosis

-POEMS syndrome

-urticaria pigmentosa

 
 
Nevus of Ota (Oculodermal Melanocytosis ,Nevus fuscocaeruleus ophthalmomaxillaris)
          รายงานครั้งแรกโดย Dr. Ota ในปี 1937 ในญี่ปุ่นพบ 0.2–0.8% ของประชากร ส่วนพบในคนเอเชียเช่น จีน เกาหลี ไทย พบได้บ่อยเช่นกัน
Nevus of Ota เป็น ill defined mottled grayed to bluish patch ที่ cheek ส่วนใหญ่เป็นข้างเดียว (90%) ที่แก้ม หน้าผาก รอบตา ที่ first, second branch trigerminal nerve
พบ Ocular involvement บ่อยถึง 60% (หากเป็นที่ ocular อย่างเดียวจะเรียก Ocular Melanocytosis) ยังพบ blue to blue-gray discoloration ของ mucosal surfaces เช่น ปาก จมูก ได้ราว 60 % เป็นตั้งแต่เกิด ที่เหลือเริ่มเป็นตอนเข้าวัยรุ่น พบในหญิงมากกว่าชาย ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1
          Nevus of Ota จะไม่จางหายไปเอง และมักจะเข้มขึ้นเมื่อย่างเข้าวัยรุ่น จึงต้องทำ การรักษาด้วย Q-switched laser (Ruby 694[1-7], Alexandrite 755[8, 9], Nd-YAG 1064) ได้ผลดีมาก หายมากกว่า 95 % ขึ้นไป หลังทำ laser 6-8 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 6-12 สัปดาห์ laser แต่ละชนิดให้ผลในการรักษาไม่ต่างกัน ยกเว้น Q-switched Ruby laser, Q-switched Alexandrite laser ซึ่งมักจะทำให้เกิด hypopigmentation ในคนไข้ผิวคล้ำได้บ่อย จึงควรเลือก Q-switched Nd:YAG (1064) laser จะมีปัญหาน้อยกว่า ส่วนการรักษา nevus of Ota ด้วยวิธีอื่นๆ เช่น pulse dye laser[10], pigmented lesion dye laser ,liquid nitrogen cryotherapy[11, 12] มักมีผลข้างเคียงมาก ปัจจุบันจึงไม่นำมาใช้ในการรักษาอีก
 
Nevus of Hori (Nevus fuscocoeruleus zygomaticus, Acquired bilateral nevus of Ota-like macules)
          ในปี 1984 Dr. Hori รายงานคนไข้หญิงชาวญี่ปุ่นวัยกลางคน มาด้วยผื่นสีน้ำตาลเทาที่โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง เริ่มเป็นเมื่ออายุ 30 ปีเศษ ซึ่งแตกต่างกับ nevus of Ota (ดูตารางที่ 2)
อุบัติการณ์ยังไม่มีการสำรวจ แต่พบได้บ่อยเช่นกัน
Nevus of Hori เป็น ill defined grayed to brownish macules at both zygomatic area เกือบทุกรายเป็นทั้งสองข้างที่แก้ม ในรายที่อายุมากขึ้น อาจพบที่หน้าผาก ขมับและจมูกได้ ไม่พบที่ ocular หรือ mucous membrane เลย ราว 94 % เป็นตั้งแต่ย่างเข้าวัยรุ่น พบในหญิงมากกว่าชาย ในอัตราส่วน 21 ต่อ 1
ลักษณะของ nevus of Hori จะเป็นจุด ๆ คล้ายกระ (freckle) บางคนจึงเรียกว่า กระลึก
          Nevus of Hori จะไม่จางหายไปเอง และมักจะเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แถมยังเป็นเพิ่มขึ้นที่ขมับและหน้าผาก คนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาแบบฝ้ามาบ้างแล้ว แต่ไม่เคยดีขึ้นเลย
การรักษา ผู้เขียน[13] รายงานการใช้ Q-switched Nd:YAG laser รักษา nevus of Hori  ส่วนใหญ่ได้ผลดี จางลง 70-80 % ขึ้นไป หลังทำ laser 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2-6 เดือน มักจะมี transient hyperpigmentation โดยเฉพาะในคนไข้ผิวคล้ำได้บ่อยถึง 70-80 % ในช่วง 1-2 เดือนแรก แต่จะจางลงหลังได้ bleaching หรือ whitening agent นอกจากนี้ยังมีรายงานอื่นๆของการใช้ Q-switched Nd:YAG laser [14, 15]ในการรักษา nevus of Hori ด้วย Q-switched Alexandrite laser[16] ,Q-switched Ruby laser[17, 18]และใช้ร่วมกับ CO2 laser[19] , Dermabrasion[20] และ Intense pulse light

ตารางที่ 2  Features Differentiating Between Ota’s Nevus and Hori’s Nevus [13]

 

Ota

Hori

Name

-Nevus fuscocoeruleus ophthalmomaxillaris

-Oculodermal melanocytosis

-Nevus fuscocoeruleus zygomaticus

-Acquired bilateral nevus of Ota-like macules

Onset

Congenital:60% at birth, 40% at puberty

Acquired: 94% after 15 years

Sex ratio (F:M)

4:1

21:1

Familial incidence 

1%

18%

Distribution

Unilateral (90%)

Symmetrical, bilateral

Location (main)

Trigeminal nerve branch I,II

Zygomatic areas

Color

Blue, gray, brownish

Gray to brownish

Shape

Confluent patches

Scattered speckles

Mucous membrane

involvement Ocular (60–70%), palate (10–18%)

None

Associated disease

Glucoma 10.3%, uveitis 2.6%

None

Histopathology

Dermal melanocyte in upper to deep dermis

Dermal melanocyte in upper dermis

Electron microscopy

Melanocytes contain many singly dispersed melanosomes in stage IV of melanization

Melanocytes contain many singly dispersed melanosomes in stage II–IV of melanization

Trigger factor

Menstruation, stress, trauma

Hormonal, sunlight, trauma

 

Mongolian Spots (Congenital Dermal Melanocytosis)

          Mongolian Spots เป็น ill-defined homegenous grayed to bluish patch ที่ lumbosacral พบในคนเอเชียและนิโกรได้บ่อยถึง 96 % ใน Caucasians และ Hispanic พบ 9.5, 46% ตามลำดับ ส่วนใหญ่มักจะจางหายไปเองเมื่ออายุ 4 ปี พวกที่ไม่จางเรียก persistent Mongolian Spots (พบในคนญี่ปุ่นราว 3-4 %) หากพบที่อื่นเช่น หน้าหรือแขน เรียก Aberrant Mongolian Spots ถ้าไม่จางเองเรียก Persistent aberrant Mongolian Spots จะเป็น "macular type" blue nevi ซึ่งถ้าเป็นที่หน้าจะดูคล้าย nevus of Ota
          ส่วนใหญ่ของ Mongolian Spots มักจะจางหายไปเอง จึงไม่ต้องทำอะไร ยกเว้น Persistent aberrant Mongolian Spots หรือ blue nevi ซึ่งจะไม่จางเอง สามารถใช้ Q-switched laser รักษาได้
 
กระ Ephelides (freckles)
เป็นผื่นสีน้ำตาลจาง ขอบเขตชัด ขนาดใหญ่กว่า 5 mm ที่ sun-exposed areas ที่ face, dorsum of the hands, and forearms มักพบในคนขาวมากกว่าคนผิวคล้ำ การตากแดด จะทำให้กระมีสีเข้มขึ้น และเป็นเพิ่มขึ้น
Histologic Findings: Ephelides have an increase in pigment content in the basal cell layer with neither elongation of rete ridges nor increase in the number of melanocytes.
 
กระ Lentigo simplex (simple lentigo, juvenile lentigo)
เป็น most common form ของ lentigo
ไม่ถูก induced ด้วย sun exposure และไม่ associated กับ systemic disease
ผื่นมีลักษณะ round หรือ oval asymptomatic macules 3-15 mm in diameter, pigmentation is evenly distributed - brown to black มีจำนวนไม่มาก อาจพบที่ mucous membranes ได้ มักพบได้ตั้งแต่เด็กๆ
Histologic Findings: Lentigo simplex has a slight-to-moderate elongation of the rete ridges with melanocyte proliferation in the basal layer, increased melanin in both the melanocytes and the basal keratinocytes, and the presence of melanophages in the upper dermis.
 
กระแดด Solar lentigo (actinic lentigo, senile lentigo, sun spot, liver spot)
เป็น most common benign solar-induced lesion เกิดที่ sun exposure area เช่น face, arms, dorsum of hands, และ upper trunk
ขนาดเริ่มเป็น เล็กกว่า 5 mm สีน้ำตาลจาง ต่อมาสีจะเข้มขึ้น กระแดดมักจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยจุดเล็กๆ     อาจมารวมเป็นผื่นใหญ่ได้
Histologic Findings: Solar lentigines have elongated rete ridges and a proliferation of pigmented basaloid cells, which form buds and strands.
 
นอกจากนี้ยังมี variant อื่นๆ เช่น
  • Oral and labial melanotic macules
  • Vulvar and penile lentigo
  • Lentigines profusa (generalized lentigines)
  • Agminated (segmental, unilateral, partial unilateral) lentiginosis
  • Lentigines/lentigo-based syndromes เช่น LEOPARD syndrome(multiple lentigines syndrome), Carney’s complex (NAME/LAMB syndrome) เป็นต้น
 
Treatment
          เดิมการใช้ Cryosurgery, CO2 laser และการจี้ TCA สามารถใช้ในการรักษา  lentigene หรือ freckle ได้  แต่มีปํญหาเรื่องผลแทรกซ้อน ระยะหล้งจึงนิยมใช้ selective laser เช่น การรักษาด้วย Q-switched laser (Nd-YAG 532, Ruby 694, Alexandrite 755) ในการรักษาแทน
 
Melasma (ฝ้า)
เป็น acquired hypermelanosis บริเวณ sun-exposed areas มักจะกระจายเป็นเหมือนกันทั้งสองข้างของใบหน้า ซึ่งจะเป็น confluent หรือ punctate ก็ได้ บริเวณแก้ม หน้าผาก จมูกและคาง “Melas” มาจากภาษากรีกแปลว่าดำ ส่วนคำว่า Chloasma มาจากภาษากรีก “Chloazein” แปลว่า “to be green” มักใช้เรียกฝ้าในขณะตั้งครรภ์
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
  1. ความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมน เนื่องจากส่วนใหญ่ (90%) ของฝ้าพบในเพศหญิง รอยฝ้าจะพบบ่อยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศ ในระหว่างตั้งครรภ์หรือรับประทานยาคุมกำเนิด และยังมีรายงานพบรอยฝ้าในผู้ป่วยซึ่งเป็นเนื้องอกของรังไข่ จากการศึกษาหาระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยฝ้าพบว่าระดับ melanocytic stimulating hormone, estrogenและ progesterone จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ และพบอุบัติการของฝ้าในหญิงรับประทานยาคุมกำเนิดคือแบบ sequential หรือ combine pills ไม่ต่างกันจึงบอกไม่ได้ว่าฮอร์โมนใดทำให้เกิดฝ้า
  2. กรรมพันธุ์ พบว่ามากกว่า 30 % มีประวัติครอบครัว และเป็นมากกว่าในบางเชื้อชาติ
  3. ที่สำคัญคือ แสงแดด Ultraviolet ในแสงแดดทำให้เกิด peroxidation ของ lipids ใน cellular membranes ทำให้เกิด free radicals ซึงไปกระตุ้น melanocytes ให้สร้าง melanin มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ultraviolet-B (290-320 nm) หรือ ultraviolet-A และ visible radiation (320-700 nm) สามารถกระตุ้น melanocytes ได้ทั้งสิ้น แต่ UVB มีพลังงานสูงจึงทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายสุด
  4. จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอาง (pigmentary dermatitis) เช่น กลิ่นหอมของ benzyl salicylate, cinnamic alcohol, isoeuganol ฯลฯ และส่วนผสมอื่น ๆ เช่น  สี brilliant lake red R และ Sudan III ทำให้เกิดการแพ้แบบรอยฝ้าได้ ยังอาจพบว่า ยา dilantin อาจทำให้เกิดผื่นดำคล้ายรอยฝ้า ยังพบรอยฝ้าร่วมกับในผู่ป่วยโรคตับแข็ง โรค thyroid และภาวะขาดไวตามินบี 12
 
อาการแสดง
รอยฝ้าจะเห็นเป็นปื้นสีน้ำตาลหรือเทา เกิดที่แก้มหน้าผาก จมูกและคาง มักจะเป็นเท่า ๆ กันทั้ง 2 ข้าง ผิวหนังบริเวณที่จะเป็นปกติไม่มีการอักเสบ ไม่มีขุย มักพบในผู้หญิงจากลักษณะการกระจายของฝ้า อาจจะแบ่งรอยฝ้าได้เป็น 3 แบบ คือ
  1. centrofacial pattern เป็นรอยฝ้าบริเวณแก้ม หน้าผาก หนวด จมูก และคาง พบประมาณร้อยละ 63 ของผู้ป่วยฝ้า
  2. malar pattern เป็นรอยฝ้าที่แก้มและจมูก พบประมาณร้อยละ 21 จากผู้ป่วยฝ้า
  3. mandibular pattern เป็นรอยฝ้าบริเวณด้านข้างของคาง ขากรรไกรล่าง พบประมาณร้อยละ 16
จากการศึกษาฝ้าทั้ง 3 แบบ พบว่าลักษณะการกระจายของผื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอายุผู้ป่วย ลักษณะผิว การกินยาคุมหรือการตั้งครรภ์
 
การเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยา
ฝ้าอาจจะแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยาได้เป็น 2 แบบ คือ
  1. epidermal type พบว่ามี melanin มาขึ้นที่ basal และ supra basal layers แต่บางครั้งอาจจะพบ melanim สะสมถึงขั้น prickle layers และมีเพิ่มมากขึ้นในชั้น stratum corneum
  2. dermal type พบว่ามี melanophage อยู่รอบเส้นเลือดใน superficial และ deep dermis
 
Treatment
          Melasma เป็น functional, dynamic hyperpigmentation มี active melanocyte ที่แบ่งตัวและมีการสร้าง epidermal melamin เพิ่มขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยมากระตุ้น การรักษา melasma จึงเป็นการ block abnormal active melanocyte ด้วยยาก่อนเสมอ ในกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล จึงจะพิจารณาการรักษา melasma ด้วยศัลยกรรมหรือ laser ต่อไปเช่น
  1. การใช้  Erbium:YAG (2940 nm) laser[21]  resurface refractory melasma 10 ราย ทุกรายมี postinflammatory hyperpigmentation หลังทำ laser ใน 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน แต่เมื่อติดตามไปผลการรักษาที่ 6 เดือนพบว่า MASI score ลดลง จากประสบการณ์ในการรักษา melasma ด้วย Erbium:YAG laser resurfacing ในรามาฯ บางรายได้ผลดี แต่บางรายกลับมาเป็นใหม่อีก  ส่วนใหญ่มักมี PIH ในช่วงเดือนแรกๆ
  2. มีรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับการใช้ Q-switched laser ในการรักษา melasma ส่วนใหญ่จะไม่ได้ผลหรือผลไม่แน่นอน เช่น Kopera [22], Tse Y. [23], Taylor CR. [24] สำหรับประสบการณ์ในการรักษา mixed หรือ deep type melasma ด้วย Q-switched YAG (532) laser ในรามาฯ ปรากฏว่า ผลไม่ค่อยดี มักเริ่มมี PIH ใน 2-3 สัปดาห์ แต่จะจางลงในเวลา 3-6 เดือนทั้งนี้ต้องให้ bleaching agent ร่วมด้วย
  3. มีการใช้ Combined laser เช่น Ultrapulsed CO2 + QS Alexandrite โดย Nouri [25] ผลการรักษาไม่ค่อยดี มักมี peripheral hyperpigmentation และ slight hypopigmentation หลังการรักษาที่ 6 เดือน สำหรับประสบการณ์ในการรักษา refractory melasma ด้วย Ultrapulsed CO2 + QS Alexandrite เปรียบเทียบกับ QS Alexandrite [26] ในคนไข้ 6 รายในรามาฯ  ปรากฏว่า Combined laser ดีกว่า QS Alexandrite laser แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่อง transient PIH เหมือนกัน
  4. ส่วนการใช้ dermabrasion ในการรักษา melasma  ในคนไทย 410 ราย ได้ผลดีถึง 97 % หลังการรักษาที่ 6 เดือน แต่ในระหว่างนั้นมี PIH  40 %, erythema 35%
  5. Moreno et al. [27] ใช้ Intense pulse light ในการรักษา epidermal type melasma 2 รายได้ผลดี แต่ไม่ได้ใน mixed type melasma และมี PIH ด้วย
 
 
Riehl’s melanosis
Riehl’s melanosis เป็น acquired pigmentary disorder มีลักษณะเป็น brownish-grey, reticular pigmentation บนใบหน้า (ขมับและหน้าผาก) มีรายงานครั้งแรกตั้งแต่ปี 1917 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สมัยนั้นเชื่อว่าเกิดจากการแพ้สารเคมีพวก tar derivatives ในปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยจากญี่ปุ่นมาก มักพบในหญิงวัยกลางคน เชื่อว่าเกิดจากการแพ้สารเคมีในเครื่องสำอางที่เป็น coal tar derived pigments เช่น drugs and cosmetics (D&C) red 31 (brilliant lake red), D&C red 17, and lithoe red BA CA เป็นต้น จึงมีแพทย์บางท่านเรียกภาวะนี้ว่า  pigmented cosmetic contact dermatitis, melanodermatitis toxica หรือ female facial melanosis บางท่านก็เชื่อว่าเกิดจาก irritations ของสารเคมีในเครื่องสำอาง UV light หรือการถูผิวหนังขณะทาเครื่องสำอาง
 
Photocontact dermatitis
เป็น hyperpigmentation ที่เกิดจากการสัมผัส photosensitizing compounds แล้วตากแดดทำให้เกิด phototoxic reactions สาร photosensitizing ได้แก่ psoralen-containing vegetables, fruits, plants, cosmetics และ coal tars
หากเกิดจากพืช จะเรียก phytophotodermatitis พืช ผัก ผลไม้เหล่านี้ ได้แก่ limes, lemons, figs, parsley (Cymopteru watsonii), carrot greens(Daucus carota), parsnips (Pastinaca sativa), celery(Apium graveolens), ferns, clover เป็นต้น การทา psoralen-containing perfumes หรือ colognes แล้วตากแดดทำให้เกิด photodermatoses ได้เช่น Berloque dermatitis ซึ่งส่วนมากอาจเป็นแค่ hyperpigmentation ในขณะที่บางรายจะมี erythema และ bullous eruption นำมาก่อนได้
 
Becker’s  Nevus
Background
          ในปี 1948 Dr. S William Becker รายงานผู้ป่วยชายหนุ่ม 2 รายที่มาด้วย acquired melanosis  และ hypertrichosis ข้างเดียวกัน
Pathophisiology
          ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เนื่องจากมักเป็นในผู้ชายเริ่มเป็นตอนย่างเข้าวัยรุ่น มีขนงอกมากขึ้น (Hypertrichosis)  และมี acne  ขั้นในพื้นด้วย  จึงคิดว่า androgen  น่าจะเป็นส่วนทำให้เกิดโรคนี้
Epidermology
          Prevalance     0.52 % (ในชาย อายุ 17-26 ปี)
          ชาย : หญิง     ประมาณ 5:1
          age of onset 10-15  ( ช่วงเข้าสู่วัยรุ่น )  แต่มีรายงานว่าเป็นตั้งแต่เกิด  หรือเป็นในครอบครัวได้
Clinical
          ผื่นมีลักษณะ asymptomatic irregular well-defined border, tan to brown patch ส่วนใหญ่เป็นที่ scapular, shoulder, upper chest บางรายอาจเป็นที่คอ, หน้า, แขน , ขา ที่คอ  ก็ได้  ระยะเริ่มแรกก็เป็นในช่วงย่างเข้าวัยรุ่น  เป็นรอยที่สีน้ำตาลจางๆ  แล้วค่อยๆเข้มขึ้น  และขยายออกตามตัว  จนกินบริเวณกว้าง  ตรงกลางผื่นมักจะหนาขึ้น และเริ่มมีขน (terminal  hair) ขึ้น เป็น hypertrichosis   แต่บางรายอาจจะไม่มีขนก็ได้ และอาจมีสิว (acneiform eruption) เกิดเป็นผื่นน้ำตาลอาจได้
Histopathology
          Epidermis show mild acanthosis and hyperkeratosis with regular elongation of rete ridges.
Associated finding
          อาจพบ Smooth muscle harmatoma ได้บ่อย ส่วนที่มีรายงานได้แก่ unilateral pectoris major aplasia, breast hypoplasia   unilateral or ipsilateral pectoralis major aplasia, ipsilateral limb shortening, ipsilateral foot enlargement, spina bifida, scoliosis, pectus carinatum, localized lipoatrophy, congenital adrenal hyperplasia, polythelia, และ accessory scrotum เป็นต้น
Treatment
          ปัญหาของ Becker’s nevus มักเป็น Cosmetic จาก hyperpigmentation และ hypertrichosis มีรายงานการใช้  Q-Switched Ruby Laser, Long pulse Ruby laser ในการรักษา  hyperpigmentation  อย่างไรก็ตาม Pigment Laser นี้สามารถทำลายได้เฉพาะทาง melanocyte  ที่อยู่ตื้นๆ เท่านั้น  ส่วน melanocyte ที่อยู่ลึก หรือที่ adnexal melanocyte  จะไม่ถูกทำลาย  จึงพบว่าหลังทำการรักษาด้าย Laser มักมี repigmentation ได้บ่อย
สำหรับผู้เขียนได้มีประสบการณ์ในการรักษา Becker’s nevus ด้วย Q-Switched Nd:YAG Laser  ประมาณ 70 รายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา   โดย  Nd:YAG 532 nm ให้ผลดีกว่า  Nd:YAG 1064 nm แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะได้เพียง mild  to moderated response หลังการรักษา 2-10 ครั้ง ในขณะที่ผลแทรกซ้อนมีทั้ง Hyperpigmentation และ  Hypopigmentation  บางรายอาจมี textural change ด้วย มีรายการใช้ Q-Switched ruby Laser [28] แต่ผลไม่ดี มี reactive hyperpigmentation หลังทำ laser ส่วนการใช้ Intense pulse light ก็ไม่ได้ผลเช่นกัน
 
 
 
Reference
1. Watanabe, S. and H. Takahashi, Treatment of nevus of Ota with the Q-switched ruby laser. N Engl J Med, 1994. 331(26): p. 1745-50.
2. Taylor, C.R., et al., Treatment of nevus of Ota by Q-switched ruby laser. J Am Acad Dermatol, 1994. 30(5 Pt 1): p. 743-51.
3. Shimbashi, T., H. Hyakusoku, and M. Okinaga, Treatment of nevus of Ota by Q-switched ruby laser. Aesthetic Plast Surg, 1997. 21(2): p. 118-21.
4. Ogata, H., Evaluation of the effect of Q-switched ruby and Q-switched Nd-YAG laser irradiation on melanosomes in dermal melanocytosis. Keio J Med, 1997. 46(4): p. 188-95.
5. Goldberg, D.J. and S.G. Nychay, Q-switched ruby laser treatment of nevus of Ota. J Dermatol Surg Oncol, 1992. 18(9): p. 817-21.
6. Geronemus, R.G., Q-switched ruby laser therapy of nevus of Ota. Arch Dermatol, 1992. 128(12): p. 1618-22.
7. Chang, C.J., J.S. Nelson, and B.M. Achauer, Q-switched ruby laser treatment of oculodermal melanosis (nevus of Ota). Plast Reconstr Surg, 1996. 98(5): p. 784-90.
8. Kang, W., E. Lee, and G.S. Choi, Treatment of Ota's nevus by Q-switched alexandrite laser : therapeutic outcome in relation to clinical and histopathological findings. Eur J Dermatol, 1999. 9(8): p. 639-43.
9. Alster, T.S. and C.M. Williams, Treatment of nevus of Ota by the Q-switched alexandrite laser. Dermatol Surg, 1995. 21(7): p. 592-6.
10. Mixter, R.C., et al., Treatment of nevus of Ota with the Candela PLDL and PLTL lasers [letter; comment]. Plast Reconstr Surg, 1996. 98(6): p. 1112-3.
11. Hosaka, Y., et al., Treatment of nevus Ota by liquid nitrogen cryotherapy. Plast Reconstr Surg, 1995. 95(4): p. 703-11.
12. Radmanesh, M., Naevus of Ota treatment with cryotherapy. J Dermatolog Treat, 2001. 12(4): p. 205-9.
13. Polnikorn, N., S. Tanrattanakorn, and D.J. Goldberg, Treatment of Hori's nevus with the Q-switched Nd:YAG laser. Dermatol Surg, 2000. 26(5): p. 477-80.
14. Suh, D.H., K.H. Han, and J.H. Chung, Clinical use of the Q-switched Nd:YAG laser for the treatment of acquired bilateral nevus of Ota-like macules (ABNOMs) in Koreans. J Dermatolog Treat, 2001. 12(3): p. 163-6.
15. Kunachak, S. and P. Leelaudomlipi, Q-switched Nd:YAG laser treatment for acquired bilateral nevus of ota-like maculae: a long-term follow-up. Lasers Surg Med, 2000. 26(4): p. 376-9.
16. Lam, A.Y., et al., A retrospective study on the efficacy and complications of Q-switched alexandrite laser in the treatment of acquired bilateral nevus of Ota-like macules. Dermatol Surg, 2001. 27(11): p. 937-41; discussion 941-2.
17. Kunachak, S., P. Leelaudomlipi, and V. Sirikulchayanonta, Q-Switched ruby laser therapy of acquired bilateral nevus of Ota-like macules. Dermatol Surg, 1999. 25(12): p. 938-41.
18. Momosawa, A., et al., Combined therapy using Q-switched ruby laser and bleaching treatment with tretinoin and hydroquinone for acquired dermal melanocytosis. Dermatol Surg, 2003. 29(10): p. 1001-7.
19. Manuskiatti, W., et al., Treatment of acquired bilateral nevus of Ota-like macules (Hori's nevus) using a combination of scanned carbon dioxide laser followed by Q-switched ruby laser. J Am Acad Dermatol, 2003. 48(4): p. 584-91.
20. Kunachak, S., et al., Dermabrasion is an effective treatment for acquired bilateral nevus of Ota-like macules. Dermatol Surg, 1996. 22(6): p. 559-62.
21. Manaloto, R.M. and T. Alster, Erbium:YAG laser resurfacing for refractory melasma. Dermatol Surg, 1999. 25(2): p. 121-3.
22. Kopera, D. and U. Hohenleutner, Ruby laser treatment of melasma and postinflammatory hyperpigmentation. Dermatol Surg, 1995. 21(11): p. 994.
23. Tse, Y., et al., The removal of cutaneous pigmented lesions with the Q-switched ruby laser and the Q-switched neodymium: yttrium-aluminum-garnet laser. A comparative study. J Dermatol Surg Oncol, 1994. 20(12): p. 795-800.
24. Taylor, C.R. and R.R. Anderson, Ineffective treatment of refractory melasma and postinflammatory hyperpigmentation by Q-switched ruby laser. J Dermatol Surg Oncol, 1994. 20(9): p. 592-7.
25. Nouri, K., et al., Combination treatment of melasma with pulsed CO2 laser followed by Q-switched alexandrite laser: a pilot study. Dermatol Surg, 1999. 25(6): p. 494-7.
26. Angsuwarangsee, S. and N. Polnikorn, Combined ultrapulse CO2 laser and Q-switched alexandrite laser compared with Q-switched alexandrite laser alone for refractory melasma: split-face design. Dermatol Surg, 2003. 29(1): p. 59-64.
27. Moreno Arias, G.A. and J. Ferrando, Intense pulsed light for melanocytic lesions. Dermatol Surg, 2001. 27(4): p. 397-400.
28. Kopera, D., U. Hohenleutner, and M. Landthaler, Quality-switched ruby laser treatment of solar lentigines and Becker's nevus: a histopathological and immunohistochemical study. Dermatology, 1997. 194(4): p. 338-43.