บทความรามา ม.ค._๑๗๑๒๒๗_0001
หน้าแรก
อันตรายของเชื้อไวรัสซิก้า รุนแรงถึงขั้นพิการ
อันตรายของเชื้อไวรัสซิก้า รุนแรงถึงขั้นพิการ

เชื้อไวรัสซิก้าที่ระบาดอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยปกติแล้วเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงและอันตรายน้อยกว่าไข้เลือดออก แต่พบว่าหากติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่เกิดมามีภาวะพิการได้ ถือเป็นความอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

ที่ผ่านมาในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสซิก้าภายในประเทศบราซิล พบว่าเด็กทารกที่เกิดมาในช่วงระยะเวลานั้นมีภาวะสมองพิการจำนวนมาก จึงมีการตั้งข้อสงสัยว่าเชื้อไวรัสซิก้าอาจมีส่วนส่งผลให้เด็กที่เกิดมามีภาวะพิการทางสมอง รวมถึงมีขนาดของศีรษะที่เล็กลง และจากภาพถ่ายรังสีวิทยา ยังพบว่าเชื้อไวรัสซิก้าอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและมีสติปัญญาที่ไม่เท่ากับเด็กปกติ

โดยเชื้อไวรัสซิก้ามียุงลายเป็นพาหะนำโรค

นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อดังกล่าวสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ การติดเชื้อในช่วงระยะครรภ์ 3-5 เดือนแรก อาจส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติสูง เนื่องจากการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

อาการแสดงเมื่อติดเชื้อไวรัสซิก้าคล้ายกับเชื้อไข้เลือดออก

ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ตาแดง แบบไม่มีขี้ตา ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์รายไหนที่มีไข้ 3-4 วันแล้วไม่หายควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อเจาะเลือดและทำการตรวจละเอียด

วิธีป้องกัน

หญิงตั้งครรภ์ควรระวังไม่ให้โดนยุงกัด เช่น สวมเสื้อแขนยาว ทายากันยุง ไม่อยู่ในที่ที่มียุงชุกชุม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นต้น

โดยปกติแล้วเชื้อไวรัสซิก้าเป็นโรคที่ไม่อันตรายหากติดเชื้อในคนทั่วไป แต่ถ้าหากติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์จะอันตรายมากเพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการในเด็กทารกในครรภ์

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ. ดร.นพพร อภิวัฒนากุล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Meet the expert ไวรัสซิก้า (Zika Virus)” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

2

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

1

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

9

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7