sleep
หน้าแรก
รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม
รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม

หลายคนมักจะแสดงท่าทีรังเกียจคนที่เป็นโรคเชื้อรา เพราะดูสกปรก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียนที่หากว่าใครเป็นโรคนี้ก็จะโดนเพื่อนๆล้ออยู่เสมอ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อรานี้กันว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร สามารถป้องกันและรักษาได้โดยวิธีใดได้บ้าง

โรคเชื้อราที่ผิวหนัง แบ่งออกเป็น

โรคผิวหนังชั้นตื้น คือในกลุ่มที่เป็นขี้ไคลบนผิวหนัง กับเชื้อราในผิวหนังชั้นลึกลงมาคือชั้นหนังแท้และที่ติดในชั้นไขมันของเรา

โดยกลุ่มเชื้อราที่พบบ่อยคือ กลุ่มที่เป็นชนิดตื้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น โรคเกลื้อน จะมีการบวม มีขุยหรือสะเก็ดอยู่บริเวณขอบ อาจมีขอบสี แดง ส่วนโรคกลาก นั้นจะมีลักษณะสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นวงๆสีขาว หรือบางครั้งอาจจะสีคล้ำขึ้นอยู่บริเวณหน้าอกหรือหลัง

เชื้อราโดยปกติแล้วจะพบได้ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ หากมีปัจจัยการติดเชื้อพร้อม เช่น มีการรับเชื้อ ผิวหนังเสี่ยงการติดเชื้อสูง ก็โอกาสที่จะทำให้เกิดเชื้อราขึ้น

“รา” เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ทั้งพืช สัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส หรือโปโตซัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ราชนิดที่มีเซลล์เดียว เรียกว่ายีสต์
  2. ราชนิดที่มีหลายเซลล์ เรียกว่า Mold มีลักษณะเป็นเส้น
  3. ราชนิดที่เรียกว่า เห็ด

การรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทา ยกเว้นบางกรณี เช่น การติดเชื้อราที่ศีรษะ เส้นผม และที่เล็บ จำพวกนี้ต้องกินยาจึงจะหายขาด ส่วนในกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการพาเข้าไปเลี้ยงในห้องนอน เพราะเชื้อราที่มาจากสัตว์เลี้ยงค่อนข้างรุนแรง

วิธีการป้องกันการติดโรคเชื้อรา ดังนี้

  1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ตามสุขบัญญัติแห่งชาติเพื่อร่างกายแข็งแรงการติดเชื้อราเกิดในคนภูมิกันต่ำ
  2. ไม่คลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเชื้อรา
  3. เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  4. ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้องครบถ้วนและพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

 

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.สาลินี โรจน์หิรัญสกลุ
สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | รู้ทัน โรคเชื้อรา ก่อนลุกลาม” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7