sleep
หน้าแรก
รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม
รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม

หลายคนมักจะแสดงท่าทีรังเกียจคนที่เป็นโรคเชื้อรา เพราะดูสกปรก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียนที่หากว่าใครเป็นโรคนี้ก็จะโดนเพื่อนๆล้ออยู่เสมอ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อรานี้กันว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร สามารถป้องกันและรักษาได้โดยวิธีใดได้บ้าง

โรคเชื้อราที่ผิวหนัง แบ่งออกเป็น

โรคผิวหนังชั้นตื้น คือในกลุ่มที่เป็นขี้ไคลบนผิวหนัง กับเชื้อราในผิวหนังชั้นลึกลงมาคือชั้นหนังแท้และที่ติดในชั้นไขมันของเรา

โดยกลุ่มเชื้อราที่พบบ่อยคือ กลุ่มที่เป็นชนิดตื้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น โรคเกลื้อน จะมีการบวม มีขุยหรือสะเก็ดอยู่บริเวณขอบ อาจมีขอบสี แดง ส่วนโรคกลาก นั้นจะมีลักษณะสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นวงๆสีขาว หรือบางครั้งอาจจะสีคล้ำขึ้นอยู่บริเวณหน้าอกหรือหลัง

เชื้อราโดยปกติแล้วจะพบได้ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ หากมีปัจจัยการติดเชื้อพร้อม เช่น มีการรับเชื้อ ผิวหนังเสี่ยงการติดเชื้อสูง ก็โอกาสที่จะทำให้เกิดเชื้อราขึ้น

“รา” เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ทั้งพืช สัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส หรือโปโตซัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ราชนิดที่มีเซลล์เดียว เรียกว่ายีสต์
  2. ราชนิดที่มีหลายเซลล์ เรียกว่า Mold มีลักษณะเป็นเส้น
  3. ราชนิดที่เรียกว่า เห็ด

การรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทา ยกเว้นบางกรณี เช่น การติดเชื้อราที่ศีรษะ เส้นผม และที่เล็บ จำพวกนี้ต้องกินยาจึงจะหายขาด ส่วนในกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการพาเข้าไปเลี้ยงในห้องนอน เพราะเชื้อราที่มาจากสัตว์เลี้ยงค่อนข้างรุนแรง

วิธีการป้องกันการติดโรคเชื้อรา ดังนี้

  1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ตามสุขบัญญัติแห่งชาติเพื่อร่างกายแข็งแรงการติดเชื้อราเกิดในคนภูมิกันต่ำ
  2. ไม่คลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเชื้อรา
  3. เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  4. ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้องครบถ้วนและพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

 

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.สาลินี โรจน์หิรัญสกลุ
สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | รู้ทัน โรคเชื้อรา ก่อนลุกลาม” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5