PMS, อาการก่อนมีประจำเดือน
หน้าแรก
PMS สัญญาณอันตรายของผู้หญิงมีประจำเดือน
PMS สัญญาณอันตรายของผู้หญิงมีประจำเดือน

ช่วงเวลาที่แสนจะทรมานและเจ็บปวดของผู้หญิงคงหนีไม่พ้นช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนเกิดจากการที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อที่ผนังมดลูกให้มีความหนาขึ้น เพื่อเตรียมการตั้งครรภ์ แต่ถ้ายังไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดลอกและไหลผ่านทางช่องคลอดเป็นเลือด ทำให้ผู้หญิงที่กำลังเป็นประจำเดือนมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ หน้าอกขยาย และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังทำให้อารมณ์แปรปรวนอีกด้วย จนทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า PMS

PMS, อาการก่อนมีประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือนมากควรทำอย่างไร ?

  • ใส่เสื้อผ้าโปร่งไม่รัดตัว เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว
  • รับประทานอาหารไขมันต่ำ (low fat) เช่น บลูเบอร์รี มะเขือเทศ พริกหยวก
  • ดื่มน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น
  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลดอาการปวด
  • นอนขดตัวจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องคลายตัว
  • รับประทานยาแก้ปวดประจำเดือน หากมีอาการปวดมาก เช่น ปวดจนเดินไม่ไหว

การปวดท้องประจำเดือนรุนแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขาดเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง บางรายที่มีอาการเครียดมาก ๆ ก็ส่งผลทำให้ประจำเดือนขาด ไม่มาตามรอบได้และถ้าปวดท้องประจำเดือนมากควรเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี

PMS, อาการก่อนมีประจำเดือน

 

สีของ ประจำเดือน บอกอาการอะไรบ้าง ?

สีแดงสด > สุขภาพแข็งแรง ปกติ

สีแดงเข้ม > ช่วงวันมามาก สาเหตุมาจากอากาศร้อนทำให้มดลูกทำงานหนักและมีปริมาณเลือดออกมากกว่าปกติ

สีดำหรือน้ำตาลเข้ม > เลือดเก่าที่ถูกขับออกมา

สีชมพูแดง > มีบาดแผลภายในหรือมีฮอร์โมนต่ำ

สีแดงส้ม > ติดเชื้อภายในห้องคลอด มีกลิ่นเหม็นอับ ปวดท้อง

สีเทาปนเขียว > หากมีตกขาว ปวดท้องน้อย หรือมีไข้ร่วมด้วย เป็นอาการบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ภาวะ PMS คืออะไร ?

PMS(premenstrual syndrome) คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการPMSนี้ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ

สาเหตุของภาวะPMS

PMSยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศและปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างไข่ตกในแต่ละรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยอาการPMSจะหายไปในช่วงที่ไม่มีการตกไข่ เช่น ขณะตั้งครรภ์หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (serotonin) ลดต่ำลง จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะ PMS

โดยทั่วไปPMSมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงและไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการPMSอย่างรุนแรง อาจเกิดอาการ PMDD ได้ ซึ่งจะกระทบต่อสภาวะอารมณ์ เช่น วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ซึมเศร้า และอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้

PMSมีอาการอย่างไร ?

อาการของPMSจะแบ่งได้เป็น 2 อาการ คือ อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม และอาการทางด้านร่างกาย ดังนี้

อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด หรือโกรธง่าย
  • เครียดและไม่มีสมาธิ
  • เศร้า วิตกกังวล
  • มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
  • มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (social withdrawal)
  • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป

อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่

  • เจ็บเต้านม
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • มีสิวขึ้น

PMS, อาการก่อนมีประจำเดือน

วิธีป้องกันการเกิดภาวะPMS

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสูง ได้แก่ ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต
  • ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อลดอาการปวดหัว ความวิตกกังวล
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองหลังประจำเดือนมา แต่ในบางรายอาจแสดงอาการมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อแนะนำแนวทางการฟื้นฟูอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

ข้อมูลจาก

รศ. พญ.อรวี ฉินทกานันท์ 

สาขาวิชาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม 

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
บทความสุขภาพ
25-04-2024

3

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

3

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

10

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

3