COVID-19
หน้าแรก
5 วิธีฟื้นฟูจิตใจก้าวผ่านวิกฤต COVID-19
5 วิธีฟื้นฟูจิตใจก้าวผ่านวิกฤต COVID-19

การแพร่ระบาด COVID-19 จะเริ่มคลี่คลายลง การปลด Lock Down อาจทำให้ผู้คนสามารถออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติกันมากขึ้น แต่ก็ยังต้องอยู่ภายใต้ข้อปฏิบัติ และมาตรการที่เข้มงวดทางสังคมที่จะต้องทำร่วมกันหรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบ New Normal เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดครั้งใหม่เกิดขึ้น

ซึ่ง COVID-19 ทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบกระทันหันนั้น ได้ส่งผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านการใช้ชีวิต  เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยเฉพาะ ผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ที่หากเรา ไม่รู้จักวิธีรับมืออย่างถูกวิธีในระยะยาว อาจสร้างบาดแผลทางจิตใจ ส่งผลให้เกิดเป็นโรคทางจิตเวชต่าง ๆ ตามมาได้ วันนี้รามาแชนแนล จึงได้รวบรวมวิธีการรับมือกับสภาพจิตใจ ให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตมาให้ทุกคนได้ลองทำตามกันดังนี้

1. มีสติและอยู่กับปัจจุบัน

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นสิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งสติ ทำความเข้าใจว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้นั้นเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ควรกลับมาอยู่กับปัจจุบัน รู้ทันและเปิดรับการมีอยู่ของอารมณ์ ความรู้สึก เพราะเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ มักจะมีความคิดที่เป็นกังวลเกิดขึ้นมาเสมอ ดังนั้นการมีสติเข้าใจตัวเอง กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาที่เข้ามาและดูว่ามีอะไรที่เราสามารถทำได้บ้างคือวิธีรับมือที่ดีที่สุด

2. ค้นพบตัวตนในมุมใหม่

หลายคนอาจจะมองว่าช่วงนี้มีเวลาว่างและอยู่กับตัวเองมากเกินไปจนจิตใจห่อเหี่ยว ไม่ค่อยได้ออกไปพบปะเพื่อนฝูงเหมือนเมื่อก่อน แต่จริง ๆ แล้วการได้อยู่กับตัวเองมากขึ้นนั้นอาจทำให้เราพบเห็นตัวเอง ในมุมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น จากที่ทำอาหารไม่เป็นก็ค้นพบว่าตัวเองสามารถทำอาหารได้อร่อยแถมยังเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี หรือบางคนที่เคยคิดว่าตัวเองลดน้ำหนักไม่ได้ก็ใช้ช่วงเวลานี้ซุ่มฟิตหุ่น ออกกำลังกาย เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนใหม่ที่ดีขึ้นทั้งรูปร่าง สุขภาพ และจิตใจ

3. ติดตามข่าวสารแต่พอดี

การเสพข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19 ยังเป็นเรื่องจำเป็น แต่การรับรู้ข้อมูลมากเกินไปอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ ดังนั้นควรติดตามข่าวสารแต่พอดีเพื่อป้องกันการเสพสื่อมากเกินจนรู้สึกแพนิก และเลือกเสพเฉพาะแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรด้านสาธารณสุข ไม่ส่งต่อข่าวที่ได้รับมาจากในแชทแอปพลิเคชันเนื่องจากมีโอกาสเป็น Fake News สูง

4. ส่งต่อพลังใจที่สร้างสรรค์

แม้จะต้องเว้นระยะห่างทางสังคมหรือปรับพฤติกรรมการชีวิตให้เป็นแบบ New Normal แต่เราก็ยังสามารถดูแลและใส่ใจคนรอบข้างได้ด้วยการพูดคุยกับเพื่อน ๆ ผ่านแชทแอปพลิเคชัน Video Call ฯลฯ ได้ตามปกติ หรือหากเดินผ่านก็ส่งรอยยิ้มทักทายกัน โดยแนะนำว่าให้พยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องเครียดและเปลี่ยนไปคุยกันในเรื่องทั่วไป ไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบของคนรอบข้างบ้าง แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สิ่งเหล่านี้จะช่วยคลายความรู้สึกโดดเดี่ยวและบรรเทาจากความเครียดของตัวเราเองและคนรอบข้างได้

5. ปรึกษาจิตแพทย์

แน่นอนว่าในสถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ หลายคนอาจจะต้องเผชิญกับความเครียดซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นของแต่ละคนนั้นมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน คนทั่วไป อาจจะใช้เวลาในการปรับตัวไม่นาน แต่คนที่มีปัญหารุมเร้าได้รับผลกระทบเยอะจนจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีพอ หรือผู้ที่มีอาการทางจิตเวชอาจจำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาและพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อหาวิธีรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในปัจจุบันการปรึกษาจิตแพทย์นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะนอกจากจะช่วยรักษาสุขภาพจิตได้อย่างถูกวิธีแล้ว ยังทำให้เรารับมือกับปัญหาอื่น ๆ ได้ดีขึ้นด้วย

 

ข้อมูลโดย
อ. นพ.กานต์ จำรูญโรจน์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “RAMA Square – การรับมือกับสภาพจิตใจในช่วงวิกฤตการณ์ไวรัส (1)” ได้ที่นี่

คลิกชมคลิปรายการ “RAMA Square – การรับมือกับสภาพจิตใจในช่วงวิกฤตการณ์ไวรัส (2)” ได้ที่นี่


ดูเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

RAMA Square การดูแลสุขภาพในช่วง COVID -19 ของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ (1) 05/05/63 l RAMA CHANNEL

RAMA Square การดูแลสุขภาพในช่วง COVID -19 ของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ (2) 05/05/63 l RAMA CHANNEL

พบหมอรามาฯ เติมใจให้กันผ่านตู้ปันสุข คนเดือดร้อนหยิบฟรี ผู้ให้สุขใจ, หญิงตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19  13/05/63 l RAMA CHANNEL

RAMA Square ปัญหาบุหรี่กับความเกี่ยวเนื่องของสถานการณ์การระบาดโควิด-19 11/06/63 l RAMA CHANNEL

พบหมอรามาฯ โรคความดันเลือดสูงภัยเงียบของสารพัดโรคร้าย, บริจาคเลือดนั้นเสี่ยงติดโควิด-19 หรือไม่ 25/05/63 l RAMA CHANNEL

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

97_หลอดเลือดหัวใจตีบ-อาการเริ่มต้นโรคหัวใจที่ต้องรู้ไว้2
หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาทันที
บทความสุขภาพ
05-09-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
23-08-2024

11

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

14

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

9