โรคลมพิษ ผื่นแดงบนผิวหนังอันตรายกว่าที่คิด
หน้าแรก
โรคลมพิษ ผื่นแดงบนผิวหนังอันตรายกว่าที่คิด
โรคลมพิษ ผื่นแดงบนผิวหนังอันตรายกว่าที่คิด

เมื่อเกิดอาการคันที่ผิวหนังจนเกิดผื่นแดง บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงและมีอาการมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจเสี่ยงเป็น โรคลมพิษ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก เช่น การนอน 

โรคลมพิษ คืออะไร ?

โรคลมพิษ (urticaria) โรคที่ผิวหนังมีอาการเป็นผื่นหรือนูนแดง ไม่มีขุย มีหลายขนาดตั้งแต่ 0.5-10 เซนติเมตร ทำให้มีอาการคัน ผื่นจะเกิดขึ้นเร็วและกระจายตามลำตัว แขน ขา แต่จะอยู่ไม่นานระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่เมื่อหายแล้วอาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีริมฝีปากบวม ปวดท้อง แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการหืด หรือเป็นลม เกิดจากความดันเลือดต่ำได้

โรคลมพิษ ช่วงอากาศเปลี่ยน

“ลมพิษเฉียบพลัน” ผื่นแดงบนผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม

ชนิดของโรคลมพิษ

โรคลมพิษแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดเฉียบพลัน  มีอาการต่อเนื่องไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากการแพ้อาหาร แพ้ยา แมลงกัดต่อย หรือการติดเชื้อบางชนิด บางรายอาจมีอาการที่อวัยวะอื่น เช่น แน่นหน้าอก แน่นจมูก ปวดท้อง ความดันต่ำ บริเวณริมฝีปากและตาบวม
  2. ชนิดเรื้อรัง มีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีสาเหตุกระตุ้น เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง ยา ระบบฮอร์โมน หรือเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความเย็น การกดทับ และชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย

ผื่นแบบไหนที่เรียกว่าลมพิษ

ลักษณะเป็นผื่นบวม นูน แดง กระจายตามลำตัว แขน ขา หรือใบหน้า มีอาการคันโดยทั่วไป ผื่นจะค่อย ๆ ยุบลงภายใน 24 ชั่วโมง แต่สักพักก็กลับมาขึ้นใหม่ บางรายเกิดที่บริเวณเนื้ออ่อน เช่น ริมฝีปากหรือหนังตา เรียกว่า ภาวะแองจิโออีดีมา (angioedema) อาจเป็นได้นาน 2-3 วัน ถึงจะค่อย ๆ ยุบ และบางรายอาจมีอาการบวมในระบบทางเดินอาหารทำให้รู้สึกปวดแน่นท้องหรือมีอาการในระบบทางเดินหายใจทำให้แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก หากมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

แชร์ประสบการณ์ ลมพิษขึ้นผื่นแดงทั้งตัว

โรคลมพิษ ผื่นแดงบนผิวหนังอันตรายกว่าที่คิด

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคลมพิษ

  • แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูดในอาหาร สีผสมอาหาร
  • แพ้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาแก้ปวด แอสไพริน
  • แพ้ฝุ่น ละอองเกสร หรือขนสัตว์
  • การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ
  • แพ้แสงแดด ความร้อน ความเย็น หรือเหงื่อ (เช่น เหงื่อหลังจากออกกำลังกาย) การสัมผัสน้ำ อุณหภูมิในร่างกายสูง หรือรอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง
  • สารทึบรังสี (contrast  media) ที่ใช้ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • ผิวหนังสัมผัสสารเคมีหรือยาบางชนิด เช่น ยาทาแก้อักเสบ 
  • การให้เลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
  • ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง ผื่นอาจเกิดจากโปรตีนในเลือดของผู้ป่วยเองที่ไปกระตุ้นเซลล์อักเสบให้หลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการของลมพิษขึ้น
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • แพ้พิษจากแมลงกัดต่อย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ
  • ภาวะเครียด วิตกกังวล

โรคลมพิษ ผื่นแดงบนผิวหนังอันตรายกว่าที่คิด

อาหารที่คนเป็นลมพิษควรหลีกเลี่ยง

  • ผัก เช่น ผักปวยเล้ง มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว
  • เนื้อสัตว์แช่แข็งไว้เป็นเวลานาน เช่น ปลา หอย
  • อาหารกระป๋องและอาหารรมควันต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋อง ไส้กรอก
  • ชีส โยเกิร์ต อาหารหมักดอง ชาสมุนไพร ไข่
  • อาหารจานด่วน เช่น ไก่ทอด ฮอตดอก ชีสเบอร์เกอร์ น้ำอัดลม เฟรนช์ฟรายส์ พิซซ่า
  • เครื่องปรุงรส เช่น พริกป่น อบเชย กานพลู น้ำส้มสายชู
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารกันบูด

โรคลมพิษ ผื่นแดงบนผิวหนังอันตรายกว่าที่คิด

วิธีรักษา โรคลมพิษ

  • กินยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน (antihistamine) ถ้ามีอาการลมพิษ ผื่นคัน จากการแพ้ อาการไม่รุนแรงมาก อาจซื้อยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีนกินเองได้ เช่น ลอราทาดีน (loratadine) หรือยาต้านฮีสตามีนที่ไม่ทำให้ง่วงออกฤทธิ์ได้นานและปลอดภัย ลดอาการคัน อาการแพ้จากสารก่อภูมิแพ้
  • ทาครีมหรือโลชั่นแป้งที่มีส่วนผสมของเมนทอล เช่น คาลาไมน์ (calamine lotion) เพื่อลดอาการคัน ใช้ทาบริเวณที่เป็นผื่นลมพิษ แก้คัน
  • พบแพทย์หากมีอาการรุนแรงหรือมีอาการอื่น ๆ นอกจากผื่นลมพิษ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ ปวดท้อง มีหน้าบวม ตาบวม ปากบวม เป็นอาการแพ้รุนแรง หรือหากผื่นลมพิษไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง มีอาการปวด อ่อนเพลีย ไม่ตอบสนองต่อยาแก้แพ้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

ความเชื่อผิด ๆ แก้ลมพิษด้วยวิธีแปลก ๆ

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นลมพิษ

  • ไม่เกาบริเวณที่เป็นผื่นลมพิษ เพราะจะทำให้เป็นแผลติดเชื้อ
  • ใช้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วงเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง
  • ทาครีมหรือโลชั่นแป้งที่มีส่วนผสมของเมนทอล เช่น คาลาไมน์
  • ไม่อาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวแห้ง
  • ประคบด้วยน้ำเย็น น้ำแข็ง หรือเจลเก็บความเย็น (cold pack)
  • งดใช้สบู่ ครีมบำรุงผิว เครื่องสำอาง และน้ำหอมที่มีสารเคมีรุนแรง
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ลดความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคลมพิษจะมีอาการมากหรืออาการน้อยขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงของโรค และการดูแลรักษาตัวเอง เพราะฉะนั้นหากมีอาการลมพิษหรือสงสัยว่าจะเป็นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง

 

ข้อมูลจาก

อ. พญ.สัญชวัล วิทยากรฤกษ์

สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

12

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7