mararia
หน้าแรก
“โรคมาลาเรีย” ระบาดหนักภัยร้ายพรากชีวิต
“โรคมาลาเรีย” ระบาดหนักภัยร้ายพรากชีวิต

มีข่าวการระบาดหนักของโรคมาลาเรียใน 4 อำเภอของจังหวัดยะลา มีอัตราผู้ป่วยสูงถึง 2,500 รายและเสียชีวิตแล้วอีก 1 ราย อีกทั้งยังมีสถิติของคนที่เป็นโรคเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้

โรคมาลาเรีย

เป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ แต่เป็นคนละชนิดกันกับโรคไข้เลือดออก เพราะโรคไข้เลือดออกจะมียุงลายเป็นพาหะ แต่โรคมาลาเรียจะมี “ยุงก้นป่อง” เป็นพาหะนำโรค สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ทำให้ระบาดได้ง่ายเป็นวงกว้าง

โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มักอาศัยอยู่บริเวณชายป่า ชายเขา จำนวน 400 คน พบว่ามีเชื้อเพราะยุงก้นป่องเป็นยุงที่อยู่ในป่า ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงมากกว่าคนพื้นที่อื่นๆ ในการเกิดโรค

ล่าสุดยังพบว่าเมื่อทำการเจาะเลือดกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณายป่าชายเขาจำนวน 400 คน พบว่ามีเชื้อมาลาเรียอยู่ถึง 200 คน เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งกันเลยทีเดียว จึงเป็นปัญหาที่ต้องรีบจัดการให้เหมาะสม

สำหรับวิธีป้องกันคือการพ่นยาในพื้นที่ แต่อุปสรรคคือชาวบ้านมักไม่ยอมเพราะกลัวว่าจะมีปัญหากับนกที่ตัวเองเลี้ยงไว้ทำให้ยากแก่การป้องกัน

ระยะของอาการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย

  1. ระยะแรก คือ จะมีอาการหนาวสั่น ตัวเย็น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการเกร็ง ปัสสาวะบ่อย อุณหภูมิค่อยๆ สูงขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 15-60 นาที เป็นระยะการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย
  2. ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 40° ตัวร้อน ลมหายใจร้อน หน้าแดง ปากซีด และกระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็วและแรง ปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา ระยะนี้ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง
  3. ระยะเหงื่อออก เมื่อสร่างไข้ ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะเหงื่อออกและเข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเหงื่อออกใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง

วิธีป้องกัน

  1. ควรนอนในมุ้ง ระวังอย่าให้ยุงกัด
  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิด
  3. ถ้าต้องเข้าไปอยู่ในเขตที่มีไข้มาลาเรียควรกินยาป้องกันไว้ล่วงหน้า

วิธีรักษาโรค

  1. ทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ โดยโรคนี้จะมี 2 อาการซึ่งจะได้รับยาที่แตกต่างกัน อาการแรกคือ ทานยา 3 วัน และอีกอาการคือทานยา 14 วัน ควรทานให้ครบทุกวันตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้หายขาดจากโรค
  2. นอกจากการทานยาบางกรณีแพทย์อาจใช้วิธีการฉีดยาเข้ากระแสเลือด เพื่อทำการรักษา

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ไข้มาลาเรียระบาดหนักใน จ.ยะลา : พบหมอรามา ช่วง Rama update” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7