ปลอกประสาทเสื่อม
หน้าแรก
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ความอันตรายของหนุ่มสาว
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ความอันตรายของหนุ่มสาว

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนอาจไม่คุ้นหูและควรทำความรู้จัก โดยโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาท ที่มักเกิดกับคนอายุน้อย 20-40 ปี จึงเป็นโรคที่วัยหนุ่มสาวควรทำความเข้าใจให้มาก เพื่อที่จะดูแลตัวเองและเข้ารับการรักษาได้ทันการณ์ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือที่เรียกว่าโรคเอ็มเอส (MS)

เป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาท ส่งผลให้เกิดความพิการได้หากปล่อยทิ้งไว้ หรือไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อาการของโรค ได้แก่ ตามัว มองภาพเห็นไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน สะอึกไม่หยุด แขนขาอ่อนแรง อาจอ่อนแรงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ หรืออาจอ่อนแรงทั้งแขนและขา ปัสสาวะลำบาก ขับถ่ายลำบาก ท้องผูก มีอาการชาร่วมด้วย โดยจะชาจากขาขึ้นมาถึงลำตัว หรืออาจชาครึ่งซีก หรือชาที่หน้าอย่างเดียว เวียนศีรษะ หากมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันภายในหนึ่งวัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะมีโรคอื่นที่อาการคล้ายกัน จึงต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดแยกโรค

สถิติของผู้ป่วยอยู่ที่ 0.5 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ถือเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่จะพบมากขึ้นในประเทศที่อยู่บนเส้นละติจูดสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการสำรวจพบว่าพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบในคนอายุน้อย 20-40 ปีมากกว่าคนอายุมาก รวมถึงในประเทศที่ตั้งอยู่บนพิกัดเส้นละติจูดสูงหรือในเมืองหนาวพบได้มากกว่าประเทศที่ตั้งอยู่บนเส้นละติจูดที่ต่ำกว่า

อุปสรรคในการรักษา

คือการวินิจฉัยโรคที่อาจเกิดความผิดพลาด เนื่องจากอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงมากนัก ทำให้วินิจฉัยไม่ได้ว่าเป็นโรคเอ็มเอส อุปสรรคต่อมาคือการเข้าถึงยาปรับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยบางส่วนที่อาจเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากยามีราคาสูง และไม่ได้อยู่ในสิทธิของบัญชียาหลักแห่งชาติ ในการรักษาแพทย์จะให้ยาปรับภูมิคุ้มกัน ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ชนิดฉีดและชนิดกิน ช่วยในเรื่องของการป้องกันการเกิดซ้ำของโรค

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาท โดยในการรักษาคือการควบคุมโรคให้อยู่ในภาวะสงบ สามารถรักษาได้ไม่ยากหากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม และมีการให้ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหรือกดโรคให้อยู่ในภาวะสงบอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ถ้าหากปล่อยไว้จนเกิดพยาธิสภาพถาวรหรือทุพพลภาพถาวร ผู้ป่วยจะไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ในการรักษานั้นคนไข้จะต้องได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้คนไข้ต้องดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ที่สำคัญคืออย่าเครียด เพราะความเครียดจะทำให้อาการกำเริบได้ในผู้ป่วยบางราย

สำหรับคนรอบข้างของผู้ป่วยมีความสำคัญเช่นกันในการรักษา ควรพยายามทำความเข้าใจในตัวโรค และคอยให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพราะการรักษาใช้เวลาค่อนข้างนานนับปีในการทำให้โรคอยู่ในภาวะสงบ ระหว่างการรักษาอาจมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น การเกิดโรคซึมเศร้า การหมดกำลังใจในผู้ป่วย คนรอบข้างจึงมีความสำคัญมากในการให้กำลังใจผู้ป่วย

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ หากอาการกำเริบขึ้นมาควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับยาโดยการฉีดหรือการกินตามพิจารณาของแพทย์ ที่สำคัญโรคนี้สามารถรักษาอาการให้อยู่ในภาวะสงบได้ หากได้รับการวินิจฉัยถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่ภาวะพิการในคนไข้ได้เช่นกัน

 

ข้อมูลจาก 
ดร. นพ.จรุงไทย เดชเทวพร
สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ภัยร้ายของ“โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง”หรือโรคเอ็มเอส : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7