บทความ ต.ค._๑๗๑๐๐๕_0005
หน้าแรก
“แก้วหูทะลุ” สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่
“แก้วหูทะลุ” สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่

อาการแก้วหูทะลุสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน และมีอยู่หลายสาเหตุที่ค่อนข้างใกล้ตัวซึ่งทำให้เกิดภาวะดังกล่าว เช่น แคะหู ว่ายน้ำ ฯลฯ เป็นอีกภาวะหนึ่งที่อาจฟังดูน่ากลัว และหลายคนยังสงสัยอยู่ว่าการที่แก้วหูทะลุนั้นเป็นอันตรายมากหรือน้อยเพียงใด ในครั้งนี้จึงมีข้อมูลรายละเอียดมานำเสนอเพื่อทำการศึกษาร่วมกัน

แก้วหูทะลุ เป็นภาวะที่เยื่อแก้วหูมีการฉีกขาด โดยเยื่อแก้วหูนั้นจะอยู่ลึกเข้าไปในรูหู เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นนอก (ที่ประกอบไปด้วยใบหูและรูหู) กับหูชั้นกลาง ลักษณะเป็นแผ่นกลมบางเหมือนหนังกลอง เมื่อเยื่อแก้วหูได้รับการกระแทกที่เกิดจากการบาดเจ็บ มักพบเป็นวงรีหรือแตกออกเป็นหลายแฉกคล้ายรูปดาว ขอบไม่เรียบและมักมีเลือดคั่งบริเวณขอบของรอยทะลุหรือภายในช่องหู

สาเหตุของแก้วหูทะลุมีหลายอย่างด้วยกัน

ได้แก่ การบาดเจ็บทั้งหลาย เช่น การถูกกระแทกขณะใช้อุปกรณ์แคะหู หรือมีการอัดกระแทกที่หู เช่น ถูกตบบ้องหูอย่างรุนแรง หรือการเปลี่ยนความดันของสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เช่น ดำน้ำลึกแบบเร็วๆ เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีในเรื่องของการติดเชื้อที่หูชั้นกลางที่ทำให้แก้วหูทะลุได้

ในส่วนของการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประการใหญ่ๆ ได้แก่ การติดเชื้อแบบเฉียบพลันและการติดเชื้อแบบเรื้อรัง การติดเชื้อแบบเฉียบพลันคือเมื่อหูชั้นกลางติดเชื้อ แล้วหนองในหูมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความดันในหูชั้นกลางสูงขึ้นจนแก้วหูทะลุในที่สุด ส่วนการติดเชื้อแบบเรื้อรังคือการที่รอยทะลุของแก้วหูเกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน ทั้งจากการที่ผู้ป่วยเป็นหวัดหรือมีน้ำเข้าหู

อาการของแก้วหูทะลุจากการติดเชื้อเฉียบพลัน

คือเป็นไข้ ปวดหู และมีหนองไหลออกจากหู มีลักษณะเป็นๆ หายๆ และจะไม่ค่อยปวดมาก ส่งผลให้การได้ยินลดลงตามมา หากเกิดจากอาการบาดเจ็บ จะมีอาการปวดหู เลือดไหลออกจากหู และมีเสียงอื้อในหู อัตราการได้ยินลดลง หากไม่มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนจะสามารถหายเองได้ภายใน 2-3 เดือน โดยไม่ต้องรักษา

ภาวะการแทรกซ้อนของอาการแก้วหูทะลุ

คือส่งผลต่อการได้ยินโดยตรงซึ่งจะได้ยินลดลง ส่วนจะได้ยินลดลงมากหรือน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของรูที่ทะลุ ภาวะต่อมาคือส่งผลให้ติดเชื้อที่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโดยปกติแก้วหูที่มีหน้าที่ช่วยขยายเสียงแล้วยังช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง หากเกิดภาวะทะลุหรือฉีกขาดจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ภายในหูได้ง่ายขึ้น และเกิดการติดเชื้อ หากติดเชื้อรุนแรงยังทำให้เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงใบหน้าเกิดอัมพาตได้และส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยว แต่ทั้งนี้การติดเชื้อขั้นรุนแรงก็เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก

ภาวะแทรกซ้อนของแก้วหูทะลุยังทำให้เกิดการติดเชื้อที่หูชั้นในได้ด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุน ทำให้การได้ยินบกพร่องไป และถ้าหากรุนแรงอาจติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองได้ซึ่งเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตราย

นอกจากนี้ถ้าหากมีเคราตินไปสะสมในหูชั้นกลาง อาจทำให้ติดเชื้อเรื้อรังได้ ผลกระทบคือเชื้อพวกนี้จะทำให้เกิดการผลิตเอนไซม์ที่มาทำลายกระดูกหรือโครงสร้างภายในหู

การรักษาอาการแก้วหูทะลุ

ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดหากเกิดจากการแคะหูและรูไม่ใหญ่มาก สามารถหายเองได้ แต่ถ้าหากมีอาการขอบไม่เป็นระเบียบเกิดขึ้น แพทย์จะรักษาโดยการจัดขอบให้เป็นระเบียบด้วยการวางกระดาษกรองเพื่อให้แก้วหูสมานกันได้ง่ายขึ้น แต่ระหว่างการรักษาต้องระวังเรื่องการติดเชื้อให้ดี อย่าให้น้ำเข้าหูและไม่ควรแคะหู ระหว่างนั้นอาจใช้สำลีอุดหู เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อเฉียบพลัน รูทะลุมักจะมีขนาดเล็ก ช่วงแรกแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อ หรือดูดหนองออกไปสังเกต ในผู้ป่วยหลายรายสามเดือนผ่านไปรูทะลุสามารถปิดได้เอง แต่ถ้าหากรูไม่ปิดเอง แพทย์จะทำการผ่าตัดปะแก้วหู และถ้าหากติดเชื้อเรื้อรัง รูทะลุมักจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดปะแก้วหู

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.เนาวรัตน์ ตั้งบำรุงธรรม,
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Health Me Please | แก้วหูทะลุ | EP.11” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7