02-01
หน้าแรก
เบาหวาน
เบาหวาน

ในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและผู้ที่อ้วน แม้ความก้าวหน้าทางการแพทย์จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอายุยืนขึ้น แต่ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่

เกิดขึ้นก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ต้องทำให้ผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการเกิดแผล (ulceration) การติดเชื้อภาวะเนื้อตายเน่า (gangrene) และภาวะเท้าผิดรูปจากความผิดปกติของเส้นประสาทในผู้ป่วยเบาหวาน (Charcot foot) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา เพราะฉะนั้นการป้องกันการเกิดแผลจึงเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งดีกว่ารอให้เกิดแผลแล้วค่อยทำการรักษา

ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดแผลที่เกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าผู้ป่วยเบาหวานมาจากหลายสาเหตุ แต่สรุปหลักๆมีอยู่ด้วยกัน 3 สาเหตุ ได้แก่

1. ภาวะโรคเส้นประสาท (neuropathy)

เป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่พบได้บ่อยที่สุด ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชา ไม่มีความรู้สึกที่เท้าและขาส่วนล่าง ผลก็คือเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวไปเหยียบเศษแก้ว เศษไม้ อาจไม่รู้สึกอะไร จึงไม่รู้ว่าตนเองได้มีแผลแล้ว

2. ภาวะขาดเลือด (ischemia)

พบในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดแผลถึงร้อยละ 38-52 ภาวะนี้จะทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ตามมา ซึ่งการดำเนินของโรคนี้ในผู้ป่วยเบาหวานจะเร็วกว่าผู้ไม่ได้เป็น

3. ภาวะติดเชื้อ (infection)

ทั้งภาวะโรคเส้นประสาท (neuropathy) และภาวะขาดเลือด (ischemia) เป็นสาเหตุส่งเสริมให้มีการติดเชื้อ การติดเชื้ออาจทำให้แผลลุกลามกลายเป็นแผลมีหนอง กระดูกอักเสบและเป็นหนองในระยะเวลาอันสั้น แผลติดเชื้ออาจไม่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกปวดแผลเนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการชา จึงเพียงแค่เห็นเท้าบวมแดงและอาจมีไข้ ฉะนั้นการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเท้าจึงมีความสำคัญมาก

ฉะนั้นผู้ป่วยหวานนอกจากจะต้องดูแลร่างกาย ควบคุมอาหารแล้วจึงควรจะต้องมีความระมัดระวัง และเรียนรู้วิธีการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลและโรคแทรกซ้อนด้วย

โดยสิ่งแรกที่ควรจะทำเป็นประจำคือ

ควรทำความสะอาดเท้าอย่างสม่ำเสมอ การตัดเล็บอย่างถูกต้อง ซึ่งในบางรายอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ผู้ป่วยที่พบว่า ตัวเองมีอาการหรือมีสัญญาณของโรคควรมาพบแพทย์เพื่อป้องกันอาการมากขึ้นของแผล หมั่นดูแลความผิดปกติของเท้า ควรใส่รองเท้าที่ไม่คับมากไปเพื่อป้องกันการกัดส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้า และหมั่นทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันสิ่งกีดขวางอันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น

ทั้งนี้ต้องอย่าลืมว่า หากผู้ป่วยเบาหวานมีแผลจะหายยาก แผลเกิดได้ทุกที่ ทั้งศีรษะ มือ แขน ไม่เฉพาะขา เท้า หรือนิ้วเท้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นการดูแลและปฏิบัติที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาการจะลุกลามได้.

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.จุมพล วิลาศรัศมี
อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7