ย้ำคิดย้ำทำ
หน้าแรก
อาการแบบไหนกันที่เรียกว่าย้ำคิดย้ำทำ
อาการแบบไหนกันที่เรียกว่าย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการป่วยทางจิตเวช และเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนสงสัยอยู่ว่าตนเองนั้นเข้าข่ายต่ออาการป่วยหรือไม่ ขณะที่ผู้ป่วยบางรายก็ประสบอยู่โดยไม่รู้ตัว วันนี้เราก็มีข้อมูลมานำเสนอเกี่ยวกับอาการบ่งชี้ของโรค เพื่อให้หลายๆ คนได้ลองสังเกตตัวเองดูว่าเข้าข่ายเป็นโรคนี้หรือไม่ เพราะถึงแม้โรคย้ำคิดย้ำทำจะไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตไม่น้อยเช่นกัน

โรคย้ำคิดย้ำทำแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

ส่วนของ “ย้ำคิด” และส่วนของ “ย้ำทำ” อาการย้ำคิดคือการคิดเรื่องเดิมซ้ำๆ กังวลอยู่กับเรื่องเดิมวนเวียนไปมา ซึ่งโดยส่วนมากคนเรามักมีความกังวลอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากว่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อชีวิตนั่นแปลว่ากำลังเป็นโรคที่ควรได้รับการรักษา

อาการย้ำคิด

จะมีความคิดและความกังวลอยู่กับเรื่องเดิมๆ ซ้ำซาก กังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องความปลอดภัย กังวลว่าขโมยจะเข้าบ้านหรือไม่ กังวลว่าไฟจะไหม้บ้านหรือเปล่า ที่น่าสนใจคือส่วนมากคนพวกนี้มักมีประสบการณ์มาก่อน อย่างกรณีตัวอย่างมีผู้ป่วยที่เคยได้ยินเสียงน้ำกลางดึกแล้วตื่นขึ้นมาพบว่าน้ำท่วมบ้านตัวเอง ทำให้เป็นโรคกังวลเกี่ยวกับการปิดก็อกน้ำมาตลอด และมีอาการย้ำคิดว่าปิดก็อกน้ำหรือยัง เนื่องจากกลัวว่าเหตุการณ์เก่าที่วนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง

วิธีสังเกตว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่นั้น

ให้สังเกตว่ามีการย้ำทำกี่ครั้ง อย่างเช่นในคนปกติมีพฤติกรรมเดินไปดูว่าล็อครถหรือยังซ้ำ 1-2 ครั้ง ถือว่ายังปกติอยู่ แต่ถ้าในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำจะทำซ้ำประมาณ 4-5 รอบ จึงจะเกิดความสบายใจ หากใครมีพฤติกรรมคิดกังวลเรื่องเดิมๆ แล้วต้องทำซ้ำๆ เพื่อให้ตัวเองสบายใจมากถึง 4-5 รอบ ก็ควรพิจารณาว่าอาจเข้าข่ายผู้ป่วยโรคนี้ก็เป็นได้

เรื่องที่ผู้ป่วยย้ำคิดย้ำทำมีความกังวล ได้แก่

กังวลเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น อย่างในคนที่กังวลเรื่องความสะอาด กลัวเชื้อโรค ก็อาจล้างมือซ้ำๆ จนมือเปื่อย ผิวแห้ง แต่คนพวกนี้มักไม่พบจิตแพทย์ แต่จะเข้าไปพบแพทย์ด้านผิวหนังแทน ซึ่งแพทย์ผิวหนังจะเจอผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมล้างมือซ้ำๆ จำนวนมาก บางรายกังวลเรื่องความเป็นระเบียบของข้าวของต่างๆ หากใครเลื่อนหรือขยับสิ่งของผิดจากที่ไป จะรู้สึกไม่สบายใจ เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นมาจาก

ความผิดปกติของสารเคมีในสมองคือมีปริมาณเซโรโทนินที่ผิดปกติไป รวมถึงพันธุรกรรม ที่เป็นอีกปัจจัยสำคัญ คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรค เมื่อมีสิ่งมากระตุ้นจึงทำให้เกิดอาการขึ้น อย่างเช่นในคนที่ลืมปิดก็อกน้ำ แล้วหลังเกิดเหตุมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำในเรื่องนั้น ก็เป็นเพราะตัวบุคคลดังกล่าวมีความเสี่ยงอยู่แล้ว กลับกันถ้าหากเกิดเหจุการณ์เดียวกันกับผู้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็จะมีพฤติกรรมกังวลเรื่องนั้นอยู่เพียง 2-3 วันก็หายไป

สำหรับโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นโรคทางจิตเวชที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล

ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวจะได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากในบางรายอาจหมดเวลาไปกับเรื่องของการวิตกกังวลเพียงเรื่องเดียวทั้งวัน และคนกลุ่มนี้มักต้องการคำยืนยันจากญาติ อย่างกรณีตัวอย่างพบผู้ป่วยต้องโทรถามญาติให้ยืนยันว่าได้กระทำในสิ่งที่ตนกังวลไปแล้วหรือยัง ผลกระทบต่อชีวิตถ้าหากเป็นวัยเรียนมักจะฟังอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง เพราะต้องมาย้ำทำกับเรื่องที่กังวลใจ บางรายเคยมีอาการตอนอายุ 13-14 ปี แล้วหายไปก่อนจะกลับมามีอาการใหม่ในอายุ 20 ปี

การรักษามีอยู่ 2 วิธี คือ

พฤติกรรมบำบัดและการใช้ยา สำหรับพฤติกรรมบำบัด เช่น ถ้าหากผู้ป่วยที่กลัวเชื้อโรคบนลูกบิด ต้องปรับโดยการให้ผู้ป่วยจับลูกบิด แล้วห้ามล้างมือ 5 นาที จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเป็น 10 นาที 15 นาที ตามลำดับ ซึ่งวิธีการรักษานี้จะช่วยส่งผลดีในระยะยาว

โดยทั่วไปโรคนี้สามารถหายขาดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นๆ หายๆ มากกว่า อย่างบางรายที่มีอาการรุนแรง พอได้รับการรักษาก็จะอยู่ในอาการสงบ แต่บางคนหายแล้วก็สามารถกลับไปเป็นอีกได้เมื่อได้รับการกระตุ้น

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “”ย้ำคิดย้ำทำ”อาการของคนคิดมาก : Rama Square “ ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7