05-01
หน้าแรก
การเข้าพบจิตแพทย์
การเข้าพบจิตแพทย์

หลายคนบอกว่าคนที่ต้องไปพบจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวช คือ คนบ้า คนโรคจิต เวลาไปพบแพทย์จึงมีความเขินอาย ปิดเป็นความลับ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วนี่เป็นแนวทางการรักษาทางหนึ่ง และไม่จำเป็นเสมอไปว่าการเข้าพบจิตแพทย์จะหมายความว่าคุณนั้นเป็นคนโรคจิต

ทั้งนี้คนที่เหมาะสมจะไปพบจิตแพทย์หรือเข้ารักษาอาการต่างๆ จะต้องมีปัญหาอย่างไรบ้าง หรือมีอาการยังไงถึงเหมาะสมควรที่จะมารับการรักษา ลองไปดูกันเลย

  1. มีความวิตกกังวล ไม่สบายใจ
  2. นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร มีความเครียด
  3. อาการคล้ายชักกระตุก คล้ายอัมพาต หรือเหมือน ผีเข้า
  4. กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ
  5. ย้ำคิดย้ำทำอยู่เสมอ
  6. เศร้าโศก เสียใจ คิดฆ่าตัวตาย
  7. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
  8. เหนื่อยหน่าย ท้อแท้
  9. เพ้อคลั่ง อาละวาด พูดจาเพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน
  10. หลงผิด หวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพแปลกๆ
  11. เฉยเมย แยกตัวเอง ไม่ค่อยพูด ซึมเศร้า ฯลฯ
  12. ติดสารเสพติด สุรา
  13. มีปัญหาด้านความจำ หลงลืมง่าย

ทั้งนี้อาจจะไม่ได้พบว่าเป็นปัญหาครบทุกข้อ แต่ถ้าหากเป็นข้อใดข้อหนึ่งก็สามารถที่จะมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการรักษาต่อไปได้แล้ว

ขั้นตอนในการรับบริการที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวช

  • ผู้ที่ยังไม่มีแฟ้มประวัติของโรงพยาบาล ต้องไปติดต่อขอทำแฟ้มประวัติที่หน่วยเวชระเบียนก่อน (อาคาร 4 ชั้น 1)
  • ผู้ที่มีแฟ้มประวัติของโรงพยาบาลแล้ว มาติดต่อที่แผนกจิตเวช อาคาร 4 ชั้น 2 ทำแฟ้มประวัติของแผนกจิตเวช เพื่อติดตามผลการรักษาและทางแผนกจะเก็บรักษาไว้เป็นความลับชั่งน้ำหนัก ตรวจร่างกาย และรับคำแนะนำเรื่องการมาใช้บริการ แล้วรอพบจิตแพทย์ หลังพบจิตแพทย์แล้ว ติดต่อโต๊ะนัด เพื่อรับบัตรนัดตรวจครั้งต่อไป

ขั้นตอนในการรับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชสำหรับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น

กรุณาติดต่อขอวันนัดล่วงหน้าก่อนที่จะมาพบจิตแพทย์เด็ก เพราะการตรวจรักษาผู้ป่วยเด็ก ช้เวลามากกว่าผู้ใหญ่ นัดบิดา มารดา หรือผู้ใกล้ชิดในการเลี้ยงดูเด็ก มาให้ประวัติการเจ็บป่วย และการเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบันโดยละเอียด เพื่อให้การรักษาได้ผล ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัด รับประทานยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรปรับยาเอง หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานยา กรุณาสอบถามแพทย์ที่ดูแลรักษาไม่ควรขาดการติดต่อเกิน 3 เดือน สำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาแล้วมีอาการผิดปกติมากขึ้น สามารถรับตรวจรักษาก่อนวันนัดได้

 

ข้อมูลจาก
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
การบริการของภาควิชาจิตเวชศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7