กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ
หน้าแรก
กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ ?
กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ ?

นิสัยที่ชอบ กัดเล็บตัวเอง เวลาว่าง เหม่อ หรือตอนที่ต้องการใช้สมาธิจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พฤติกรรมแบบนี้อาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ซึ่งหากมีพฤติกรรมการกัดเล็บบ่อย ๆ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคทางจิตเวชได้อีกด้วย

นิสัยกัดเล็บเกิดจากอะไร

ในปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด รู้สึกเบื่อ วิตกกังวล หรืออุปนิสัยส่วนตัวที่ชอบกัดเล็บนอกจากนี้พันธุกรรมก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดเล็บได้

ชอบกัดเล็บเกิดกับใครได้บ้าง ?

พฤติกรรมชอบกัดเล็บที่พบเห็นบ่อยจะเป็นช่วงวัยเด็ก แต่ในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ก็พบได้บ่อยเช่นกัน โดยนิสัยชอบกัดเล็บจะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพฤติกรรมชอบกัดเล็บอาจเกิดขึ้นจากนิสัยของคนที่เสพติดความสมบูรณ์แบบ มีความกดดันในตัวเองสูง จึงทำให้แสดงความเครียดออกมาทางพฤติกรรม เช่น กัดเล็บ ดึงผม การดึงหรือถูผิวหนังที่บริเวณต่าง ๆ เช่น จมูกเล็บ ริมฝีปาก

กัดเล็บบ่อย ๆ เสี่ยงติดเชื้อโรค

การกัดเล็บนอกจากจะทำให้เล็บไม่สวย ยังมีความเสี่ยงทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียที่มาจากช่องปากรวมไปถึงเชื้อโรคที่ติดอยู่รอบ ๆ เล็บจากการสัมผัสสิ่งของในชีวิตประจำวันแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น เชื้อราที่เล็บ ปัญหาช่องปากและลำคออักเสบจากการติดเชื้อ และเนื้อบริเวณนิ้วอักเสบติดเชื้อได้

กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ

ความรู้สึกของคนชอบ กัดเล็บตัวเอง

  • ไม่สบายใจหรือวิตกกังวล
  • เครียดจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การเรียนและการทำงานรู้สึกโล่งใจ มีความสุขหลังจากได้กัดเล็บ
  • ละอายใจ รู้สึกผิดเมื่อมองเห็นสภาพผิวหนังและเล็บของตัวเอง
  • กลัวคนอื่นเห็นเล็บ

ความเสี่ยงของการกัดเล็บ

  • เล็บผิดรูปร่าง

การกัดเล็บทำให้เนื้อเยื่อของเล็บเสียหาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่สร้างมาใหม่มีรูปแบบผิดปกติ ผิดรูปไปจากเดิม

  • ติดเชื้อ

การกัดเล็บอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เพราะเล็บเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่เกิดจากการใช้มือหยิบจับสิ่งของในชีวิตประจำวัน การกัดเล็บจึงเสี่ยงที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้การกัดเล็บอาจทำให้ผิวหนังบริเวณเล็บหลุดหรือเกิดแผลทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เช่นเดียวกัน

  • ฟันเสียหาย

การกัดเล็บอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน เช่น ฟันร้าว ฟันบิ่น หรือแตกหัก นอกจากนี้อาจส่งผลให้กรามหรือกระดูกขากรรไกรเกิดความผิดปกติได้

  • บุคลิกภาพต่อบุคคลรอบข้าง

ทำให้สูญเสียความมั่นใจและบุคลิกภาพที่ดีต่อบุคคลรอบข้าง

ติดนิสัย กัดเล็บตัวเอง เข้าข่ายเป็นโรคจิตเวชหรือไม่ ?

การกัดเล็บตัวเองหากไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยหรือทำเป็นประจำ จนทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ติดเชื้อ มีการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวหรือคนรอบข้างก็ไม่มีอันตรายอะไรเพียงแค่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากเกิดการกัดเล็บตัวเองจริงจังเกินไป ห้ามตัวเองไม่ได้ และกัดเล็บจนก่อให้เกิดผลเสียตามมา อาการแบบนี้อาจเข้าข่ายภาวะของโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้นได้ หรือโรคกัดเล็บ (onychophagia) เป็นคำใช้เรียกคนที่มีพฤติกรรมชอบกัดเล็บเป็นประจำหรือเรื้อรัง

กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ

 

กัดเล็บตัวเองแบบไหนเข้าข่ายโรคจิตเวช

  • กัดเล็บขณะเหม่อลอย
  • ไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองอยู่
  • กัดเล็บจนเล็บผิดรูปหรือเป็นแผล
  • รู้สึกอายเล็บตัวเอง พยายามไม่ให้ใครเห็นเล็บมือ
  • มีอาการอื่นแสดงร่วมกับการกัดเล็บ เช่น ดึงผม แกะเกาผิวหนัง กัดริมฝีปาก หรือเขย่าขา
  • ต้องทะเลาะกับผู้อื่นบ่อย ๆ เนื่องมาจากพฤติกรรมกัดเล็บของตัวเอง

กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ

วิธีป้องกันการ กัดเล็บตัวเอง

  • ตัดเล็บให้สั้น
  • ทาครีมหรือเจลเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับมือ
  • ทาบอระเพ็ดหรือวัตถุดิบที่มีรสขมบริเวณนิ้ว
  • ทาเล็บ แต่งตกเล็บ 
  • ติดพลาสเตอร์แปะแผล 
  • สวมถุงมือ
  • เคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อช่วยให้ปากไม่ว่าง
  • รับมือกับภาวะอารมณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
  • ผ่อนคลายสมองและอารมณ์ เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และทำสมาธิ
  • หากมีปัญหาด้านอารมณ์อย่างรุนแรงควรปรึกษาแพทย์
  • ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทีละน้อย

พฤติกรรมการกัดเล็บตัวเองจนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ควรสังเกตพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึกของตัวเองให้ดี หากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินอาการ และรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7