ตอบไม่ให้แพ้
ทันทีที่สิ้นเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น...เสียงปลายสายที่ดังกรอกหูแบบจิตตกปนเศร้า ทําเอาผมร่วมตกใจไปด้วยอีกคน “เฮีย !!!!! สรุปเจ้าเต มันเป็นโรค จี - 6 - พีดีอ่ะ เครียดเลยทําไงดี ???” ครับเจ้า “เต” ด.ช.เตชพัฒน์ คือ หลานคนแรกของสายเลือดฝั่งแม่ของผมหลานคนแรกที่ทําให้พี่น้องทุกคนร่วมตื่นเต้น และ “รอคอย” การมีสภาพบุคคล ตามมาตราที่ 15 ในตัวบทกฎหมายของเด็กคนนี้แต่ “ข่าวร้าย” ซึ่งเป็นประโยคบอกเล่าของน้องสาว และผสมมาด้วย “คําถาม” ที่ต้องการ “คําาตอบ” สําหรับนํามาจัดการชีวิตในฐานะ “แม่” โดยเฉพาะ “แม่มือใหม่” ที่คอยประคบประหงมลูกน้อยในครรภ์มานานกว่า 40 สัปดาห์
ทําให้ผมเครียดกับการจัดการ “คําตอบ” ของเรื่องนี้โดยไม่รู้ว่าจะตอบยังไงให้น้องสาวสบายใจ หรือจะต้องปลอบยังไง ให้เขามีกําลังใจเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็น “พลังทางใจ” ในการดูแลลูกน้อยให้เติบใหญ่แข็งแรงสมวัยที่สําคัญผมก็ไม่รู้ว่าโรค จี - 6 – พีดี เป็นอย่างไร และเราจะต้อง “ดูแลรักษา” ผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไรแต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้ คือ ในห้องคลอดทันทีที่พยาบาลขานบอกเวลาไปพร้อมกับแพทย์ใช้ลูกยางสีแดงดูดน้ำคร่ำในช่องปากช่องจมูกให้ทารกหายใจเองได้ และเมื่อแพทย์ใช้แคลมป์ 2 ตัวหนีบสายสะดือไว้ พร้อมบรรจงตัดแยก “สายสะดือ” ซึ่งเป็นดั่ง “สายชีวิต” ของทารกน้อยที่ไว้เชื่อมต่อกับครรภ์มารดา ด้วยคมกรรไกรช่วงเวลานั้นเอง คือ ช่วงเวลาสําคัญที่เปลี่ยน “สายสะดือ” ให้กลายเป็น “สายสัมพันธ์” ระหว่าง “แม่” และ “ลูก”สายสัมพันธ์ของ “ใจ” ที่ไม่มี “กรรไกร” คมไหนตัด “แยก” ขาดจากกันได้อีกเลยฉะนั้นคําตอบที่ผมจะต้องใช้ตอบ !!!. ต้องไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อสายสัมพันธ์ทางใจของน้องสาว
พอผมคิดได้แบบนั้น ผมจึงรีบร้องขอความช่วยเหลือจาก “อาจารย์ส้ม” “อาจารย์แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค” บรรณาธิการนิตยสาร @ Rama และได้รับคําแนะนําให้เข้าใจใน “บริบทของโรค” นี้ได้เพิ่มมากขึ้น “...โรคนี้ถือว่าไม่น่ากลัวเลย คนป่วยมีชีวิตเหมือนคนปกติเลยค่ะเพียงแต่ว่าต้องระวังและหลีกเลี่ยงอาหาร และยาที่ส่งผลต่ออาการแพ้เพราะถ้ารับสิ่งที่ร่างกายแพ้เข้าไป จะทําให้เม็ดเลือดแดงแตก และซีด ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่โรคนี้จะสําคัญอยู่ในช่วงวัยเด็กวัยที่คนป่วยจะดูแลตัวเองไม่ได้ ยังไม่สามารถไตร่ตรองถูกผิด ในการกินอาหารกลุ่มเสี่ยงได้ แต่พอโตขึ้นก็จะจัดการตัวเองได้...” ครับ !!! จริงอยู่แม้โรคนี้จะดูเหมือนเป็นโรคที่ “ไม่ร้ายแรง” นักแต่หลักใหญ่ใจความที่ผมคิด ว่าเป็น “ความยาก” ในการ “จัดการ” กับผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการดูแลผู้ป่วยใน “วัยเด็ก” วัย 2 – 5 ขวบ วัยที่กําลังสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเองวัยที่มัก “คับข้องใจ” กับ “ข้อห้าม” และเต็มไปด้วย “อารยะขัดขืน” อยู่ร่ำไปรวมถึงเป็นวัยที่ต้องเริ่มต้น “เดินจาก” อกพ่อแม่สู่โลกกว้างในวัยเรียนซึ่งเต็มไปด้วย “สิ่งเร้า” ที่ทําให้เกิดอาการของโรคได้มากมาย
การใส่ใจในรายละเอียด และเตรียม “คําตอบ” ให้กับเด็กวัยนี้จึงสําคัญแล้วการเตรียม “คําตอบ” เราควรทําอย่างไรล่ะ !?! คําตอบแบบไหนที่จะทําให้ “เด็กเข้าใจ” และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ทําให้เกิดอาการแพ้ ??? ผมรีบตั้งคําถามให้กับตัวเอง !!!!! อย่างน้อยก็จะได้มี “หลักคิด” ในการใช้ตอบคําถามให้กับน้องสาวของผมด้วยเช่นกันแต่อยู่ๆ ผมก็คิดถึงเรื่องเล่าขําๆ เรื่องนี้ขึ้นมาประมาณว่า...
เย็นวันหนึ่ง พ่อกับแม่คู่หนึ่งขับรถไปรับลูกสาววัย 5 ขวบกลับจากโรงเรียนเช่นทุกวันระหว่างทางกลับบ้าน ลูกสาวนั่งนิ่ง....เงียบ...สีหน้าดูเคร่งเครียด ไม่ถามนู่นถามนี้อย่างเช่นทุกวันถึงบ้าน ระหว่างทานอาหารเย็น แม่จึงเอ่ยถามลูกน้อยว่า “วันนี้มีอะไรไม่สบายใจหรือเปล่าลูก ที่โรงเรียนมีเรื่องอะไรหรือเปล่า” “มีค่ะ” ลูกน้อยตอบ พร้อมกับพูดต่อว่า “เพื่อนถามว่าหนูมาจากไหน” เมื่อพ่อกับแม่ได้ฟัง กลับยิ่งเครียดหนักกว่าลูกอีก และได้สัญญากับลูกน้อยว่า ระหว่างอาหารเย็นวันพรุ่งนี้ จะให้คําตอบ คืนนั้นทั้งคืน หลังจากลูกหลับแล้ว พ่อกับแม่ได้ปรึกษากันถึงคําตอบ ว่าควรจะอธิบายให้ลูกวัย 5 ขวบ ฟังอย่างไรจึงจะเข้าใจว่า...เขามาจากไหนวันต่อมา ในระหว่างอาหารเย็นตามปกติ แม่จึงชี้ให้ลูกมองไปที่นอกบ้าน และพูดกับลูกว่า “ลูกเห็นนกคู่นั้นมั้ย ? นกมันรักกัน เห็นผีเสื้อคู่นั้นมั้ย ? นั่นมันก็รักกันก็เหมือนพ่อกับแม่นี่แหละ พ่อกับแม่ก็รักกัน แต่งงานกัน (อื่นๆ อีกมากมายไม่อาจบรรยายหมด) และหนูก็เกิดจากความรักระหว่างพ่อกับแม่ไงจ๊ะ” เมื่อลูกได้ฟังคําตอบ จึงพูดกับแม่ว่า “โห !!! ทําาไมยุ่งยากจังล่ะคะ” แม่จึงเอ่ยขึ้นว่า “แล้วเพื่อนหนูเขาบอกหนูว่า เขามาจากไหนกันบ้างล่ะ” ลูกสาวจึงตอบแม่ว่า... “เพื่อนหนูเขาบอกว่า...เขามาจากนครนายก”
ครับ!!! จากเรื่องเล่านี้ ผมเลยปิ๊งแว๊บขึ้นมาทันทีว่า “คําตอบ” ที่ดีสําหรับเด็กควรเป็นคําตอบที่เราไม่ต้องคิดเยอะ และควรเป็น “คําตอบง่าย ๆ” ที่ฟังแล้วเข้าใจเลยแต่หากจําเป็นจะต้องตอบคําถามให้กับ “ผู้ใหญ่” โดยเฉพาะคําตอบเพื่อใช้แก้ไข “ปัญหาชีวิต” คําตอบที่ดีและถูกต้องที่สุด จึงควรเป็นคําตอบที่ตรงกับ “ความต้องการ” เป็นสําคัญพอคิดได้แบบนั้น คําตอบที่เหมาะกับน้องสาวที่สุด และผมควรรีบโทรตอบกลับไปบอกคือ... “เฮียว่า!!!..เอ็งไปปรึกษาหมอเถอะ”
จี-6-พีดี
จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการถูกทําาลายของเม็ดเลือดแดงจากยา อาหาร หรือสารเคมีบางชนิด
ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD
ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดงนั้นเป็นภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีน G6PD ที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้นภาวะนี้จะติดตัวไปตลอดชีวิตและอาจถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ ยา อาหาร หรือสารเคมีบางอย่างอาจกระตุ้นให้ผู้มีภาวะนี้เกิด อาการเม็ดเลือดแดงแตก ซีดลงและมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง และปัสสาวะเป็นสีดําหรือสีโค้กได้ ดังนั้นผู้มีภาวะนี้ควรทราบรายชื่อยา อาหาร และสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ในแต่ละบุคคลนั้น อาการแสดงของภาวะเม็ดเลือดแดงแตก อาจรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นกับระดับของภาวะพร่องเอ็นไซม์ซึ่งแตกต่างกันไปและขึ้นกับขนาดของยา ปริมาณอาหารหรือสารเคมีที่ได้รับด้วย ดังนั้นจึงจําเป็นต้อง แจ้งให้แพทย์ทราบถึงการมีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ก่อนการรักษาทุกครั้ง
การปฏิบัติตัว
- แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่ามีภาวะนี้
- เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ไม่ซื้อยารับประทานเอง
- เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที
- หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
- เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคําาปรึกษาและแนะนําจากแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงอัตราเสี่ยงของการที่บุตรจะมีภาวะนี้
ยาที่ควรหลีกเลี่ยง
- ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
กลุ่มยา Quinolones (ควิโนโลน) ซัลฟา Nitrofurans (ไนโตรฟูแลน)
- ยากลุ่มอื่นๆ
ยารักษามาลาเรีย ยาเคมีบําบัด Genitourinary analgesic Antimethemoglobinemic agent
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ถั่วปากอ้า บลูเบอร์รี่ ไวน์แดง ฯลฯ
สารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง
- ลูกเหม็น การบูร พิมเสน สารหนู ฯลฯ