Adolescence

 
 
Adolescence คือ transition pariod ระหว่าง childhood และ adulthood ซึ่งจะมีการพัฒนาทั้งทางด้าน biological psychological และ social อย่างมาก เป็นระยะ เวลาที่มีการเตรียมพร้อมสำหรับบทบาทของ Adulthood ไม่สามารถกำหนดอายุที่เริ่มต้น ระยะเวลา ของช่วงวัยรุ่น อายุสิ้นสุดของวัยรุ่นอย่างแน่นอน เนื่องจากแตกต่างไปในแต่ละบุคคลและขึ้นอยู่กับสภาพ สังคมนั้นๆด้วย
 
Puberty คือการเปลี่ยนแปลงทางด้าน biological จากวัยเด็กไปเป็นวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะมี การเปลี่ยนแปลงด้าน physical และ sexual maturation อย่างมาก หลังจากมี maturation ของ hypothalamus-hypopituitaryadrenal-gonadal-axis
 
ในชว่ง 150 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มว่าเด็กเข้าสู่ puberty เร็วขึ้นกว่าเดิม เช่น พบว่าเด็ก ผู้หญิงโดยเฉลี่ยจะมีประจำเดือนครั้งแรกเร็วขึ้น 2-3 เดือน ในช่วงเวลา 10 ปี ซึ่งเกิดจากการมี สุขภาพและโภชนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็มีแนวโน้มว่าอายุที่เริ่มมีประจำเดือนของเด็กหญิงเริ่มคงที่
 
โดยทั่วไป adolescence มักเกิดขึ้นพร้อม ๆกับ puberly แต่ไม่จำเป็นเสมอไป มีแนว โน้มว่าเด็กเข้าสู่ puberly เร็วขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่นระยะเวลาที่ใช้ในการ ศึกษานานกว่าเดิม ทำให้ระยะชีวิตในช่วงวัยรุ่นยาวนานขึ้นกว่าเดิม วัยรุ่นจะมีเวลาในการปรับตัวเพื่อ เป็นผู้ใหญ่นานขึ้นแต่ก็อาจทำให้วัยรุ่นมีปัญหาในการปรับตัวมากขึ้นด้วยเช่นกัน
 
puberty จะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้าน physical ซึ่งแสดงออกโดย physical ซึ่งแสดงออกโดย secondary sexual characteristics
adolescence จะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้าน psychological
 
มีการศึกษาพบว่าเด็กผู้ชายที่เข้าวัยหนุ่มช้า มักจะมีความรู้สึก personal inadaquacy รู้สึกถูก rejected มี prolonged dependency needs เด็กผู้ชายที่เป็น early-mature จะมีลักษณะ self-confident และ independent มากกว่า สามารถแสดงบทบาทในสังคมได้ เหมาะสม มักเป็นผู้นำ และมีระดับความฉลาดโดยเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่เป็นหนุ่มช้า
ตรงกันข้ามกับเด็กหญิงที่เป็นสาวเร็ว มักมีปัญหาความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า และมี พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้บ่อย มีลักษณะขี้อาย ชอบที่จะเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ ส่วนเด็กที่เป็นสาว ช้ากว่ามักมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจเป็นสาวได้ราบรื่นกว่า ทำให้มีความสามารถ ความรับผิดชอบ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีกว่า

ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาในวัยรุ่น

Psychosexual development ตามทฤษฎีของ Sigmund Freud วัยรุ่นจะอยู่ในระยะ genital stage คือเริ่มตั้งแต่ puberty จนถึง adulthood เป็นระยะที่มี physiological maturation ของ ganital (sexual) system ฮอร์โมนเพศต่างๆจะมีผลต่อ sexual drive ทำให้มีการกลับคืนมาของความขัดแย้งในจิตใจ คือ ocdipal feeling เหมือนระยะ phallic stage คือ เมื่อสามารถ resolution conflicts เหล่านี้ได้ ก็จะเกิด mature sexual identity และ adult identity สามารถที่จะมี separation จาก dependence และ attachment ต่อบิดา มารดาได้ สามารถมี mature nonincestous object relation ได้
 
Psychosocial development ตามทฤษฎี psychosocial development ของ Erik Erikson เชื่อว่าการพัฒนาของมนุษย์จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ การที่จะผ่านแต่ละขั้นตอนไปได้จะต้องมี resolution ของ internal crisis ที่เฉพาะของแต่ละขั้นตอนไปได้เสียก่อน Erik Erikson ยอมรับทฤษฎีของ Freud ในเรื่องของ infantile sexuality แต่ Erikson เชื่อว่าไม่เพียงแต่ ปัจจัยภายในจิตใจเท่านั้นที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยจากภายนอกทางด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งที่มีผลต่อการพัฒนาของมนุษย์ด้วย
 
ระยะวัยรุ่นอยู่ในขั้นตอนที่ 5 ของทฤษฎี psychosocial development มี internal crisis คือ Identity vorsus role diffusion การพัฒนา sense of identity เป็นสิ่ง สำคัญของระยะนี้ identity คือ ทราบว่าตนเองเป็นใคร และมีอนาคตไปในทิศทางใด ความสำเร็จ ของการพัฒนาระยะนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการพัฒนาขั้นตอนต่างๆที่ผ่านมาก่อน เช่น basic trust, autonomy, initiative, industry identity มีความหมายรวมถึงความรู้สึกที่เป็นอันเดียวกับ ความรู้สึกและค่านิยมของสังคมด้วย identity crisis เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ หากไม่สามารถผ่าน crisis นี้ไปได้จะเกิด identity diffusion หรือ role confusion คือไม่มี sense of self ไม่แน่ใจตนเองในฐานะบุคคลหนึ่งในสังคม อาจแสดงออกโดยพฤติกรรมที่มีปัญหาต่างๆ เช่น running away, อาชญากรรม หรือโรคจิตได้
 
Cognitive development ตามทฤษฎี cognitive development โดย Jean Piaget ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฎีของ Freud เช่นเดียวกัน แต่ Piaget ให้ความสนใจในเรื่องว่าแต่ละขั้นตอน ของชีวิตมนุษย์มีวิธีคิดหรือวิธีหาความรู้ได้อย่างไร
ระยะวัยรุ่น ตามทฤษฎี cognitive development อยู่ในระยะที่เรียกว่า Formal operation เป็นระยะที่วัยรุ่นมีความสามารถในการคิดแบบนามธรรม,ให้เหตุผลเชิง deductive มีความคิดแบบรวมยอดได้ มีลักษณะความคิดแบบ highly logical, systematic and symbolic manner มีความสามารถในด้านพีชคณิต เข้าใจความหมายของความน่าจะเป็น รู้จักใช้สมมุติฐานในการ อธิบายข้อมูลหรือการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ มีการใช้ภาษาที่สลับซับซ้อนได้ การมีความคิดแบบนามธรรม แสดงออกโดยมีความสนใจในเรื่องของปรัชญา, ศาสนา จริยธรรม การเมือง และอื่นๆ
 
มีความสามารถในการคิดแบบ hypothetico-deductive ซึ่งเป็นความสามารถด้าน cognition ที่สูงสุด การที่วัยรุ่นสามารถมีความคิดแบบ formal operation ได้ขึ้นอยู่กับความ สามารถของแต่ละคนประสบการณ์การเรียนรู้ บางคนก็ไม่สามารถมีความคิดในระดับ formal operation ได้เลย
 
โดยสรุประยะวัยรุ่นมี developmenta tasks ที่สำคัญ 5 อย่างด้วยกันคือ
  1. Separation from parents commensurate with being able to decide the course of one’s own life
  2. Attainment of a stable sexual identity
  3. Ability to form a long-term sexual relationship
  4. Attainment of a stady job or the preparation for a career
  5. Attainment of a personal value system that respocts both both the needs of the self and the needs of others.

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม

วัยรุ่นระยะต้น

การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ สภาพอารมณ์ของเด็กวัยรุ่นระยะนี้จะไม่คงที่นัก เปลี่ยน แปลงง่ายและรวดเร็ว วู่วาม ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ดังกล่าวได้แก่ ฮอร์โมนเพศ, สภาพร่างกายและสังคมที่เปลี่ยนแปลง
 
วัยรุ่นจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ทางเพศและ พฤติกรรมทางเพศ อาจไม่แน่ใจในความเป็นชายหรือหญิงของตน ไม่แน่ใจว่าสิ่งใดปกติและสิ่งใด ที่ผิดปกติ ซึ่งต้องให้ความรู้แก่วัยรุ่นว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ควบคุมไม่ได้ แต่พฤติกรรม เป็นิส่งที่ควบคุมหรือบังคับได้ เช่นวัยรุ่นจะต้องเรียนรู้วิธีการข่มอารมณ์ทางเพศหรือเปลี่ยนไปในทาง ที่สังคมยอมรับ มีหลักที่จะช่วยอธิบายวัยรุ่นถึงสิ่งใดที่ปกติและสิ่งใดที่ผิดปกติ คือสิ่งที่ปกติคือสิ่งที่ ปฏิบัติกันมาก เป็นเรื่องธรรมดาหรือธรรมชาติ ไม่ผิดศีลธรรม และไม่เป็นอันตราย
 
นอกจากนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมที่มีผลต่ออารมณ์คือ วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องย้าย จากโรงเรียนประถมไปโรงเรียนมัธยม ทำให้ต้องปรับตัวกับสภาพใหม่ กลุ่มเพื่อนใหม่และการเรียน ที่ยากขึ้น ต้องแข่งขันมากขึ้น วัยรุ่นมีการเลือกคบกับเพื่อนที่เข้าวัยหนุ่มสาวใกล้เคียงกัน ทำให้เพื่อน ที่โตช้ากว่าอาจรู้สึกว่าเพื่อนทอดทิ้ง น้อยใจที่เพื่อนเป็นสาวเร็วกว่า ปลีกตัวไปมีเพื่อนใหม่ วัยรุ่นระยะ ต้นชอบที่จะสนิทสนมกับเพื่อนเพศเดียวกัน

อิทธิพลของเพื่อนในวัยรุ่นระยะต้น

การมีเพื่อนสนิทในวัยรุ่นนี้เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เพราะเป็นการบอกถึงทักษะด้าน มนุษยสัมพันธ์ การมีเพื่อนสนิท ทำให้สามารถเรียนรู้บทบาทและกฎเกณฑ์สังคม และเป็นรากฐานของการ มีมนุษยสัมพันธ์ในวันต่อมาวัยรุ่นต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ ลักษณะของเพื่อนที่วัยรุ่นคบ บอกถึงความรู้สึกหรือภาพลักษณ์ต่อตนเอง เพื่อนทำให้ผ่อนคลายความรู้สึกผูกพันต่อบิดามารดาลง เพื่อเตรียมตัวก้าวไปสู่ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองต่อไปกลุ่มเพื่อนทำให้วัยรุ่นได้เรียนรู้บทบาทหรือสถานภาพของเขาในสังคม เช่น มีสภาพเป็นผู้นำหรือผู้ตาม อารมณ์รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในระยะนี้

วัยรุ่นระยะกลาง

เป็นระยะที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 15-17 ปี ทางด้านอารมณ์และจิตใจค่อนข้างราบรื่น กว่าวัยรุ่นระยะต้น เริ่มยอมรับสภาพร่างกายและความเป็นเพศชายหรือหญิงของตน การคบเพื่อนจะมี ลักษณะต่างไปจากวัยรุ่นระยะต้น
 
วัยรุ่นจะชอบคบกับเพื่อนทั้งหญิงและชาย มีมิตรภาพที่ยาวนาน และมั่นคงกว่ามิตรภาพในช่วงวัยเด็ก มีการสร้างมิตรภาพกับเพื่อนใหม่ๆ ขยายวงกว้างขึ้น วัยรุ่นมีเจตคติที่ขัดแย้งต่อต้านผู้ใหญ่
 
การพัฒนาทางสติปัญญา วัยรุ่นเป็นวัยที่มีแรงผลักดันทางเพศรุนแรง แต่ก็เป็นเวลาเดียวกัน ที่วัยรุ่นมีสติปัญญาเพิ่มพูนมากขึ้น สามารถที่จะหาทางออกให้กับแรงผลักดันทางเพศอย่างเหมาะสม นอกจากจะมีความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ คิดไปถึงอนาคตได้ วัยรุ่นยังสามารถที่จะวิเคราะห์ และประเมินความสามารถของตนเอง
 
วัยรุ่นระยะนี้มักจะเชื่อมั่นในความคิดของตนเองมากเกินไป และมองสิ่งต่างๆอย่างแคบๆ เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ มีความคิดเพ้อฝัน ที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆในสังคมตามอุดมคติ ยากที่จะ ยอมรับว่าความคิดเห็นของตนไม่ถูกต้องหรือแตกต่างจากผู้อื่น (ego centricity) ทำให้เกิดความ ขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ซึ่งความคิดยึดมั่นนี้จะค่อยๆลดลงเมื่อวัยรุ่นมีประสบการณ์มากขึ้น
 
การที่วัยรุ่นสามารถคิดแบบ fornal operation ทำให้วัยรุ่นสนใจในเรื่องราวปรัชญา ความดีความชั่ว ศาสนา ความรัก รวมทั้งด้านการเมือง พยายามหาค่านิยมที่ตนเองคิดว่าถูกต้อง วัยรุ่นจะมีการเสริมสร้างคุณธรรม (superego) และค่านิยมสังคม (social ratue)ของตนเอง เพื่อความเป็นตัวของตัวเอง โดยมีพื้นฐานมาจากค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝังจากบิดามารดาตั้งแต่เด็ก