เก่งเลขคือหัวดี .... แต่เก่งภาษาเก่งสังคมคือดีแต่ท่อง ???

เก่งเลขคือหัวดี .... แต่เก่งภาษาเก่งสังคมคือดีแต่ท่อง ???

เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กเลยว่า ประเทศไทยเรานี้เชื่อว่า คนเก่งเลขเกิดมาหัวดีกว่าคนเก่งภาษาหรือสังคม เพราะพวกหลังมีแต่ท่องจำเก่ง มีงานวิจัย 2 ชิ้นที่ตีพิมพ์ในปี 2013 แสดงให้เห็นว่า การเก่งเลขไม่ได้เกิดจากหัวดีมาแต่เกิดแบบจุติ แต่เกิดจากการที่เด็กมีทัศนคติที่ดีกับการเรียนเลขและทุ่มเทให้กับวิชานี้มากเพียงพอ และงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในปี 2016 ที่บอกว่า เส้นทางของการเก่งเลขในเด็กประถม (ในสหรัฐอเมริกา) กับเด็กที่อ่านหนังสือได้แตกฉานนั้น อาศัยความสามารถพื้นฐานอย่างหนึ่งร่วมกัน (ทำนองว่าคนจะเก่งเปียโน หรือ guitar ก็ต้องอาศัยหูคือการได้ยินเป็นพื้นฐาน) นั่นคือ ทักษะการเรียกใช้ความจำ (memory retrieval) ซึ่งรวมถึงความสามารถย่อยๆ หลายอัน เช่น สมาธิ การใช้เหตุผล การมองเห็นเข้าใจสัญลักษณ์ (ไม่ว่าตัวเลข เครื่องหมาย หรือ ตัวอักษร) ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการเก่งเลขกับเก่งอ่านก็หัวดีเท่ากัน เพียงแต่นำทักษะมาใช้กับเรื่องที่เขามีทัศนคติที่ดีด้ว

อยากเพิ่มเติมว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ความจำดี ไม่ใช่เกิดจากการท่องแบบนกแก้วนกขุนทองหรือเครื่องกลบันทึกภาพเสียง แต่เขาเหล่านั้น “ฉลาด” ตั้งแต่การเลือกวิธีบันทึก เชื่อมโยงให้เกิดความเข้าใจในระดับที่สูงขึ้น ทำให้ค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้ง่ายกว่าคนที่พยายาม “จำ” กันดื้อๆ แบบท่อง

ถือโอกาสเสนอผู้ใหญ่ทางโรงเรียนว่า เมื่อนักเรียนจบมัธยมต้นอยากจะเรียนต่อมัธยมปลายสายวิทย์คณิต ไม่ควรใช้เกรดของนักเรียนมากีดกันโอกาสการเรียน แล้วผลักเด็กไปเรียนสาขาอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่า “ยาก” กับเด็กทั้งประเทศ ถ้าไม่ไปเกิดใหม่ไม่มีทางได้เรียน ซึ่งไม่น่าถูกต้อง

ข้อเขียนโดย รศ. นพ. ปราโมทย์ สุขนิชย์
หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี