ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (school refusal)

บทนำและคำนิยาม

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (school refusal) หมายถึง การที่เด็กหรือ วัยรุ่นไม่เต็มใจไปโรงเรียน อันสืบเนื่องมาจากความวิตกกังวลภายใน จิตใจ แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้หลายรูปแบบ เช่น ร้องโวยวายไม่ อยากไปโรงเรียน อ้างว่าไม่สบายไม่ยอมลุกจากเตียงนอนในตอนเช้า
 
ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนแตกต่างจากการหนีเรียน (truancy) ซึ่ง หมายถึงการที่เด็กหรือวัยรุ่นขาดเรียน โดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการเข้า เรียน มักจะพยายามปิดบังพฤติกรรมดังกล่าว และไม่มีความเกี่ยวข้อง กับความวิตกกังวลภายในจิตใจ ส่วนเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะไม่ยอมไป โรงเรียนมักจะแสดงพฤติกรรมต่อต้านไม่ยอมไปโรงเรียนให้เห็นอย่าง เปิดเผย พบว่าการหนีเรียนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่อ ต้านสังคมอื่นๆ (antisocial behaviors) เช่น การโกหก การกลั่นแกล้งผู้ อื่น
 
นอกจากนี้ยังมีคำว่า โรคกลัวโรงเรียน (school phobia) เป็นคำที่ ถูกใช้มาก่อนคำว่า ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (school refusal) โดยทั่วไป สามารถใช้แทนกันได้ ปัจจุบันความนิยมในการใช้คำว่าโรคกลัว โรงเรียนลดลง แต่บางครั้งอาจถูกใช้เพื่อต้องการเน้นอารมณ์กลัวที่เกิด ขึ้นในเด็กและวันรุ่นกลุ่มนี้ หรือ หมายถึงการที่เด็กมีความกลัวที่เจาะจง ต่อสถานการณ์บางอย่างที่โรงเรียน
 
แม้ตามระบบการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM – IV ค.ศ. 2000 ไม่ได้ จัดภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนเป็นโรคทางจิตเวช แต่ในทางเวชปฏิบัติเป็น ที่ทราบกันดีว่าภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนเป็นอาการเร่งด่วนทางจิตเวช เด็กและวัยรุ่นที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากการนำ เด็กกลับสู่โรงเรียนจะยิ่งยากมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่หยุดเรียน ซึ่งในผู้ป่วยบางรายการหยุดเรียนอาจยาวนานเป็นปี สามารถก่อให้เกิด ผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวทั้งด้านการศึกษาและความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างมาก

ประวัติศาสตร์ความเป็นมา

ในปีค.ศ. 1932 อิสรา ที บรอควิน (Isra T. Broadwin) ได้กล่าวถึง ความวิตกกังวลชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมขาดเรียน ภายหลังได้ มีการใช้คำว่า โรคกลัวโรงเรียน (school phobia) มาเรียกผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ต่อมาในปีค.ศ.1996 เอียน เบิร์ก (Ian Berg) ได้ศึกษาผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น ที่มีภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักจะมีลักษณะดังต่อ ไปนี้ 1.) มีปัญหาในการไปโรงเรียนจนส่งผลให้มีการขาดเรียนเป็นระยะ เวลานาน 2.) มีปฏิกริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง เมื่อจะต้องไปโรงเรียน เช่น หวาดกลัวอย่างมาก อาละวาด (temper tantrums) ร้องไห้ ก้าวร้าว รวม ถึงมีอาการทางกายที่ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง 3.) ใน ช่วงเวลาเรียนเด็กมักจะอยู่ที่บ้านกับผู้ปกครองและไม่ได้พยายามจะ ปกปิดเรื่องการไม่ไปโรงเรียนจากการรับรู้ของผู้ปกครอง 4.) ไม่มี พฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial behaviors) เช่น โกหก ลักขโมย รังแกข่มขู่ผู้อื่น ต่อมาลักษณะเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่า เกณฑ์การวินิจฉัยของ เบิร์ก (Berg’s criteria)
 
ปัจจุบันพบว่าภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนอาจเกิดร่วมกับโรคทาง จิตเวชได้หลายโรค เช่น โรควิตกกังวลเกี่ยวกับการแยกจาก (separation anxiety disorder) โรคบกพร่องด้านการเรียน (learning disorder) และ เป็นอาการที่นำผู้ป่วยและครอบครัวมาสู่การรักษามากขึ้น

ระบาดวิทยา

ในเด็กวัยเรียนพบมีภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนประมาณร้อยละ 1 ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการส่งตัวมารักษาพบได้ประมาณร้อยละ 5 เกิดกับเด็กและวัยรุ่นเพศชายเท่ากับเพศหญิง พบว่ามีช่วงอายุที่เกิด ภาวะนี้ได้บ่อย 2 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุ 5-­‐6 ปีและช่วงอายุ 10-­‐11 ปี

ลักษณะอาการ

ความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนแสดงออก มาเป็นอาการได้หลายรูปแบบ ทั้งด้านพฤติกรรม ด้านความคิดและด้าน สรีรวิทยา (physiological symptoms) ดังต่อไปนี้
 
  1. อาการด้านพฤติกรรม มีความรุนแรงได้ตั้งแต่แสดงว่าไม่อยากไป โรงเรียนเพียงเล็กน้อย เช่น พูดงอแงว่าไม่อยากไปโรงเรียน ขอร้องให้ หยุดรียน ไปจนกระทั่งถึงก้าวร้าวอาละวาดรุนแรง ต่อต้านขัดขืนไม่ยอม ลุกจากเตียง ไม่ยอมออกจากบ้านไปโรงเรียน ร้องไห้ด่าทอ ทำร้าย ร่างกายผู้ปกครอง ทำให้เกิดผลลัพท์ได้แตกต่างกันตั้งแต่สามารถไป โรงเรียนได้ทุกวัน แต่ผู้ปกครองต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติใน การนำเด็กไปโรงเรียน จนกระทั่งถึงขาดเรียนต่อเนื่องยาวนานเป็นปี บางรายอาจจะสามารถไปโรงเรียนได้ในตอนเช้า แต่ไม่สามารถอยู่เรียน ได้ครบทั้งวัน เช่น โทรศัพท์มาวิงวอนให้ผู้ปกครองมารับกลับบ้านก่อน เวลาเลิกเรียน
     
  2. อาการด้านความคิด ความคิดวิตกกังวลเกี่ยวกับการไปโรงเรียน อาจเริ่มมีได้ตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันก่อนที่จะต้องไปโรงเรียน แสดงออกเป็นคำพูดในเชิงไม่อยากไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้น แต่ในบาง รายเมื่อผู้ปกครองถามถึงการไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้นก็ยืนยันว่าจะไป แต่ พอถึงตอนเช้าขัดขืนไม่ยอมไปโรงเรียน บางรายอาจคิดวิตกกังวลจน กระสับกระส่ายหรือนอนไม่หลับ
     
  3. อาการด้านสรีรวิทยา ความวิตกกังวลอาจแสดงออกเป็นอาการ ทางกายต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียน เหงื่อออก มาก ท้องเสียถ่ายเหลว อาการเหล่านี้มักจะเป็นในช่วงเช้าที่จะต้องไป โรงเรียน เมื่อได้หยุดเรียนอยู่ที่บ้านมักพบว่าอาการเหล่าจะดีขึ้นหรือ หายไปในตอนสายๆ หรือตอนบ่าย และในวันที่ไม่มีการเรียน เช่น วัด หยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะไม่พบอาการเหล่านี้ ผู้ป่วย สามารถเล่นและทำกิจกรรมที่บ้านได้ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยงและโรคทางจิตเวชที่พบร่วม

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชหลาย โรคและพบร่วมกันได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคในกลุ่มโรควิตกกังวล จากการศึกษาของ เฮเลน แอล เอกเกอร์ (Helen L. Egger) และคณะ ใน ปีค.ศ. 2003 พบว่าในเด็กและวัยรุ่นอายุ 9-­‐16 ปีที่มีภาวะไม่ยอมไป โรงเรียนประมาณร้อยละ 25 จะมีโรคทางจิตเวชอย่างน้อย 1 โรคเปรียบ เทียบกับเด็กและวัยรุ่นที่ไม่มีภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนพบมีโรคทาง จิตเวชเพียงร้อยละ 7
 
โรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยคือ โรควิตกกังวลเกี่ยวกับการแยกจาก (separation anxiety disorder) โรควิตกกังวลไปทั่ว (generalized anxiety disorder) โรคกลัวแบบจำเพาะ (specific phobia) โรคกลัวสังคม (social phobia) โรคซึมเศร้า (depressive disorder) โรคบกพร่องด้านการเรียน (learning disorder)
 
นอกจากนี้พบว่าครอบครัวของเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะไม่ยอมไป โรงเรียนมักจะมีการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว (family functioning) ที่ บกพร่องไป เช่น มีลักษณะใกล้ชิดกันมากเกินไป (enmeshed family) มี ความขัดแย้งในครอบครัว (conflictive family) หรือ เป็นครอบครัวที่ใช้ การเลี้ยงดูแบบยอมตามมากเกินไป (overindulgence) รวมถึงพบว่าผู้ ปกครองของเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนมีอัตราการป่วย เป็นโรคทางจิตเวชค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคในกลุ่มวิตกกังวล และซึมเศร้า
 
ในบางรายงานการศึกษาพบว่าเหตุการณ์ตึงเครียดบางอย่างอาจ เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนได้ เช่น การขัดแย้ง กับเพื่อน ความยากลำบากในการเรียน การย้ายโรงเรียน ความเจ็บป่วย ทางกาย การทะเลาะกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว

การดูแลรักษา

เนื่องจากภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนมักเกิดจากหลายสาเหตุ หลาย ปัจจัย การรักษาที่เหมาะสมจึงต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน (multimodal treatment) เน้นแก้ไขสาเหตุ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธี พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy) หรือ การบำบัดพฤติกรรมและการ รู้คิด (cognitive behavioral therapy) นอกจากนี้การรักษาโรคทางจิตเวช ที่มีร่วมด้วยอย่างเต็มที่และการประสานงานทำความเข้าใจกับทาง โรงเรียนก็ล้วนมีความสำคัญในการดูแลรักษาเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะไม่ ยอมไปโรงเรียน
 
ในกรณีที่ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนเกิดขึ้นแบบฉับพลัน การนำเด็ก และวัยรุ่นกลับเข้าสู่โรงเรียนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ถือเป็นหัวใจ สำคัญในการรักษาภาวะนี้ แต่หากเป็นกรณีที่ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเรื้อรัง การประเมินและวางแผนการรักษาอย่าง ละเอียดก่อนการนำเด็กและวัยรุ่นกลับเข้าสู่โรงเรียนจะมีความสำคัญ อย่างยิ่ง
 
บรรณานุกรม
 
1. Berg I. School refusal and truancy. Arch Dis Child1997 Feb;76(2): 90-­‐1.
 
2. Bernstein GA. VA. Separa2on anxiety disorder and school refusal. In: Dulcan MK, editor. Dulcan’s Textbook of Child and Adolescent Psychiatry. 1 ed. Arlington: American Psychiatric Publishing; 2010. p. 325 -­‐ 38.
 
3. Egger HL, Costello EJ, Angold A. School refusal and psychiatric disorders: a community study. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry2003 Jul;42(7):797-­‐807.
 
4. Ellioa JG. School refusal: issues of conceptualisa2on, assessment, and treatment. J Child Psychol Psychiatry1999 Oct;40(7): 1001-­‐12.
 
5. Heyne D, King NJ, Tonge BJ, Cooper H. School refusal: epidemiology and management. Paediatr Drugs2001;3(10):719-­‐32.
 
6. Kearney CA. School absenteeism and school refusal behavior in youth: a contemporary review. Clin Psychol Rev2008 Mar;28(3): 451-­‐71.
 
7. King NJ, Bernstein GA. School refusal in children and adolescents: a review of the past 10 years. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry2001 Feb;40(2):197-­‐205.
 
8. Prabhuswamy M, Srinath S, Girimaji S, Seshadri S. Outcome of children with school refusal. Indian J Pediatr2007 Apr;74(4):375-­‐9.
 
บทความโดย: พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ