หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต (หลักสูตรนานาชาติ) Master of Science Program in Mental Health

 
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต (หลักสูตรนานาชาติ) ดำเนินการโดย ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ the German Master Mental Health (MMH), Munich University of Applied Sciences, Germany
 

เกี่ยวกับหลักสูตร

ดำเนินการโดย                        ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ the German Master Mental Health (MMH), Munich
                                              University of Applied Sciences, Germany
ประเภทหลักสูตร                      หลักสูตรนานาชาติ
รูปแบบการจัดการศึกษา           ภาคปกติ และภาคพิเศษ
จำนวนที่รับ                              10 คนต่อหลักสูตร ต่อปีการศึกษา
เปิดรับสมัคร                            มิถุนายน 2559

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพจิต  การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต  ให้การดูแลรักษาเบื้องต้น  ฟื้นฟูสภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในภาวะปกติ  มีภาวะเสี่ยงและมีภาวะเจ็บป่วย  โดยยึดหลักปรัชญาการบริการสุขภาพแบบองค์รวมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานระบบสุขภาพจิต สามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง  สามารถทำการวิจัยมีจริยธรรมทางวิชาการและจรรยาบรรณวิชาชีพ  สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ตลอดจนสามารถใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัยในระดับสากล

การจัดหลักสูตร

หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กับ Munich University of Applied Sciences, Germany  โดยการสนับสนุนจาก German Academic Exchange Service (Deutscher Akademischer Austauschdienst : DAAD) และกรมสุขภาพจิต สอนโดยคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์พิเศษจากกรมสุภาพจิตและสถาบันต่างๆ  และคณาจารย์จาก Munich University of Applied Sciences
 
การสอนแบ่งออกเป็นหมวดวิชาด้านสุขภาพจิตร่วมกับการทำวิจัยทางสุขภาพจิต   ตัวอย่างหมวดวิชา ได้แก่ health and social sciences,  clinical psychiatry,  mental health and ethics, antropological perspectives on mental health , diagnostics and establishing a care plan, psychology and psychotherapy, rehabilitation and social legislation,  social economy, case management and care management, financing and quality management,  forensic psychiatry,  community based mental health services, crisis intervention and social therapy and methods of social research

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาพจิต
  • มีแต้มเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.5
  • มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตหรืองานด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องมาอย่างน้อย 1 ปี

การทำงานหลังสำเร็จการศึกษา

บุคลากรด้านสุขภาพจิตประจำศูนย์สุขภาพจิต หน่วยงานสุขภาพจิตในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานพินิจ มูลนิธิ ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิต สถานบำบัดฟื้นฟู  นักวิจัยและนักวิชาการทางด้านสุขภาพจิตในสถาบันต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   

คุณสุดาวรรณ   โทรศัพท์ 02-2011929 ต่อ 231

กรุณาคลิกที่ข้อความเพื่อตอบแบบสำรวจ: แบบสำรวจความต้องการศึกษาและความคิดเห็นต่อหลักสูตร