กระดูก โรคกระดูกพรุน
หน้าแรก
โรคกระดูกพรุน รวมความเสี่ยงก่อให้เกิดโรค
โรคกระดูกพรุน รวมความเสี่ยงก่อให้เกิดโรค

โรคกระดูกพรุน สามารถเกิดขึ้นกับ กระดูก ได้ทั่วร่างกาย ทำให้คุณภาพและความแข็งแรงของกระดูกลดลงซึ่งเกิดจากความหนาแน่นหรือมวลของกระดูกที่ลดลง จนเกิด การเปราะบาง และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคนี้จะมีส่วนสูงที่ลดลง หรือกระดูกสันหลังผิดรูป

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นมวลกระดูกก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ หากไม่มีการดูแลที่เหมาะสมก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหักได้ง่ายและส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของเราได้

อาการโรคกระดูกพรุน

ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการแสดงให้สังเกตเห็นได้ชัดเจน และมักทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุจนนำไปสู่ กระดูก หัก แต่ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – กระดูกพรุน โรคของกระดูกที่ต้องระวัง

  • หลังค่อม
  • ความสูงลดลง มากกว่า 2 ซม.ใน 1 ปี หรือ ลดลงมากกว่า 6 ซม.จากที่เคยวัดได้
  • กระดูกสันหลังยุบตัว
  • กระดูกแตกหักได้ง่าย เมื่อถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง

กระดูก กระดูกพรุน

พฤติกรรมเสี่ยง โรคกระดูกพรุน

  1. การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง กระดูกได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
  2. ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานานจะมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
  3. ร่างกายได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอ ปริมาณแคลเซียมที่อยู่ในร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยให้มวลกระดูกมีความแข็งแรง หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
  4. การได้รับยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ หรือยาป้องกันการชักบางชนิด 
  5. น้ำหนักตัวที่น้อยเกินไป

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดกระดูกพรุน

  • เพศ เพศหญิงมักมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย เมื่อหมดประจำเดือนหรือมีการผ่าตัดรังไข่ เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศทำให้กระบวนการสลายกระดูกเพิ่มมากขึ้นและสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว
  • อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกก็จะลดลง โดยผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ชายอายุมากกว่า 70ปี ควรได้รับการตรวจมวลกระดูก
  • พันธุกรรม ครอบครัวที่ญาติใกล้ชิดหรือพ่อแม่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน มีโอกาสเสี่ยงสูง
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนต่ำ รูมาตอยด์ พาราไทรอยด์สูง และเบาหวาน

กระดูก กระดูกพรุน

วิธีป้องกัน โรคกระดูกพรุน

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างกระดูก เช่น นม เต้าหู้ ผักคะน้า ถั่ว ปลา น้ำมันตับปลา และไข่ รับชมวิธีทำเมนูเพื่อสุขภาพป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ที่ – ภารกิจพิชิตโรคกระดูกพรุน – Eat To Goal
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ตรวจร่างกายเป็นประจำ และตรวจมวลกระดูกในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
  • ควบคุมและรักษาโรคประจำตัวอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ระมัดระวังการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

วิธีการรักษา

  • ใช้ยารักษากระดูกพรุน โดยยาจะทำหน้าที่ลดการทำลายกระดูกและเพิ่มการสร้างกระดูก ส่งผลให้มวลกระดูกเพิ่มความหนาแน่นขึ้น
  • รับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี
  • การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักผ่านกระดูกอย่างสม่ำเสมอ

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.สรวุฒิ ธรรมยงค์กิจ

ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
บทความสุขภาพ
25-04-2024

1

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

2

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

8

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

3