โรคเกาต์ เกิดจาก การมีตะกอนของเกลือยูเรตในข้อต่อกระดูก ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง บริเวณ ข้อ
หน้าแรก
บวมแดง แสบร้อนข้อต่อ เสี่ยง ! โรคเกาต์ ป้องกันอย่างไร ?
บวมแดง แสบร้อนข้อต่อ เสี่ยง ! โรคเกาต์ ป้องกันอย่างไร ?

โรคเกาต์ เกิดจาก อาการข้ออักเสบที่พบบ่อยในประเทศไทย นับว่าเป็นโรคปวด ข้อ เรื้อรังที่สามารถเป็นได้ตั้งแต่วัยทำงานจนถึงผู้สูงอายุ โดยผู้ชายจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่มักเกิดการอักเสบขึ้นกับข้อเพียงครั้งละหนึ่งข้อแต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดได้กับหลายข้อพร้อม ๆ กันก็ได้

โรคเกาต์ เกิดจาก อะไร

โรคเกาต์ เป็นอาการ ข้อ อักเสบที่เกิดจากปริมาณกรดยูริกในร่างกายสูงสะสมเป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดตะกอนของเกลือยูเรตในข้อต่อกระดูก และตามเนื้อเยื่อรอบข้อ ทำให้เกิดอาการ ปวดข้อ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณรอบ ๆ ข้อที่มีอาการ มาทำความเข้าใจเรื่องของ โรคเกาต์ ให้มากขึ้นได้ที่ – โรคเกาต์ เสี่ยงเป็นชัวร์หากรู้ไม่เท่าทัน

โรคเกาต์ เกิดจาก การมีตะกอนของเกลือยูเรตในข้อต่อกระดูก ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง บริเวณ ข้อ

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • เพศชาย
  • ผู้ที่มีโรคประประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เบาหวาน หรือไตวายเรื้อรัง 
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
  • รับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หรืออาหารทะเล เนื่องสารพิวรีนจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดยูริกในร่างกายและทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น
  • ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ
  • น้ำหนักตัวเกิน

อาการ โรคเกาต์

ผู้ป่วยที่เป็น โรคเกาต์ จะสามารถสังเกตอาการโดยแบ่งเป็นระยะ ได้ดังนี้

  • ระยะที่ข้อมีการอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างชัดเจนโดยจะเกิดการอักเสบ บวม แดง และอาจจะมีอาการไข้ร่วมด้วยได้ ซึ่งจะพบบ่อยบริเวณ ข้อหัวแม่เท้า ข้อเข่า และข้อเท้า จะมีอาการอักเสบ 3-10 วัน
  • ระยะไม่มีอาการอักเสบและเป็นซ้ำ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่ส่วนใหญ่จะมีประวัติข้ออักเสบในระยะเฉียบพลัน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาจะเกิดซ้ำใน 1-2 ปี และจะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
  • ระยะอักเสบเรื้อรังจากโรคเกาต์ ผู้ป่วยจะมีอาการข้ออักเสบแบบเรื้อรังเมื่อตรวจตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ พบเจอก้อนโทฟัส โดยเฉพาะบริเวณ นิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้า

โรคเกาต์ เกิดจาก การมีตะกอนของเกลือยูเรตในข้อต่อกระดูก ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง บริเวณ ข้อ

วิธีการรักษา

การรักษาโรคเกาต์สามารถจำแนกได้ ดังนี้

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น ลดอาหารทะเล กะปิ หอย ซึ่งมีสารพูรีน ลดผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ในผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนร่วมด้วยแพทย์จะแนะนำให้ออกกำลังกายลดน้ำหนักแบบช้า ๆ
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาขับปัสสาวะแพทย์จะมีการเปลี่ยนยาขับปัสสาวะที่ไม่มีผลต่อกรดยูริกในเลือด
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม เนื่องจากอาจมีผลทำให้เกิดอาการข้ออักเสบ
  • ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยควรพักข้อและประคบด้วยน้ำแข็ง

การรักษาโดยใช้ยา

  • ระยะข้ออักเสบ แพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบและยาโคชิซีน เพื่อลดอาการปวด และอาการอักเสบ โดยในผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยาลดระดับกรดยูริกจะไม่ให้ยาในขณะที่มีอาการข้ออักเสบอยู่
  • ระยะที่ไม่มีการอักเสบ แพทย์จะให้ยาควบคุมระดับกรดยูริกในเลือด ร่วมกับการเจาะเลือดเป็นระยะเพื่อปรับชนิดยาและขนาดยาให้เหมาะสม

วิธีป้องกัน

  • ติดตามการรักษาจากทางแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หรืออาหารทะเล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อขับกรดยูริก

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.สรวุฒิ ธรรมยงค์กิจ

ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
บทความสุขภาพ
08-05-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

5

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

5

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

14