10_DonateBlood_1920x1080_1_1
หน้าแรก
บริจาคเลือด ช่วยชีวิต
บริจาคเลือด ช่วยชีวิต

การ บริจาคเลือด เป็นเรื่องที่ดี เพราะเลือดที่นำไปบริจาคสามารถช่วยคนป่วยที่ต้องการเลือดได้ ซึ่งการบริจาคเลือดไม่เป็นอันตรายกับผู้บริจาค เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีปริมาณเลือดประมาณ 17-18 แก้วน้ำ แต่ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วน้ำเท่านั้น ส่วนที่เหลือจึงสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้

บริจาคเลือด,รับบริจาคเลือด,เลือด,บริจาค

 คุณสมบัติผู้ บริจาคเลือด

  1. ผู้บริจาคต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะ บริจาคเลือด
    – ผู้บริจาคเลือดต้องมีอายุ 17 ปี หากอายุไม่ถึง 18 ปี ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง แต่เมื่ออายุ 18 ปี สามารถตัดสินใจ บริจาคเลือด ได้ด้วยตัวเอง
    – ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี และเคยบริจาคต่อเนื่องมาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 3 เดือน
    – ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 65-70 ปี และเคยบริจาคต่อเนื่องมาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 6 เดือน และต้องมีการตรวจนับจำนวนของเม็ดเลือดทุกชนิดทุกครั้ง
  2. สุขภาพร่างกายแข็งแรงและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หากนอนหลับไม่เพียงพอ แต่ไม่มีอาการอ่อนเพลียใด ๆ หรือสุขภาพร่างกายพร้อมในวันที่มา บริจาคเลือด ก็จะพิจารณาให้บริจาคได้โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องจำนวนชั่วโมงของการนอน
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก่อนบริจาคเลือด เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ก่อนมาบริจาคเลือดไม่ถึง 3 ชั่วโมง จะมีผลทำให้พลาสมาขาวขุ่น ไม่สามารถนำเลือดไปบริจาคให้ผู้ป่วยได้
  4. กรณีที่มีการตั้งครรภ์และให้นมบุตร เลือดของหญิงตั้งครรภ์ มีสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับทารกในครรภ์ ควรเก็บเลือดเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับทารก เพื่อเป็นเลือดสำรองในร่างกาย เพราะขณะคลอดอาจมีการเสียเลือดเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการบริจาคเลือดอาจทำให้เกิดภาวะเลือดจาง 
  5. ผู้หญิงที่กำลังเป็นประจำเดือน สามารถบริจาคเลือดได้ ถ้าขณะที่เป็นประจำเดือนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ประจำเดือนมาไม่มากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลียใด ๆ ส่วนของผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว สามารถบริจาคเลือดได้หากสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ
  6. ผู้ที่มีการสักหรือเจาะผิวหนัง เช่น การเจาะหู หากเจาะด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค โดยผู้ชำนาญและเป็นเข็มหรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวก็ปลอดภัยจากการติดเชื้อ แต่ก็ควรเว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบจากการเจาะหูให้หายสนิท อย่างน้อย 7 วัน ก่อนจะเข้าบริจาคเลือด
  7. หากมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ควรงดบริจาคเลือดก่อนอย่างน้อย 7 วัน เพราะผู้บริจาคจะยังมีอาการอ่อนเพลียเพราะสูญเสียน้ำในร่างกาย หากฝืนบริจาคเลือด อาจมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้นและมีอาการเป็นลมหน้ามืดได้ ส่วนผู้ป่วยที่รับเลือดอาจได้รับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงที่อาจติดต่อทางกระแสเลือดได้
  8. มีอาการน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้น อาจมีสาเหตุมาจากโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเอดส์ ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงสภาวะทางจิตใจที่มีความวิตกกังวลหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงควรหลีกเลี่ยงการบริจาคเลือดไปก่อน
  9. ผู้บริจาคเลือดที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดเล็ก
    – ผู้บริจาคเลือดที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ คือ การผ่าตัดที่ต้องมีการใช้ยาสลบหรือให้ยาชาเข้าไขสันหลัง มีการสูญเสียเลือดจำนวนหนึ่งซึ่งต้องใช้เวลาสร้างทดแทนขึ้นโดยเฉพาะการผ่าตัดใหญ่อาจเสียเลือดมาก เนื้อเยื่อของร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม จึงควรเว้นการบริจาคเลือด 6 เดือน
    – ผู้บริจาคเลือดที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก คือ การผ่าตัดที่ไม่ต้องใช้ยาสลบ แต่ใช้การระงับความรู้สึกเฉพาะที่ เช่น ใช้ยาชาเฉพาะส่วนและไม่ต้องมีการช่วยหายใจ ควรเว้นการบริจาคเลือดอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้ผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคเลือดและลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด
  10.  ผู้ที่ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน ต้องเว้นอย่างน้อย 3 วัน รวมไปถึงการรักษาอื่น ๆ ในช่องปากที่ก่อให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ อาจมีภาวะติดเชื้อโรคในกระแสเลือดชั่วคราวโดยไม่มีอาการ (transient bacteremia) ซึ่งเชื้อโรคในกระแสเลือด อาจติดต่อไปสู่ผู้ป่วยได้ หากมีการผ่าตัดเล็ก เช่น ผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ
  11.  ผู้บริจาคที่เคยมีประวัติติดยาเสพติด อาจมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการติดต่อทางเลือดและน้ำเหลือง มีโอกาสที่จะใช้ยาเสพติดชนิดฉีดโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จึงควรงดบริจาคเลือด และรอให้ผ่าน 3 ปีก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าพ้นจากระยะฟักตัวของโรคต่าง ๆ ที่อาจได้รับมา
  12.  ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
    – ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่ของตัวเอง การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่ประจํา มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
    – ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน (เฉพาะชายกับชาย) มีสถิติการติดเชื้อเอชไอวี มากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ
    – คู่ของผู้บริจาคเลือดที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงทางเพศมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเชื้อเอชไอวีและเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งอาจจะติดต่อมายังผู้บริจาคเลือดได้
  13.  พฤติกรรมในการรับประทานยาแก้ปวด กรณีรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล ถ้าไม่มีอาการปวดหรืออาการผิดปกติแล้ว จึงสามารถบริจาคเลือดได้ กรณีรับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ถ้าไม่มีอาการปวดหรืออาการผิดปกติแล้ว ให้เว้นอย่างน้อย 3 วัน จึงสามารถบริจาคเลือดได้ เนื่องจากยาแอสไพริน ทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ
  14.  กรณีที่ผู้บริจาคเลือดรับประทานยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบจากการติดเชื้อ) หลังจากรับประทานยามื้อสุดท้ายและไม่มีอาการผิดปกติแล้ว ให้เว้นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถบริจาคเลือดได้
  15.  สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบ โรคตับอักเสบมีหลายชนิด ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใดหรือไม่สามารถบอกได้ว่าหายขาดหรือไม่มีเชื้อโรคตับอักเสบแล้ว ให้งดบริจาคเลือดและปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจติดตามภาวะของโรคต่อไป
  16.  ผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วย เป็นไข้หวัดธรรมดาหลังจากหายดีแล้วในระยะเวลา 7 วัน สามารถบริจาคเลือดได้ กรณีเป็นไข้หวัดใหญ่ หลังจากหายดีแล้วในระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงสามารถบริจาคเลือดได้
    – โรคความดันโลหิตสูง หากได้รับการรักษาจนควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ ความดันโลหิต Systilic ไม่เกิน 160 มม.ปรอท และความดันโลหิต Diastolic ไม่เกิน 100 มม.ปรอท และร่างกายปกติดีไม่มีโรคแทรกซ้อน รับประทานยาแล้วควบคุมความดันโลหิตได้ดี สามารถบริจาคเลือดได้
    – โรคภูมิแพ้ หากอาการไม่รุนแรง เช่น จาม คัดจมูก ทานยาแก้แพ้ และไม่มีอาการแล้ว สามารถบริจาคเลือดได้ แต่ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น ผื่นคันทั้งตัว ไอ หอบหืด หรือใช้ยาลดภูมิต้านทานให้งดบริจาคเลือดจนกว่าจะหายดีแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ จึงจะสามารถบริจาคเลือดได้
    – โรคไขมันในเลือดสูง หากรับประทานยาลดไขมันและควบคุมอาหาร จนระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถบริจาคได้ ถ้าคอเลสเตอรอลสูงเพียงอย่างเดียว สามารถบริจาคเลือดได้ หากไตรกลีเซอไรด์สูงให้งดการบริจาคเลือดชั่วคราว จนกว่าจะควบคุมอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    – โรคเบาหวาน หากควบคุมเบาหวานได้ดี ด้วยการรับประทานยาลดน้ำตาล ที่ไม่ใช่อินซูลิน และไม่มีโรคแทรกซ้อนสามารถ บริจาคเลือด ได้
    – โรควัณโรค หลังรักษาหายดีแล้ว 2 ปี จึงสามารถบริจาคเลือดได้
    – โรคไมเกรน หากไม่มีอาการและหยุดยาแล้ว 7 วัน สามารถบริจาคเลือดได้
    – โรคหอบหืด หากควบคุมอาการได้ด้วยยา สามารถบริจาคเลือดได้ หากมีประวัติเป็นโรคหอบหืดชนิดรุนแรงและเป็นบ่อยให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
    – ผู้ที่เป็นไทรอยด์ไม่เป็นพิษ มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์กลับสู่ปกติ ไม่มีอาการของโรค เช่น กินจุ น้ำหนักลด เหงื่อออกง่าย เหนื่อยง่าย ใจสั่น สามารถบริจาคเลือดได้ กรณีไทรอยด์เป็นพิษ แม้ว่ารักษาหายแล้วต้องงดบริจาคเลือดถาวร

ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ที่ทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้ บริจาคเลือด ร่วมด้วย

บริจาคเลือด,รับบริจาคเลือด,เลือด,บริจาค

การเตรียมตัวก่อน-หลัง บริจาคเลือด

ก่อนบริจาคเลือด 

  1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ในคืนก่อนวันที่จะมา บริจาคเลือด 
  2. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแก้อักเสบต้องมีการหยุดยาแล้วอย่างน้อย 7 วัน 
  3. ควรรับประทานอาหารก่อนมาบริจาคเลือดและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง ภายใน 6 ชั่วโมง ได้แก่ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำเลือดไปใช้รักษาผู้ป่วยได้
  4. แนะนำให้ดื่มน้ำก่อนบริจาคเลือด 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณเลือดที่เสียไปในการบริจาค จะทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้นและช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการ บริจาคเลือด ได้
  5. ต้องงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคเลือดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  6. ต้องงดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคเลือด 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกเลือดได้ดี

ขณะ บริจาคเลือด 

  1. ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
  2. เลือกแขนข้างที่เห็นเส้นเลือดดำใหญ่ชัดเจน ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะต้องไม่มีผื่นคันหรือรอยเขียวช้ำ หากมีอาการแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
  3. ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมขณะบริจาคเลือด
  4. ขณะบริจาคเลือดควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

หลังบริจาคเลือด

  • ควรพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการ นั่งพักอย่างน้อย 15 นาที 
  • ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
  • ไม่ควรรีบร้อนกลับบ้านควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมหรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
  • หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟต์ บันไดเลื่อน อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้
  • ถ้ามีเลือดซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเลือดเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
  • หลีกเลี่ยงการทำซาวน่าหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ ไม่ใช้กำลังแขนที่เจาะเลือดบริจาค เช่น ยกของหนักเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการบริจาคเลือด
  • ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น การเดินซื้อของอยู่ในบริเวณที่แออัดหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
  • ผู้บริจาคเลือดที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน

บริจาคเลือด,รับบริจาคเลือด,เลือด,บริจาค

หลังจาก บริจาคเลือด

  1. ให้รับประทานอาหารตามปกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยเลือดที่บริจาคไป
  2. ควรรับประทานธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคเลือด และป้องกันการขาดธาตุเหล็ก เพื่อให้สามารถบริจาคเลือดได้อย่างสม่ำเสมอ
  3. ควรรับประทานธาตุเหล็กบำรุงเลือด พร้อมกับเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น น้ำส้ม น้ำฝรั่ง หรือน้ำมะเขือเทศ จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี ยกเว้น ชาเขียว เพราะจะไปขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก

 

ข้อมูลจาก

หน่วยคลังเลือด 

ภาควิชาพยาธิวิทยา 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

https://www.rama.mahidol.ac.th/blood

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

5

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
บทความสุขภาพ
25-04-2024

5

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

4

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

13