sleep-dead-in-a-car
หน้าแรก
ทำไมเปิดแอร์นอนในรถยนต์ถึงเสียชีวิต?
ทำไมเปิดแอร์นอนในรถยนต์ถึงเสียชีวิต?

ใกล้ฤดูหนาวเข้ามาทุกทีพร้อมกันกับเทศกาลแห่งการท่องเที่ยวที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น หลายคนเดินทางไกลและบางคนใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ขับรถยนต์กันข้ามวันข้ามคืนบางทีก็มีอ่อนล้าจนต้องแอบงีบกันบ้าง ปัญหาตามมาอย่างที่เห็นในข่าวหลายๆ ครั้งก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากการเปิดแอร์นอนในรถยนต์ขณะที่รถจอดสนิทอยู่หลายราย และยังคงมีคำถามว่าเกิดจากอะไร โดยวันนี้เรามีคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญมาไขข้อสงสัยกัน

โดยปกติขณะที่รถยนต์ขับเคลื่อนไปบนท้องถนน จะมีการไหลเวียนของอากาศภายนอกและภายในอยู่เสมอ

ด้วยการถ่ายอากาศเสียออกทางท่อไอเสียแล้วรับอากาศที่ดีเข้ามา แต่ถ้าหากรถยนต์จอดสนิทแล้วติดเครื่องเอาไว้ เครื่องยนต์จะเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นโดยไม่มีการถ่ายเทออกไป อากาศเสียก็จะวนเวียนอยู่ภายในไม่ไปไหน ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เพราะก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งออกซิเจนจับตัวกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งจับได้ง่ายกว่าออกซิเจนหลายเท่า ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ ร่างกายจะขาดออกซิเจนและอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เกิดอาการเลือดเป็นกรด ทำงานไม่ปกติ ซึม ชัก และเสียชีวิตในที่สุด

ความจริงแล้วก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ปนอยู่ในอากาศรอบตัวเรา และร่างกายยังคงรับเข้าไปอย่างต่อเนื่อง

โดยระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจะอยู่ที่ 1-200 ppm เมื่อได้รับเข้าไปในเวลา 4 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย และเวียนศีรษะ จากนั้นจะอยากนอน ซึ่งถ้านอนเปิดแอร์โดยไม่ดับเครื่องยนต์ก็จะยิ่งส่งผลเสียและเป็นอันตรายถึงชีวิต

ส่วนในบ้านเรือนของเรานั้นโดยปกติจะมีก๊าซชนิดนี้ปนอยู่เพียง 0.5-5 ppm เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นอันตราย และอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือสภาพของรถยนต์ที่ส่งผลต่อการเกิดก๊าซชนิดนี้ด้วยเช่นกัน โดยในรถยนต์เก่าหรือไม่มีการตรวจสภาพจะเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์สูงกว่าในรถยนต์ใหม่หรือผ่านการตรวจสภาพอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้สูงกว่า แปลว่าอัตราการเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการเปิดแอร์นอนในรถยนต์เก่าหรือไม่ได้รับการตรวจสภาพจะสูงกว่านั่นเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะรถยนต์เก่าหรือใหม่ก็ไม่ควรเปิดแอร์นอนหลับในรถยนต์ขณะที่จอดสนิทอยู่ดี เพราะก๊าซชนิดนี้ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น ทำให้ไม่มีทางรู้ตัวเลยว่าได้รับก๊าซชนิดนี้เข้าไปมากน้อยแค่ไหนโดยเฉพาะขณะหลับ

ไม่เพียงเท่านั้นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจก็คือเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส

เป็นอีกอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะมีการปล่อยทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ หากติดตั้งไม่ได้มาตรฐานเกิดก๊าซรั่วในระบบปิด รวมทั้งการไม่ติดตั้งพัดลมระบายอากาศหรือไม่มีหน้าต่าง อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นในการจะเข้าพักก็ควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าที่พักนั้นได้มาตรฐานหรือไม่อย่างไร เพราะที่พักที่ได้มาตรฐานจะมีระบบการจัดการที่ดีกว่า รวมถึงการติดตั้งระบบเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ
หน่วยเภสัชวิทยาคลินิกและพิษวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “เตือนภัย!! เปิดแอร์นอนในรถ เสี่ยงหลับไม่ตื่น : พบหมอรามา ช่วง Big story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

8

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

6

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
บทความสุขภาพ
25-04-2024

7

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

5