10-01
หน้าแรก
ทำความเข้าใจก่อนจัดฟัน
ทำความเข้าใจก่อนจัดฟัน

การจัดฟันทำให้ฟันสวย ยิ้มใส แล้วยังหน้าเรียวกระชับ ดั้งจมูกโด่ง ได้จริงหรือไม่ ทันตแพทย์แห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ไขข้อข้องใจให้คนอยากสวย

การจัดฟันมีขึ้นเพื่อสุขภาพฟันที่ดีขึ้น โดยทำให้ฟันเรียงตัวสวย ช่วยให้แปรงฟันได้สะอาด ลดการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ การสบฟันที่ดี เคี้ยวอาหารได้ละเอียดขึ้น รวมถึงฟันสวยขึ้น ทำให้ยิ้มสวย เสริมบุคลิกภาพ

ทพญ. นฤมล ทวีเศรษฐ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และกรรมการสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทยอธิบายว่า การจัดฟันที่จะทำให้ใบหน้าเรียว จมูกโด่งนั้น เป็นไปได้แต่เฉพาะในบางคนที่ก่อนจัดฟันมีภาวะฟันยื่นเหยินมากจนริมฝีปากอูมไปตามฟันที่ยื่นออกมา

ดั้งที่ดูโด่งจากการจัดฟันไม่ได้เกิดกับทุกราย มักเกิดในคนไข้ที่เดิมเคยฟันยื่นมากแล้วได้รับการจัดฟันโดยการถอนฟัน

ฟันที่เคยยื่นจนริมฝีปากอูมจนริมฝีปากบนอยู่ใกล้กับจมูกมาก แต่หลังจัดฟัน ฟันแบนลง ริมฝีปากที่เคยอูมก็แบนลงจนห่างจากจมูก ทำให้ดูเหมือนจมูกโด่งขึ้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว จมูกก็เหมือนเดิม ทพญ.นฤมลกล่าว พร้อมย้ำว่า ลักษณะเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากจัดฟันแบบไม่ถอนฟัน และถึงแม้จัดฟันแบบถอนฟันก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน

ในกรณีของจัดฟันแล้วหน้าเรียวเล็กก็เช่นกัน ทันตแพทย์อธิบายว่า เกิดขึ้นได้ แต่เฉพาะในเด็กเล็กเท่านั้น

เด็กที่มีคางเล็ก คางสั้น เมื่อจัดฟันด้วยการใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดพิเศษ ที่อาจมีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกรให้มากขึ้น ทำให้เด็กที่มีคางเล็กมีคางมากขึ้น ฟันที่ยื่นเหยินแบนลงทำให้คางดูเด่นขึ้น ใบหน้าโดยรวมดูยาวขึ้นได้

ส่วนเด็กที่มีฟันสบลึก ซึ่งเป็นลักษณะที่ฟันหน้าบนคร่อมปิดฟันหน้าล่าง จนแทบมองไม่เห็นฟันหน้าล่าง การรักษาด้วยการจัดฟันจะทำให้ฟันสูงขึ้น อาจเพิ่มความสูงให้ใบหน้าเล็กน้อย

นอกจากนี้ คนไข้กลุ่มอื่นที่พบว่าใบหน้าดูยาวขึ้นหลังจัดฟัน อาจมาจากการจัดฟันโดยการถอนฟัน

แล้วระหว่างที่จัดฟันนั้น ปฏิบัติตัวตามทันตแพทย์แนะนำคือ ไม่เคี้ยวอาหารที่เหนียวและแข็งเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณแก้มที่ใช้เคี้ยวอาหารทำงานน้อยลง ระยะเวลา 2-3 ปีของการจัดฟันนั้นนานพอที่จะทำให้กล้ามเนื้อเล็กลงจนแก้มดูเล็กเรียว

บางครั้ง การจัดฟันทำให้ใบหน้าแบนลง จนเกิดโหนกแก้ม คางดูเด่นชัด แก้มเรียว ใบหน้าดูสมดุลจนอาจมองว่าหน้าเรียวยาวขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ควรคาดหวังว่า การจัดฟันจะทำเพื่อให้จมูกโด่งหรือหน้าเรียว เพราะไม่ใช่ผลที่แน่นอนของการจัดฟัน แต่ผลลัพธ์ของการจัดฟันนั้นคือ สุขภาพฟันที่ดีขึ้น ฟันเรียงตัวสวย ฟันสบกัน ช่วยให้การเคี้ยวอาหารดีขึ้น บุคลิกภาพดีขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องของการจัดฟัน ทพญ.นฤมลแนะว่า การเลือกทันตแพทย์ที่จะมาดูแลฟันควรจะเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางที่เรียนต่อหลักสูตรด้านการจัดฟันโดยเฉพาะ ซึ่งจะจัดฟันให้คนไข้ได้ผลดีที่สุด โดยสามารถดูรายชื่อทันตแพทย์เฉพาะทางได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย www.thaiortho.org

เตรียมพร้อมสุขภาพช่องปาก

คนไข้ที่ต้องเข้ารับการจัดฟันมักมาจากการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปีแล้วพบฟันเก ฟันยื่นเหยิน ไม่สบกัน หรืออาจมาด้วยอาการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กัดเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ขาด เคี้ยวผักไม่ละเอียด ทันตแพทย์จะเริ่มจากการตรวจวินิจฉัยว่า ความผิดปกติเหล่านั้นจะต้องแก้ไขด้วยการจัดฟันหรือไม่

เมื่อฟันธงแล้วว่าต้องรักษาด้วยการจัดฟัน ก็ใช่ว่าจะปฏิบัติการคาดขดลวดได้ทันที อันดับแรกคนไข้ต้องเข้ารับการเอกซเรย์ช่องปากตรวจดูความแข็งแรงของรากฟัน ซึ่งถ้าไม่แข็งแรงก็ต้องรักษารากฟันก่อน ไม่เช่นนั้นจะปวดฟันระหว่างการจัดฟัน จากนั้นก็ตรวจรักษาฟันผุ ขูดหินปูน รักษาเหงือกอักเสบ แล้วจึงพิมพ์ปากสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดฟันที่เหมาะสม

หลังจากใส่เครื่องมือจัดฟันแล้ว จะต้องใช้ระยะเวลาในการจัดฟัน 2-3 ปีครึ่ง

ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของฟันคนไข้แต่ละคน ส่วนเครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ เหมาะกับการรักษาฟันเกไม่มาก มักใช้รักษาในเด็ก และเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น ที่มักเห็นในปัจจุบัน เหมาะกับการรักษาผู้ใหญ่ที่ฟันมีความผิดปกติมาก

เครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น ทันตแพทย์จะใช้ “กาวชั่วคราวทางทันตกรรม” แปะยื้อเครื่องมือจัดฟันไว้ จึงมีโอกาสหลุดได้ ฉะนั้น ระหว่างจัดฟันไม่ควรเคี้ยวของเหนียว ของแข็ง รวมถึงต้องใส่ใจเรื่องการแปรงฟันให้สะอาด อาจใช้แปรงสีฟันที่ออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่จัดฟัน หรืออาจใช้แปรงสีฟันธรรมดาแต่แปรงให้นานขึ้น เพื่อทำความสะอาดให้มากขึ้น

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.นฤมล ทวีเศรษฐ์
งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
และกรรมการสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย


เรื่องน่ารู้” ทำความเข้าใจก่อนจัดฟัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

7

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

6

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
บทความสุขภาพ
25-04-2024

6

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

5