TEM_AD_RAMA
หน้าแรก
โรคลมแดด(Heat Stroke) คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง
A A
-+=
โรคลมแดด(Heat Stroke) คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

“กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข” แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงการทำงานหรือออกกำลังกายอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อาจจะเป็นลมและเป็นอันตรายต่อตัวเองและทารก แนะป้องกันตนเองโดยทำงานหรือออกกำลังกายในสถานที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวกและดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปี ประเทศไทยจะมีอากาศที่ร้อนจัดมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประชาชนที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแดดเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ

โดยคนที่มีอาการและน่าเป็นห่วงคือ

คนที่ออกกำลังกาย หรือทำงานในสภาพอากาศร้อนจัด ระบบระบายอากาศไม่ดี ใส่เสื้อผ้าหนาหรือกันระเหยของเหงื่อ ดื่มน้ำน้อย รวมทั้งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคอ้วนถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลสุขภาพตนเองเป็นพิเศษ

ดังนั้น หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกายกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร

แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม หรือแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว หรือ 2 ลิตร ต่อวัน เพราะสามารถป้องกันภาวะขาดน้ำได้ เลือกออกกำลังกายในที่ร่มช่วงเช้าและช่วงเย็น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะยิ่งอากาศร้อนมาก การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง ทำให้เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจปวดศีรษะ ความดันโลหิต

นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า ในช่วงหน้าร้อน ประชาชนควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้ดี รวมถึงกางร่ม สวมหมวกปีกกลาง สวมแว่นกันแดด และใช้โลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน และควรทาซ้ำบ่อยๆ ถ้าต้องถูกแดดนานๆ สำหรับเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคอ้วนควรให้การดูแลเป็นพิเศษโดยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ไม่ควรให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคอ้วนออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือทำกิจกรรมที่เหนื่อยจนเกินไปจนถึงขั้นหอบ หญิงมีครรภ์หากต้องเดินทางไกล ควรมีผู้ดูแลร่วมเดินทางด้วยเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดและป้องกันอุบัติเหตุหากมีอาการหน้ามืด วิงเวียนหรือเป็นลมเมื่อเจออากาศที่ร้อนจัดภายนอก และไม่ควรทิ้งเด็กหรือผู้สูงอายุ ให้อยู่ในรถที่ปิดสนิท และจอดกลางแจ้งตามลำพังเป็นเวลานาน

สำหรับประชาชนทั่วไปหากพบผู้ที่มีอาการตัวร้อนจัด ผิวหนังแดงและแห้ง ไม่มีเหงื่อ หน้าซีด หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง ปวดศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน เบื้องต้นให้นำเข้าที่ร่มทันที ให้นอนราบและยกเท้าสูงทั้ง 2 ข้าง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หรือห่มด้วยผ้าเปียก พ่นน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ขาหนีบ และใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

 

ข้อมูลจาก
นพ.ดนัย ธีวันดา
รองอธิบดีกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณะสุข
และเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะไตเสื่อมจากโรคเบาหวานเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายไต ควรควบคุมระดับน้ำตาลและตรวจสุขภาพไตเป็นประจำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
05-11-2024

0

โรคกระดูกพรุน คืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงเป็น
รู้สัญญาณเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เช่น น้ำหนักน้อย ขาดแคลเซียม และไม่ออกกำลังกาย ควรตรวจสุขภาพกระดูกและปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเสื่อมก่อนวัย
บทความสุขภาพ
05-11-2024

0

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงภาวะหัวใจวาย หากดูแลตัวเองดี ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และพบแพทย์สม่ำเสมอ ช่วยยืดอายุและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
หลอดเลือดหัวใจตีบเสี่ยงภาวะหัวใจวาย หากดูแลตัวเองดี ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และพบแพทย์สม่ำเสมอ ช่วยยืดอายุและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
04-11-2024

1

อาการปวดหลัง อาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้น ควรสังเกตและรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
อาการปวดหลังอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้น ควรสังเกตและรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
03-11-2024

0