โรครองช้ำ ปวดส้นเท้า
หน้าแรก
ปวดส้นเท้า สัญญาณเตือน โรครองช้ำ
ปวดส้นเท้า สัญญาณเตือน โรครองช้ำ

อาการ ปวดส้นเท้า มีความหลากหลายซ่อนอยู่ บางอาการอาจเป็นเพียงปวดเมื่อยธรรมดา หรือเป็นอาการบาดเจ็บชั่วคราวของกล้ามเนื้อ แต่บางอาการก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ต้องได้รับการรักษา ขณะที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนและละเลยอาการป่วยนั้นไปทำให้ส่งผลเสียตามมา วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้าที่เป็นสัญาณของ โรครองช้ำ รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – โรครองช้ำเจ็บซ้ำ ๆ กับอาการปวดส้นเท้า เพื่อให้หลายคนได้สังเกตอาการเบื้องต้นกันและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

อาการของโรครองช้ำนี้คือ

ปวดส้นเท้า ไปจนถึงฝ่าเท้า โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักนานๆ โรคนี้เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เป็นแต่ไม่รู้ว่าตัว พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของโรคเกิดจากการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยกับผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานระหว่างวัน

นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ หรือสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า เป็นต้น รวมถึงลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดินหรือวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิม ที่ทำให้เกิดโรคได้

โครงสร้างร่างกายบางครั้งก็มีความเสี่ยง เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไปหรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่อง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – โรครองช้ำเดินแล้วเจ็บอย่าปล่อยไว้นาน

อาการหลักๆ ของโรคนี้คือ

อาการเจ็บที่ส้นเท้าแล้วลามไปทั่วฝ่าเท้า ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดอักเสบ โดยความเจ็บปวดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก นอกจากนี้อาจมีอาการปวดขึ้นได้ในระหว่างวัน

การรักษา โรครองช้ำ

สามารถรักษาได้โดยการไม่ต้องผ่าตัด การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการนวดบริเวณฝ่าเท้า การนำเท้าแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 5-10 นาที ส่วนการรับประทานยาก็สามารถช่วยได้เช่นกัน แต่หลักๆ อยู่ที่การทำกายภาพบำบัด รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – บริหารร่างกาย บริหารสุขภาพ ตอน “รองช้ำ” ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละคนไม่เท่ากัน ส่วนการผ่าตัดมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะจะผ่าตัดบริเวณผังผืดที่อักเสบออกไป ซึ่งบางคนเมื่อผ่าตัดไปแล้วอาจจะทำให้เท้าแบนถาวรได้

แม้โรครองช้ำจะไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรง แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อมูลจาก

อ. นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv


คลิกชมคลิปรายการ “อาการปวดส้นเท้าอย่าวางใจ อาจจะกลายเป็น “โรครองช้ำ”” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

3

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7