พาร์กินสัน
หน้าแรก
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันที่ถูกต้อง
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันที่ถูกต้อง

“พาร์กินสัน” เป็นอาการป่วยที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็น โดยจะมีอาการสั่นตลอดเวลาทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก ที่สำคัญโรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และต้องได้รับความเข้าใจจากคนรอบข้าง จึงมีการรณรงค์เกี่ยวกับโรคพาร์กินสันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในสังคมทำความเข้าใจ ทั้งนี้ในส่วนของคนรอบข้างยังต้องมีวิธีการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย จึงจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วยเอง

พาร์กินสัน คืออะไร

เป็นโรคที่เกิดจากการมีสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Dopamine ของเซลล์ประสาทที่มีจำนวนน้อยกว่าคนปกติ ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มักพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่สามารถพบในวัยกลางคนได้เช่นกัน

อาการของโรคพาร์กินสัน

อาการของโรคพาร์กินสัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ อาการสั่นที่ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ก้าวสั้นแต่ก้าวถี่ หน้านิ่ง หน้าตาไม่แสดงความรู้สึก เขียนหนังสือตัวเล็กลง เป็นต้น

พาร์กินสัน เกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน ยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่จากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การสัมผัสโลหะหนัก (แมงกานีส, ทองแดง) โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม

การรักษาโรคพาร์กินสัน

ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และ/หรือ การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย อาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไป ในผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าของโรคดำเนินไป อาการจะดำเนินจากระดับเป็นเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง เช่น จากที่เคยเดินได้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น ในช่วงที่ระยะแรกของโรคพาร์กินสัน การช่วยบริหารร่างกายจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

  • คนรอบข้างควรช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย ป้องกันการเกิดข้อยึดติด เช่น การแกว่งแขวน การเดินก้าวเท้ายาว ยกเท้าสูงขึ้น
  • แนะนำการบริหารลูกตาด้วยการกลอกลูกตาไปมา โดยการดูกีฬาที่มีการโต้ตอบไปมา เช่น เทนนิส ปิงปอง เป็นต้น
  • ในระยะแรก หากผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การปั่นจักรยาน ก็อาจให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดังกล่าวได้
  • ระวังเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาการกลืน การพูด
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและดูแลสภาพจิตใจอยู่เสมอ เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

 

ข้อมูลโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริรัตน์ ลีลาจรัส
อาจารย์พยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ควรทำอย่างไรให้ถูกต้อง : Rama Square ช่วง นัดกับ Nurse” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7