หลักสูตรในการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานในการฝึกอบรม

หลักสูตรในการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานในการฝึกอบรม

รายละเอียดหลักสูตรการฝึกอบรมมีดังนี้

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน กำหนดระยะเวลาในการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 4 ปี

  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 และ 2 ฝึกอบรมและปฏิบัติงานรับผิดชอบผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3 และ 4 ฝึกอบรมและปฏิบัติงานรับผิดชอบผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์โรคมะเร็งที่สาขาอายุศาสตร์มะเร็งวิทยา

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยา กำหนดระยะเวลาในการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี โดยฝึกอบรมและปฏิบัติงานรับผิดชอบผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์โรคมะเร็งที่สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
การรับรอง วุฒิบัตร หรือ หนังสืออนุมัติ สาขาอายุรศาสตร์ ให้มีคุณวุฒิ “เทียบเท่าปริญญาเอก”
จำนวนปีของการฝึกอบรม  :   หลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลา 4 ปี ในกรณีที่ผู้ฝึกอบรมที่ได้รับวุฒิบัตรอายุรศาสตร์หรืออายุรศาสตร์โลหิตวิทยามาก่อน มีระยะเวลาการฝึกอบรม 2 ปีการปฏิบัติงาน  :   สำหรับแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์ระหว่างที่ฝึกอบรมที่สาขาวิชามะเร็งวิทยา

  • สมรรถนะการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
  • แนวทางการดูแลรักษาโดยทั่วไป  :
  • แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยาจะดูแลผู้ป่วยรายนั้นตลอดช่วงการฝึกอบรม (กรณีที่ไม่อยู่ในโรงพยาบาล ขอให้ฝากแพทย์ท่านอื่นดูแลแทนชั่วคราว) และต้องรายงานความคืบหน้าให้อาจารย์เจ้าของไข้รับทราบเป็นระยะ ๆ และเมื่อมีการเปลี่ยนแผนการรักษาจะต้องได้รับ approve จากอาจารย์เจ้าของไข้ก่อน (ในกรณีที่ติดต่ออาจารย์เจ้าของไข้ไม่ได้ ให้ปรึกษาอาจารย์ท่านอื่นได้ แล้วรายงานให้อาจารย์เจ้าของไข้ทราบในภายหลัง)
  •  อาจารย์เจ้าของไข้ จะเซ็นรับทราบในเวชระเบียนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแผนการรักษา
  • ในช่วง 3 เดือนแรกของการฝีกอบรม ให้แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยาชั้นปีที่1 ปฏิบัติหัตถการภายใต้ความดูแลของอาจารย์ หรือแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่4 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยาชั้นปีที่2
  • แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยาให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยปฏิบัติตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย10 ประการ (ภาคผนวก 15)
  • ถ้าผู้ป่วยมา admit หรือมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโดยไม่ได้วางแผนไว้ก่อน ให้แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยารายงานอาจารย์เจ้าของไข้เพื่อร่วมวางแผนการดูแลกับ consultant ในขณะนั้น
  • สาขาวิชาเปิดโอกาสให้แพทย์ผู้ฝึกอบรมเลือกวิธีการในการดูแลรักษาและการบริบาลผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์
  • ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักต้องได้รับการดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด โดยยึดแนวทางปฏิบัติดังนี้ กรณีที่การดูแลผู้ป่วยเป็นช่วงเวลาเดียวกับการทำกิจกรรมวิชาการ หรือกิจกรรมอื่น ของสาขา อนุญาตให้ทำการดูแลป่วยให้พ้นภาวะวิกฤติ และประสานงานกับทีมผู้ให้การรักษาอื่นในการดูแลต่อเนื่องให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงมาเข้าร่วมกิจกรรมของทางสาขาได้ กรณีที่แพทย์ผู้ฝึกอบรม มีความไม่แน่ใจในการรักษาต้องปรึกษาแพทย์ผู้อาวุโสกว่าหรืออาจารย์ในการร่วมการดูแล
  • การใช้ยาที่เหมาะสมในการรักษาให้เลือกใช้ยาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย มีหลักฐานทางวิชาการในด้านประสิทธิภาพของยา เหมาะสมกับสภาวะสังคมเศรษฐกิจของประเทศ โดยแนะนำในการเลือกใช้ยาที่จัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติของคณะ
  • การปฏิบัติงานการอยู่เวร โดยมีตารางการอยู่เวร เพื่อรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยนอกเวลาราชการ ดังเอกสารภาคผนวก 9 และ 10
  • แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ตามระเบียบของทางคณะ และติดบัตรประจำตัวทุครั้งระหว่างที่ปฏิบัติงาน มีพฤติกรรมบริการที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่น  รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ มีทักษะการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพโดยมีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      • “การพูดความจริงและการแจ้งข่าวร้าย จากคำประกาศของแพทยสภา เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2536 ด้วยอาชีพเพทย์มีหน้าที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วย ในการพูดคุยกับผู้ป่วยต้องสุภาพมีความจริงใจเละแสดงความเห็นใจผู้ป่วย โดยแสดงออกทั้งคำพูดและกริยาท่าทาง แพทย์ต้องเป็นครูที่ดี ให้ความรูแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยเมื่ออยู่ในสถานะที่จะทำได้”
  • แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยาสามารถถ่ายทอดความรู้ และทักษะให้บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษาแพทย์ ระหว่างการดูแลผู้ป่วยทั้งที่เผนกผู้ป่วยนอก เละผู้ป่วยใน
  • แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาเคมีบำบัด (Cytotoxic drugs):  แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยายึดแนวทางปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรเป็นหลัก (2P Safety: patient and personnel safety)
  • การสั่งคำสั่งยาเคมีบำบัดทุกครั้งต้องได้รับการตรวจทาน และเซ็นกำกับโดยอาจารย์ผู้ดูแล  โดยคำสั่งยาเคมีบำบัด แพทย์จะเป็นผู้สั่งใช้ยาเท่านั้น และระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้องก่อนการสั่งยา แพทย์พิจารณาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญก่อนสั่งใช้ยา ระบุคำสั่งใช้ใน Preprinted order form โดยโรงพยาบาลรามาธิบดีใช้ระบบการสั่งยาเคมีบำบัดผ่านระบบ Computerized Provider Order Entry (CPOE) ไม่ใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล หลีกเลี่ยงการสั่งจ่ายยาโดยวาจา/โทรศัพท์ ถ้าจำเป็นให้ตรวจสอบและลงชื่อกำกับคำสั่งใช้ยานั้นทันทีที่สามารถทำได้
  • มีการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยในการบริหารยาเคมีบำบัด
  • บันทึกและรายงานปัญหา ตามระบบการรายงานความเสี่ยง ถ้าพบปัญหาต่าง ๆ ในระหว่างทำงาน ดังต่อไปนี้ เช่น Admission delay, medication error : prescription, administration, Investigation delay,  Consultation delay, Incidence อื่น ๆ ที่น่าจะได้รับการแก้ไข
  • การสั่งยาเคมีบำบัด หรือยา targeted therapy ตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีสิทธิการรักษาประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่จะได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ ปีพ.ศ. 2561 หรือ ผู้ที่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งต้องมีการขออนุมัติการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีค่าใช้จ่ายสูงผ่านระบบOCPA  https://sites.google.com/s/1ddj40rnZCWTbIrBzDXXQaw_qeZjZsOR0p/1L7QTirgFsE386DdxQuOOV45aCGfWc78G/edit
  • การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน (IPD)
  • แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3, 4 ปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านดูแลและรับปรึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งในและนอกแผนกอายุรศาสตร์ โดยรายชื่อการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านดังแสดงในเอกสารภาคผนวก 7-8 และเอกสารตารางการปฏิบัติงานของอาจารย์
    • เริ่มปฏิบัติงานเวลา 7.00 น. ถึง 17.00 น. ต้องตรวจ และสั่งการรักษาแก่ผู้ป่วย (ward round) พยายามตรวจเยี่ยมผู้ป่วย (ward round) เช้าให้เสร็จก่อน 9.00 น. โดยรายงานผลการรักษากับแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ชั้นปีที่ 2 ที่ร่วมอยู่ในสายการปฏิบัติงานของเดือนนั้น
    • เมื่อรับผู้ป่วยใหม่ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ชั้นปีที่ 2 ประจำสายการปฏิบัติงานของเดือนนั้นทราบทุกครั้ง บันทึกประวัติผู้ป่วยในแบบบันทึกผู้ป่วยรับใหม่  Admission Note และ Program วินิจฉัยโรค และสั่งการรักษาให้เสร็จภายในวันที่รับผู้ป่วย
    • การดูแลผู้ป่วยใน ให้แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดบันทึกprogress note ในเอกสาร Staff note รวมถึงคำแนะนำคำสั่งการรักษา โดยไม่บันทึกคำสั่งการรักษาในใบOrder sheetเอง แต่ต้องมีการพูดคุยสื่อสารกับแพทย์ประจำบ้านประจำหอผู้ป่วย
    • การสั่งยาเคมีบำบัด หรือยา targeted therapy ผู้ป่วยใน ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ชั้นปีที่ 2 แพทย์ประจำบ้านปีที่ 4 หรืออาจารย์ ตรวจสอบคำสั่งยาอย่างถูกต้อง
  • การรับผู้ป่วยใน ให้รับผู้ป่วยที่ได้รับการปรึกษาใหม่หรือเป็นผู้ป่วยใหม่ของเดือนนั้น ๆ และนัดติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกได้ โดยเมื่อจะลงจากการปฏิบัติงานในสาขาวิชามะเร็งวิทยาต้องสรุปและส่งเวรกับแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ที่จะรับเวรในเดือนต่อไปแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดตรวจสอบความถูกต้องของบันทึกการวินิจฉัย  ICD 10 และชื่ออาจารย์เจ้าของไข้ หรือที่ปรึกษา ที่บันทึกโดยแพทย์ประจำบ้านประจำหอผู้ป่วย  และพยายามให้อาจารย์เซ็นรับรองก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย
  • สาขาวิชามีกลไกในการทวนสอบหรือตรวจสอบความสามารถในการปฏิบัติงานดังกล่าว ได้แก่ อาจารย์ที่รับปรึกษาประจำเดือนนั้นๆ ตรวจสอบการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย  
  • การปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) โดยรายชื่อการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้าน
  • ออกปฏิบัติงานในการลงตรวจแผนกผู้ป่วยนอก (OPD)  สัปดาห์ละ 2 วัน เริ่มเวลา 9.00 น. ถึงจนกว่าผู้ป่วยที่นัดไว้หมด  แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนอกอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง ยกเว้นในช่วงที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤติและห้องฉุกเฉินหรือปฏิบัติงานนอกแผนก
  • แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
  • ร่วมสังเกตในการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกกับอาจารย์ที่จัดเพื่อสอนในวันนั้น ๆ
  • ตรวจรักษาในผู้ป่วยที่อาจารย์มอบหมายให้ โดยให้ปรึกษาอาจารย์สำหรับผู้ป่วยทุกราย
  • สาขาวิชามีกลไกในการทวนสอบหรือตรวจสอบความสามารถในการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ลงตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกตรวจสอบการทำงานที่ห้อง
  • การปรึกษาปัญหาผู้ป่วยระหว่างหน่วยหรือภาควิชา
    • รับปรึกษาตามสายการปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายในเดือนนั้น ๆ โดยอาจแบ่งเป็นผู้ป่วยชาย หรือหญิง ขึ้นกับจำนวนแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในเดือนนั้น
    • โดยถ้าเป็นปรึกษาในภาควิชา ให้ประสานงานกับแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่ทำงานในสาขาวิชานั้น
    • การปรึกษานอกภาควิชา ให้เขียนใบส่งปรึกษา Consult โดยระบุประวัติ การตรวจร่างกายปัญหา และความเร่งด่วนของการปรึกษา
    • กรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือการปรึกษาในการดูแลผู้ป่วย ทั้งในสาขา ระหว่างสาขา หรือระหว่างภาควิชา เช่นไม่สามารถปรึกษาตามระบบได้  ให้ปรึกษากับแนวทางตามลำดับคือ First call อาจารย์ที่ดูแลในช่วงเวลานั้น เช่นอาจารย์ประจำสายการroundผู้ป่วยใน อาจารย์ที่ดูแลร่วมในผู้ป่วยนอก Second call ให้ปรึกษาหัวหน้าสาขาวิชา และThird call ให้ปรึกษากับหัวหน้าภาควิชา

 

     การจัดการฝึกอบรมตลอด 4 ปี การศึกษานั้นให้จัดการฝึกอบรมดังนี้

1.   จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ entrustable professional activities (EPA) ตามที่กำหนดใน  ภาคผนวก 3 และ 11

2.   จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบ portfolio

3.    จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาตามเอกสารภาคผนวก 2

4.   จัดการฝึกอบรมภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

5.   จัดให้มีการฝึกอบรมตลอด 4 ปีดังนี้

          ปีที่ 1   ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ 1 ปี

         ปีที่ 2    ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบการหายใจฯ, ประสาทวิทยา, โลหิตวิทยา, โรคไต, โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม, โรคระบบทางเดินอาหาร, โรคติดเชื้อ โภชนวิทยา สาขาวิชาละ 4 สัปดาห์รวมเป็น 36 สัปดาห์ และสาขาวิชาเลือกอีก 4 สาขาวิชา ตามความเห็นชอบของสถาบันฝึกอบรม รวมเป็น 16 สัปดาห์

          ปีที่ 3   เวลาการฝึกอบรมในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาไม่น้อยกว่า 50 สัปดาห์

ปีที่ 4   เวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 50 สัปดาห์ โดยมีเวลาการฝึกอบรมในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาไม่น้อยกว่า 34-38 สัปดาห์ และฝึกอบรมในหน่วยงานนอกสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ที่เป็นสถาบันฝึกอบรม 12-16 สัปดาห์ ในสาขาวิชา ดังนี้

1.  แผนกรังสีรักษา 2 สัปดาห์

2.  สาขา Gynecologic oncology 2 สัปดาห์

3.  สาขาโลหิตวิทยา 2 สัปดาห์ ยกเว้นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคเลือดมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องผ่านสาขานี้อีก

4.  แผนกพยาธิวิทยา 2 สัปดาห์

5.  สาขามะเร็งวิทยาในสถาบันอื่นที่ได้รับอนุมัติแล้วจากแพทยสภาเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์

6.  สามารถเลือกปฏิบัติงานในสาขาอื่นๆได้ เช่น สาขากุมารเวชศาสตร์ หน่วยโลหิตวิทยาและโรคมะเร็ง ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวสาขาการบริบาลแบบประคับประคอง เป็นต้น โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสถาบันที่ฝึกอบรมก่อนให้ครบตามกำหนดเวลา (ไม่เกิน 4 สัปดาห์)