ปรัชญา: ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ

ผลสัมฤทธิ์หลักสูตร สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ

หลักสูตรมาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

พันธกิจของแผนงานฝึกอบรม

สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ  ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดีมหาวิทยาลัย มหิดล มุ่งเน้นพันธกิจหลักในการ “ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบหายใจ ที่มีคุณภาพและจริยธรรม ประกอบด้วยความรู้บูรณาการและความสามารถด้านการวิจัย ในระดับสากล” โดยจะต้องมีความรู้ความชำนาญตามมาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคม ระบบบริการสุขภาพ และปัญหาสาธารณสุขของประเทศ มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาที่เข้ารับการฝึกอบรม  มีความเป็นมืออาชีพ สามารถปฏิบัติงานแบบสหสาขาวิชาชีพหรือเป็นทีมได้ มีการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความรับผิดชอบ จริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง อย่างเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมถึงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่น ๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ อีกทั้งความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับผู้อื่นได้
            อนึ่ง การดำเนินการฝึกอบรมต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีสภาวะการทำงานที่เหมาะสม และคำนึงถึงสุขภาพของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเป็นสำคัญ

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

แผนงานฝึกอบรมได้กำหนดผลสัมฤทธิ์/ขั้นขีดความสามารถระหว่างการฝึกอบรมที่ประสงค์ (intended learning outcomes/milestones) ที่ชัดเจน โดยครอบคลุมสมรรถนะหลัก (competency) ทั้ง 8 ด้านดังต่อไปนี้

1. การบริบาลผู้ป่วย (patient care) ได้แก่ การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงประสิทธิภาพ มีความเอื้ออาทร และใส่ใจถึงความปลอดภัย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานในสาขานั้นได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล

2. ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรม (medical knowledge & procedural skills) สามารถทำเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาที่เข้ารับการฝึกอบรม
3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (interpersonal and communication skills) สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติตลอดจนทีมสหสาขาวิชาชีพที่ร่วมดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.
การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (practice-based learning and improvement) โดยสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ หน้าที่ ๑๓ ภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสม และสามารถรักษาสุขภาพของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดได้อย่างสมดุล
5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism) รวมทั้งคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (continue medical education) หรือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (continue professional development)
6. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (systems-based practice) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้งการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม
7. แพทย์ประจำบ้านต่อยอดมีความสามารถในการทำวิจัย (Research Skills) สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติข้อ 6 และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับสากล

8. แพทย์ประจำบ้านต่อยอดมีศักยภาพในการเป็นผู้นำ (Teamwork and Leadership Skills) ในการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสามารถในการบริหารจัดการและเป็นผู้นำในทีมดูแลผู้ป่วย