เกี่ยวกับสาขา

ประวัติความเป็นมา

          แผนการก่อตั้งสาขามะเร็งวิทยาเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ. 2520 โดยศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่มที่จะให้มีสาขาวิชานี้เกิดขึ้น จึงได้มีการติดต่อศิษย์เก่าของรามาธิบดีที่ได้รับการฝึกอบรมทางมะเร็งวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกาให้กลับมาช่วยจัดตั้งสาขาวิชา จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2525 อาจารย์ได้ติดต่อกับศาสตราจารย์นายแพทย์วรชัย รัตนธราธรซึ่งขณะนั้นกำลังฝึกอบรมอยู่ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน และเมื่อจบการศึกษา ศาสตราจารย์นายแพทย์วรชัย   รัตนธราธร จึงได้กลับมาบรรจุในปี พ.ศ. 2528 และจัดเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคมะเร็งคนแรกของภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยได้ก่อตั้งสาขามะเร็งวิทยาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 และเป็นหัวหน้าสาขาวิชาคนแรก โดยมีสถานที่ตั้งของสาขามะเร็งวิทยาที่ชั้น 6 ห้อง 620 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ปัจจุบันสาขามะเร็งวิทยามีอาจารย์แพทย์ทั้งหมด 8 คน พยาบาลประจำหน่วย 3 คน พยาบาลผู้ช่วยวิจัย 1 คน เจ้าหน้าที่ประจำหน่วย 1 คน

          ในด้านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขามะเร็งวิทยา ได้เปิดการฝึกอบรมครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นอนุสาขาของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์  การฝึกอบรมตามหลักสูตรของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์เริ่มในปี พ.ศ. 2547  มีแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจบออกไปทั้งสิ้น 72  คน (ข้อมูล พ.ศ. 2563)

 

หัวหน้าสาขาวิชาจากอดีตถึงปัจจุบัน·    

พ.ศ. 2530 - 2554 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ วรชัย รัตนธราธร    

พ.ศ. 2554 - 2563 รองศาสตราจารย์นายแพทย์ เอกภพ สิระชัยนันท์

พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธิติยา (สิริสิงห) เดชเทวพร

 

ปณิธาน ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ  

ปณิธาน          ปัญญาของแผ่นดิน"  Wisdom of the Land
วิสัยทัศน์         เป็นสถาบันทางการแพทย์ด้านมะเร็งวิทยาชั้นนำในระดับสากล
ปรัชญา           ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ
ค่านิยม            มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม
พันธกิจ            จัดการอบรมการเรียนการสอนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นอายุรแพทย์สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการวินิจฉัยโรคและความผิดปกติต่างๆได้ และสามารถให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเอง หรือให้คำปรึกษาแก่แพทย์อื่นๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด