วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ขอบเขตการดำเนินงานของหน่วย
วิสัยทัศน์ สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์
    วิสัยทัศน์: เป็นสาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ในระดับชั้นนำ
พันธกิจของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาโภชนศาสตร์คลินิก
โภชนบำบัดมีความสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล มีผลดีต่อการรักษาทำให้ผู้ป่วยหายหรือทุเลาจากโรค สามารถกลับไปทำงานหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้เร็ว ปัจจุบันความรู้ทางด้านโภชนศาสตร์คลินิก ประกอบไปด้วย ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารต่างๆ ซึ่งต้องให้เหมาะสมกับพยาธิสภาพของโรค การดำเนินโรค วิธีการรักษาโรคแต่ละชนิดของโรคที่กำลังเป็นอยู่และตามภาวะอายุของผู้ป่วยด้วย หลักสูตรผึกอบรมผู้เชี่ยวชาญอนุสาขาโภชนศาสตร์คลินิกได้กำหนดพันธกิจให้สอดคล้องกับพันธกิจของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
1.    ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์คลินิกซึ่งมีความรู้ความสามารถ ทักษะ ตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย รวมทั้งมีความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ และดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพของประเทศ
2.    ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาตนเอง เรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3.    มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม
4.    ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเป็นมืออาชีพ สามารถสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีมกับสหวิชาชีพ มีจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ความรับผิดชอบ ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยโดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม
5.    สนับสนุนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานแบบสหสาขาวิชาชีพภายใต้บริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่หลากหลาย
การเรียนการสอน
1.    หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
2.    หลักสูตรบัณฑิตศึกษา (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตและปริญญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาโภชนศาสตร์ โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและสถาบันโภชนาการ เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนเพิ่มผู้เชี่ยวชาญทางโภชนศาสตร์ ทำให้เกิด โดยมีอาจารย์ในสาขาวิชาฯเข้าไปร่วมเป็นประธานหลักสูตร (ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร และ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุรัตน์ โคมินทร์) กรรมการบริหารหลักสูตร (ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร และ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย) และอาจารย์ประจำหลักสูตรมาโดยตลอด
3.    การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์
4.    การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาโภชนศาสตร์คลินิก
5.    การฝึกอบรมระยะสั้นหลักสูตรโภชนบำบัดและการบริหาร
6.    หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลโภชนบำบัด
การบริการ
1.    ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางโภชนาการซับซ้อน ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
2.    ทำการประเมินและคัดกรองภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลรามาธิบดี
3.    ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอ้วนครบวงจร มีคลินิกลดความอ้วน รวมทั้งการผ่าตัดลดน้ำหนัก
4.    ให้การดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำที่บ้านเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (Home parenteral nutrition clinic) ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องนอนในโรงพยาบาล ลดค่าใช้ในการนอนโรงพยาบาลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การบริการวิชาการและชี้นำสังคม
1.    มีชมรม “กินให้สนุก มีสุขกับการควบคุมน้ำหนัก”
2.    อาจารย์ในสาขาวิชาได้รับเชิญไปบรรยายในที่ต่าง ๆ มากมาย
3.    อาจารย์ในสาขาวิชาทุกท่านร่วมกับสมาคมวิชาชีพในการพัฒนาคำแนะนำในการดูแลอาหารเข้าทางเดินอาหารในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่นอนโรงพยาบาล พ.ศ. 2559, แนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 คำแนะนำการดูแลการให้อาหารทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่นอนโรงพยาบาล พ.ศ. 2562
4.    ให้ความรู้ประชาชนทั้งทางสื่อออนไลน์ เช่น Rama Channel, Mahidol Channel สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อประชาชนอีกมากมาย
งานวิจัย
1.    โครงการวิจัยการศึกษาระยะยาวถึงอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดและเมตาบอลิซึมในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT study) เริ่มต้นในสมัยศาสตราจารย์นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร และยังติดตามมาจนถึงทุกวันนี้
2.    เมแทบอลิซึมของคาร์นิทีน
3.    การศึกษาด้านคลินิก ชีวเคมี สรีรวิทยาของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดในผู้ป่วยโรคเหน็บชา (beri beri) และภาวะวิตามิน บี หนึ่ง ในคนไทยกลุ่มต่างๆ
4.    ภาวะกรดไขมันจำเป็นในคนไทยกับสุขภาพ
5.    ภาวะโภชนาการของแคลเซียมในคนไทย และความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูก
6.    ความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมจากนมและเต้าหู้ที่มีแคลเซียมสูงในคนไทย
7.    โครงการการศึกษาภาวะโภชนาการระดับพลังงานพื้นฐานและองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยมะเร็ง หู คอ จมูก ชนิด squamous cell ร่วมกับสาขาวิชามะเร็งวิทยา
8.    โครงการติดตามระยะยาวถึงผลของการผ่าตัดลดน้ำหนักต่อภาวะโภชนาการ ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเมตาบอลิคอื่นๆในเชิงลึก (genomics and gut microbiome)
9.    ผลของการบริโภคน้ำมันต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด “oil consumption and cardiovascular disease: An umbrella review of systematic review and metaanalyses”
10.    โครงการตรวจคัดกรองสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ครบวงจรในคนไทย
11.    งานวิจัยในเรื่อง ดัชนีน้ำตาลในข้าวและอาหารไทย
12.    มีงานพัฒนางานด้านประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง พัฒนาแบบประเมินภาวะโภชนาการ (nutrition alert form, NAF) ซึ่งนำมาใช้อย่างกว้างขวางในระดับประเทศ
13.    เก็บข้อมูลภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในโครงการ Nutrition day ร่วมกับ ESPEN ทุกปี
14.    การวิเคราะห์ผลของการให้โภชนบำบัดต่อผลการรักษา ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย ในผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาล
15.    การเก็บข้อมูลระยะยาว รวมทั้งค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่าของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำที่บ้าน
16.    การพัฒนาอาหารปั่นผสมสูตร (1:1) ของโรงพยาบาลร่วมกับ CPF ทำให้ได้เป็น ซุปไก่ผสมฟักทองและไข่ ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ผ่านกรรมวิธีปลอดเชื้อและสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 1 ปี เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยและญาติ ลดระยะเวลาและความยุ่งยากในการเตรียมอาหารและมั่นใจในความสะอาดถูกหลักอนามัยของอาหาร